ถอดสูตรความสำเร็จ เบอร์ 1 ตลาดชาเขียว “โออิชิ”

Go Inter Case
12/07/2016
รับชมแล้วทั้งหมด 3452 คน
ถอดสูตรความสำเร็จ เบอร์ 1 ตลาดชาเขียว “โออิชิ”
banner
สำหรับกลยุทธ์ดังกล่าวจะช่วยต่อยอดรากฐานอันแข็งแกร่ง รวมถึงการทำ CSR อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญตามแผนวิสัยทัศน์ 2020 โออิชิ ได้จัดตั้งบริษัทย่อยในต่างประเทศ 2 บริษัท ในประเทศสิงคโปร์และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เพื่อรองรับการขยายธุรกิจ และในปี 2557 ที่ผ่านมา บริษัท โออิชิ จำกัด (มหาชน) ได้เปิดร้านอาหารชาบูชิในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จำนวน 2 สาขา คือ ณ เมืองย่างกุ้งและเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งได้รับการตอบรับดีเกินคาด โดยในบางประเทศโออิชิได้ขยายสาขาออกไปในรูปแบบของแฟรนไชส์อีกด้วย เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 Oishi International Holdings Limited (“OIHL”) บริษัทย่อยของบริษัทในฮ่องกงได้จัดตั้ง Oishi F&B (Singapore) Pte. Ltd. (“OSPL”) ในประเทศสิงคโปร์ โดย OIHL ถือหุ้นในสัดส่วน 100%  ทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว จำนวน 1.52 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เพื่อรองรับการขยายตัวของ ธุรกิจในต่างประเทศ และเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2557 OSPL ได้จัดตั้ง Oishi Myanmar Limited (“OML”) ในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ชื่อเดิม สหภาพเมียนมาร์) ทุนจดทะเบียน 2.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ทุนที่ออกและชำระแล้ว จำนวน 800,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อรองรับการขยายธุรกิจร้านอาหารใน ประเทศเมียนมา โดย OSPL ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 55 และ CM Foods Company Limited ซึ่งเป็นบริษัทนิติบุคคลที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันในประเทศเมียนมา ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 45 นอกจากนี้ ยังมีการขยายตลาดการจัดจำหน่ายสินค้าในต่างประเทศไปยังกลุ่มประเทศใหม่ๆ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐคูเวต ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เกาะกวม ออสเตรเลีย และราชอาณาจักรนอร์เวย์  นอกจากนี้ในประเทศมาเลเซียได้มีการปรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ การปรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ชาเขียวแบบกล่องยูเอชที จากลายการ์ตูน One Piece เป็นรูปแมว Neko และปรับโฉมบรรจุภัณฑ์ใหม่ สำหรับเครื่องดื่มชาผสมโซดาในรูปแบบกระป๋อง โออิชิ ชาคูลล์ซ่า และปรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มชาเขียวรสน้ำผึ้งมะนาว ชาเขียวรสข้าวญี่ปุ่น ชาดำผสมมะนาว และชาเขียวรสต้นตำรับสำหรับการจัดจำหน่าย และยังได้มุ่งเน้นการส่งออก และทำการตลาดสินค้าในประเทศมาเลเซียมากขึ้น โดยทำการส่งออกสินค้าผ่านทางบริษัท เอฟแอนดเอ็น เบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง และมีสินค้าวางจำหน่ายในร้านค้ามากกว่า 10,000 แห่ง ทั้งในช่องทางธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่และร้านค้าทั่วไป สินค้า โออิชิ กรีนที มีจําหน่ายแล้วในหลายประเทศ อาทิ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา มาเลเซีย เนการาบรูไนดารุสซาลาม สาธารณรัฐเช็ก สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน สหพันธรัฐรัสเซีย รัฐอิสราเอล นิวซีแลนด์ สมาพันธรัฐสวิส ราชอาณาจักรเดนมาร์ก บาร์เบโดส สาธารณรัฐฮังการี ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐเกาหลี เซนต์มาร์ติน และสาธารณรัฐโปแลนด์ นายไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ กรรมการบริหาร และกรรมการบริหารความเสี่ยง กล่าวเสริมว่า ในส่วนของแบรนด์อาหาร เช่น ชาบูชิ ได้เข้าไปในตลาดเมียนมา 3 สาขา ประกอบด้วย ย่างกุ้ง 2 สาขา และมัณฑะเลย์ 1 สาขา ซึ่งการตอบรับในกลุ่มคนเมืองถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเกินเป้า เนื่องจากประชาชนมีความคุ้นเคยในแบรนด์เป็นอย่างดี การสร้างแบรนด์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ โออิชิดำเนินการมาโดยตลอด ในปัจจุบันได้ดำเนินการสื่อสารทางการตลาดให้กลุ่มกลางได้รับรู้และทดลองสินค้าจากทางแบรนด์ โออิชิ โดยแนวโน้มในตลาดเมียนมาเป็นบวกอย่างต่อเนื่อง จากการที่เป็นตลาดเปิดและการแข่งขันยังไม่รุนแรง ด้านประเทศในกลุ่มอาเซียน โออิชิ มีแผนที่จะเข้าไปขยายสาขาธุรกิจอาหารมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่ม CL จาก CLMV หรือ สปป.