Wellness Tourism ความท้าทายธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

SME Update
04/04/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 12485 คน
Wellness Tourism ความท้าทายธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
banner

Wellness Tourism ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ “ธุรกิจแห่งอนาคต” ที่จะมาแทนธุรกิจการท่องเที่ยวแบบดั้งเดิม หลังจากประเทศไทยเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งกลุ่มแรกที่จะเข้ามา คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวไฮเอนด์ กำลังซื้อสูงใช้จ่ายอู้ฟู่ช่วยฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย

ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวกลุ่มไฮเอนด์ ส่วนใหญ่เน้นมาเที่ยวควบคู่กับเชิงการแพทย์ ซึ่งเป็นพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปสวนกระแสพฤติกรรมในอดีตโดยสิ้นเชิง โดยในช่วงปี 2562 สามารถสร้างได้ให้ประเทศไทยสูงถึง 2 ล้านล้านบาท ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเปิดน่านฟ้ารับนักท่องเที่ยวสมบูรณ์แบบจะทำให้ธุรกิจ Wellness Tourism สามารถสร้างรายได้มูลค่ามหาศาลต่อปีเลยทีเดียว จากข้อมูล Global Wellness Institute ระบุว่า ปี 2561 โดย Wellness Economy ทั่วโลกมีมูลค่าตลาดรวม 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ โดย

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

อันดับ 1 ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกายและความงามและการชะลอวัย มูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์

อันดับ 2 ธุรกิจเกี่ยวกับการออกกำลังกาย 828,000 ล้านดอลลาร์  

อันดับ 3 โภชนาการเพื่อสุขภาพและการลดน้ำหนัก 702,000 ล้านดอลลาร์  

อันดับ 4 การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ (Wellness Tourism) 639,000 ล้านดอลลาร์

อันดับ 5 ธุรกิจด้านเวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive& Personalized Medicine) 575,000 ล้านดอลลาร์

 

Wellness Economy ปลุกธุรกิจเกี่ยวเนื่องคึกคัก

ธุรกิจ Wellness และ Wellness Economy ตามคำนิยมของ ศ.ดร.นพ.ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพอาเซียน บอกว่า Wellness คือ การแสวงหากิจกรรมทางเลือกและวิถีชีวิตที่นำไปสู่สภาวะสุขภาพองค์รวม มีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพจิตดี สังคมดี สิ่งแวดล้อมดี ส่วน Wellness Economy หมายถึง อุตสาหกรรมที่ช่วยให้ผู้บริโภคนำเอา กิจกรรมและวิถีชีวิตที่ก่อให้เกิดสุขภาพที่ดีเข้าไปสู่ชีวิตประจำวันเศรษฐกิจเพื่อสุขภาพ

ซึ่ง Wellness Economy ยังครอบคลุมเศรษฐกิจต่างๆ อีกหลายภาคส่วน อาทิ อสังหาริมทรัพย์เพื่อสุขภาพ (Wellness Real Estate) การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ (Wellness Tourism) สปา (Spa Economy) น้ำพุร้อน น้ำแร่ การออกกำลังกายและจิตใจ (Fitness & Mindbody) การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพโภชนาการ และการลดน้ำหนัก (Healthy eating Nutrition & Weight loss) การดูแลส่วนบุคคล ความงาม การชะลอวัย (Personal care Beauty & Antiaging) การแพทย์เชิงป้องกัน และการแพทย์เฉพาะบุคคล และการสาธารณสุข (Preventive and Personalized Medicine and Public health) รวมทั้งการแพทย์แผนดั้งเดิมและการแพทย์ทางเลือก

ทั้งนี้จากข้อมูลเปรียบเทียบรายได้ระหว่าง Medical Tourism กับ Wellness Tourism ของประเทศไทยในปี 2562 พบว่า Medical Tourism มีนักท่องเที่ยวเข้าไทยมากกว่า 3.6 ล้านคนต่อครั้ง สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวคิดมูลค่า 41,000 ล้านบาท มีการจ้างงาน 9,195 คน แต่ Wellness Tourism มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 12.5 ล้านคนต่อครั้ง สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวคิดมูลค่า 409,200 ล้านบาท มีการจ้างงาน 530,000 คน ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายที่ไปยังภาคธุรกิจอื่นๆ

 