ลาว และกัมพูชา ความคืบหน้ายังอยู่ในขั้นตอนศึกษาตลาดและเจรจากับคู่ค้า นายมารุต บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้จัดการ กรรมการบริหาร กรรมการบริหารความเสี่ยง และกรรมการกำกับดูแลกิจการ เปิดเผยว่า สำหรับสินค้าเครื่องดื่ม ทางโออิชิได้จัดจำหน่ายไปยังเกือบทั่วอาเซียนที่ล้อมรอบประเทศไทย โดยเฉพาะใน สปป.ลาวและกัมพูชา ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก มียอดขายเครื่องดื่มโตขึ้นกว่า 50% ในส่วนของเมียนมา โออิชิเข้าไปในตลาดได้ 2 – 3 ปี ซึ่งการเติบโตถือว่าอยู่ในส่วนที่น่าพึงพอใจ และยังคงต้องทำกิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง การแข่งขันภายในตลาดถือว่ายังไม่รุนแรง และยังเป็นช่วงโอกาสที่ดี สำหรับในเวียดนามยังไม่ได้เข้าไปเต็มตัว แต่โออิชิได้เข้าไปทำการสำรวจตลาดได้ 2 ปีแล้ว พบว่าคนเวียดนามชื่นชอบชาเขียว และถือว่าเป็นตลาดที่มีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงสำหรับชาเขียวพร้อมดื่ม แต่ก็ยังคงพอมีที่ว่างสำหรับตลาดชาเขียวระดับบนอยู่ โดยโออิชิได้จับมือกับ F&N ที่เป็นบริษัทในเครือผลักดันโอกาสในการเข้าสู่ตลาดเวียดนาม ด้านประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ถือว่าเติบโตค่อนข้างน่าประทับใจ เพราะเจ้าของตลาดเดิมในประเทศนั้นทำ Black Tea มากกว่า Green Tea โดยสถานการณ์ตลาดปัจจุบันชาเขียวเริ่มพลิกกับขึ้นมาอีกครั้ง ในการแย่งพื้นที่ทางการตลาดโดยหมายเลขหนึ่งคือ โออิชิ ซึ่งทางบริษัท F&N ที่เป็นบริษัทคู่ค้าในเครือสามารถกระจายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นอย่างที่ประจักษ์ว่าแบรนด์สินค้าเข้าไปในตลาดสิงคโปร์ได้ถือว่าเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ด้านของประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์จะอยู่ในแผนระยะกลางอีก 2 ปีข้างหน้า จะทำการเจาะตลาดเข้าไปผ่านคู่ค้า ในส่วนของช่องทางการจัดจำหน่าย โออิชิ จัดจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่การจำหน่ายสินค้า โดยการจัดจำหน่ายสินค้ากว่าร้อยละ 90 จัดจำหน่ายผ่านเครือข่ายการจัดจำหน่ายของกลุ่มบริษัทในเครือบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือว่าเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมพื้นที่การจัดจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ บริษัทยังมีช่องทางการจัดจำหน่ายในต่างประเทศประมาณร้อยละ 5 และช่องทางการจัดจำหน่ายอื่น ๆ อีกประมาณร้อยละ 2 จากยอดขายรวมทั้งหมดของธุรกิจเครื่องดื่ม การเตรียมพร้อมก่อนไปต่างแดนที่ผ่านมานั้น โออิชิ ได้เตรียมความพร้อมทั้งในด้านการขออนุญาตและการขอรับรองมาตรฐานต่าง ๆ เช่น BRC HACCP และ GMP ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อให้สินค้ามีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในต่างประเทศ โดยต้องทำการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและช่องทางการจัดจำหน่ายในประเทศต่าง ๆ เพื่อให้สามารถผลิตและจัดส่งสินค้าที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของผู้บริโภค สำหรับการขยายการส่งออก เครื่องดื่มโออิชิจะขยายไปยังตลาดอย่าง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐสิงคโปร์ และเนการาบรูไนดารุสซาลาม จะขยายโดยผ่านเครือข่ายของบริษัทในเครือ ได้แก่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จํากัด (มหาชน), บริษัท เอฟแอนด์เอ็น เบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง และบริษัท โออิชิ อินเตอร์ เนชั่นแนล โฮลดิ้งส์ จํากัด อย่างไรก็ตาม โออิชิ ยังมีแผนการจัดจำหน่ายสินค้าพร้อมปรุงและพร้อมทาน โดยเน้นผลิตภัณฑ์แบบแช่แข็งในต่างประเทศโดยเริ่มจากประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน ประเทศญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป เป็นต้น โดยเน้นที่ตลาดอาหารแช่แข็งเป็นหลัก รวมถึงมีแผนการพัฒนาสินค้าร่วมกับคู่ค้าเพื่อนำเสนอความแตกต่างของรสชาติเพื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมการรับประทานของผู้บริโภคในประเทศนั้น ๆ ด้วย ธนาคารกรุงเทพ ใส่ใจให้บริการนักลงทุนในย่านอาเซียนด้วยบริการเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน เรามีสาขาของธนาคารอยู่ในย่านอาเซียน 9 สาขาใน 10 ประเทศเพื่อให้บริการท่าน สนใจติดต่อได้ที่ศูนย์ AEC Connect ชั้น 2 สำนักธุรกิจ ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ อีเมล: AECconnect@bbl.co.th สายด่วน 1333   ชาเขียว oishi โออิชิ sme