Wellness Industry แบ่งออก 2 ประเภทบริการภายในและภายนอก

อุตสาหกรรม Wellness Industry ศ.ดร.นพ.ภูดิท บอกว่า สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะการให้บริการ คือบริการการดูแลสุขภาพจากภายในและภายนอก ยกตัวอย่าง

- การบริการดูแลสุขภาพจากภายใน เช่น บริการการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ ความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ การแพทย์เชิงป้องกันเฉพาะบุคคล รวมถึงอาหารเสริมและยารักษาโรคทางเลือก เป็นต้น

- การบริการดูแลสุขภาพจากภายนอกจะมีตัวอย่างที่พบเห็นได้บ่อย เช่น ธุรกิจด้านความงามและการชะลอวัย สปา นวด รวมถึงการท่องเที่ยวแบบ Wellness Tourism ซึ่งกิจกรรมที่เกี่ยวกับสุขภาพมีแนวโน้มที่ราคาสูงกว่ากิจกรรมทั่วไป ทำให้นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ยินยอมที่จะจ่ายเพื่อประสบการณ์ล้ำค่า โดยนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพต่างประเทศที่มาไทย ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 61% เมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพคนไทย ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถึง 162%

“ในอดีตผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพในประเทศที่กำลังพัฒนาจะเดินทางไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกาหรืออังกฤษ เพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพสูงกว่าในประเทศของตน แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันกลายเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศพัฒนาแล้วกลับเดินทางออกไปยังประเทศที่กำลังพัฒนาทั่วโลก เพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพในระดับมาตรฐาน แต่มีราคาที่ต่ำกว่ามาก ตลอดจนยังได้ท่องเที่ยวไปในตัวอีกด้วย ซึ่งประเทศที่เป็นผู้ให้บริการทางสุขภาพในแต่ละภูมิภาคของโลก”

 

โอกาสผู้ประกอบการไทยพัฒนาธุรกิจรับทัวร์สุขภาพ

ผู้ประกอบการอาจสร้างสรรค์แนวคิดการให้บริการแบบใหม่ที่มีผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์รับรอง หรือการปรับรูปแบบการให้บริการที่มีอยู่แล้ว เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรที่หาได้ในท้องถิ่น การบำบัดด้วยเสียงธรรมชาติ การบำบัดด้วยกลิ่นหอมระเหย (aromatherapy) การบำบัดด้วยน้ำทะเล (thalassotherapy) การบำบัดด้วยโคลน (mud therapy) หรือการให้บริการห้องซาวน่าที่ผู้ใช้บริการสามารถรับชมการแสดงต่างๆ พร้อมกันไปด้วยระหว่างใช้บริการ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจ ไม่แตกต่างกับผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมสามารถปรับตัวได้ง่าย

เนื่องจากธุรกิจโรงแรมสามารถเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้าพักได้โดยตรง และต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการเชิงสุขภาพ โดยนำเสนอกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวแบบ Wellness Tourism โดยอาจร่วมมือกับธุรกิจอื่นในพื้นที่เพื่อเพิ่มทางเลือกด้านกิจกรรมที่หลากหลายแก่ทัวร์ที่เข้าพัก หรืออาจพัฒนารูปแบบการให้บริการที่มีอยู่เดิมให้มีความแปลกใหม่ เช่น บริการสปาด้วยทรายขัดผิวจากทะเล สปาหอยมุกหรือการใช้น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรท้องถิ่นมาสร้างบรรยากาศ เพื่อให้ผู้ใช้บริการรู้สึกถึงความแตกต่างที่ไม่สามารถพบได้โดยทั่วไป

 

ปัจจุบันการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ Wellness Tourism กลายเป็น “ธุรกิจแห่งอนาคต” ที่กำลังมาแรงทั่วโลก ประเทศไทยมีความเข้มแข็งทั้ง Medical Tourism และ Wellness Tourism หากมีการเชื่อมโยงสองส่วนนี้เข้าด้วยกัน จะสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวที่ห่วงใยสุขภาพจากทั่วโลกมหาศาลต่อปี มากกว่ารายได้การท่องเที่ยวแบบเดิมๆ หลายเท่าตัว อีกทั้งยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอันสวยงามของไทยไม่ให้ถูกทำลายไปในตัวอีกด้วย 



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1297 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1662 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1919 | 25/01/2024
Wellness Tourism ความท้าทายธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