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ถอดสูตรความสำเร็จ เบอร์ 1 ตลาดชาเขียว “โออิชิ”

ถอดสูตรความสำเร็จ เบอร์ 1 ตลาดชาเขียว “โออิชิ”

สำหรับกลยุทธ์ดังกล่าวจะช่วยต่อยอดรากฐานอันแข็งแกร่ง รวมถึงการทำ CSR อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญตามแผนวิสัยทัศน์ 2020 โออิชิ ได้จัดตั้งบริษัทย่อยในต่างประเทศ…
pin
3453 | 12/07/2016
N&B แฟรนไชส์เครปไทย โกอินเตอร์

N&B แฟรนไชส์เครปไทย โกอินเตอร์

ธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ทำหน้าที่เป็นตัวขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญในต่างประเทศ เพราะสามารถส่งออกสินค้าและบริการ โดยไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าเหมือนการส่งออกทั่วไป…
pin
941 | 31/05/2016
เข้าใจตลาดอาเซียน กับ เสี่ยเจริญ แห่ง ส.ขอนแก่น

เข้าใจตลาดอาเซียน กับ เสี่ยเจริญ แห่ง ส.ขอนแก่น

อาหารที่ผลิตต้องคนไทยชอบ และส่งออกตลาดโลกได้ คุณเจริญ แห่ง ส.ขอนแก่น  เริ่มต้นเล่าเรื่องราวของการลงทุนในต่างแดนว่า “ส.ขอนแก่น ได้เข้าไปลงทุนในหลายประเทศ…
pin
2108 | 28/04/2016
ถอดสูตรความสำเร็จ เบอร์ 1 ตลาดชาเขียว “โออิชิ”