ดราม่า ‘ส้นสูง’ จุดกระแสความเท่าเทียมทางเพศ

SME Update
13/06/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 5067 คน
ดราม่า ‘ส้นสูง’ จุดกระแสความเท่าเทียมทางเพศ
banner

จากกระแสการติดแฮชแท็ก #KuToo ของหญิงสาวชาวญี่ปุ่นเกือบ 20,000 ในสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเรียกร้องให้บริษัทต่างๆ ยกเลิกการบังคับให้สวมรองเท้าส้นสูง เพราะการสวมรองเท้าส้นสูงสร้างความเจ็บปวด และก่อปัญหาสุขภาพ

ไม่บ่อยนักที่สาวๆ ญี่ปุ่นจะออกมาตั้งข้อกังขาและต่อต้านกฎระเบียบทางสังคม โดยเฉพาะสังคมญี่ปุ่นที่ความไม่เท่าเทียมทางเพศ รั้งอันดับที่ 110 จากทั้งหมด 149 ประเทศในการสำรวจของ World Economic Forum เรียกว่า รั้งท้ายก็ว่าได้เพราะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศเดียวที่ผู้หญิงญี่ปุ่นถูกเลือกปฏิบัติให้ด้อยกว่าผู้ชายในหลายด้าน

นั่นคือ วัฒนธรรม ชายเป็นใหญ่

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


การติดแฮชแท็ก #KuToo มีที่มาจากคำว่า kutsu ในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า รองเท้า ผนวกกับคำว่า kutsuu ที่แปลว่าเจ็บปวด

ยูมิ อิชิกาวะ นักแสดงและนักเขียน วัย 32 ปี คนที่จุดประกายเรื่องนี้ให้เป็นกระแสร้อนไปทั่วโลก โดยเธอบอกว่า การสวมรองเท้าส้นสูงถูกมองว่าเป็นความสุภาพ แต่ความจริงแล้วเป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศ และสร้างผลเสียต่อสุขภาพของผู้หญิง ไม่ต่างจาก การรัดเท้าของชาวจีนในสมัยโบราณ (การมัดเท้าของหญิงชาวจีนโบราณ ช่วงเวลาไม่อาจระบุแน่ชัด แต่คาดว่าเริ่มในช่วงราชวงค์ถัง เทรนด์นี้ คือ ชายจีนมองว่าหญิงเท้าเล็กดูผู้ดี สูงส่ง สวย เหมือนกลีบบัว แต่ความสวยนี้ต้องแลกมาด้วยความเจ็บ แถมเดินลำบาก)

ยูมิ บอกอีกว่า เธอไม่ได้ต่อต้านการใส่รองเท้าส้นสูง ใครพอใจจะใส่รองเท้าแบบไหนก็ได้ แต่สิ่งที่ต่อต้านคือการบังคับให้ผู้หญิงทำตามที่ผู้ชายอยากให้ทำ โดยใช้กฎระเบียบเป็นข้ออ้าง

ปัจจุบันการสวมรองเท้าส้นสูงกลายเป็น “ธรรมเนียมบังคับ” ในญี่ปุ่น และกึ่งบังคับ ในหลายๆ อาชีพโดยเฉพาะงานบริการและงานขาย นึกภาพแอร์โฮสเตสของสายการที่ต้องสวมรองเท้าส้นสูง 2-5 ซม. คอยบริการบนเครื่องบิน

เหตุผลเดียวต้องสวมรองเท้าส้นสูง คือ เพื่อความสุภาพ

นายทาคูมิ เนโมโตะ รัฐมนตรี กระทรวงสาธาณสุข แรงงาน และสวัสดิการสังคม กลับไม่แสดงท่าทีสนับสนุน โดยระบุว่า “การสวมรองเท้าส้นสูงขึ้นอยู่กับความจำเป็น และความเหมาะสมตามธรรมเนียมทางสังคม”

การออกมาสวนกระแสของนายทาคูมินี่เองที่ทำให้กระแสโลกเหลียวกลับมามองญี่ปุ่นถึงประเด็นเรื่องความเท่าเทียมในเรื่องเพศอีกครั้ง แม้ในตอนท้ายท้ายเรื่องนี้จะลงเอยด้วยการที่บริษัทต่างๆ ในญี่ปุ่นยกเลิกข้อบังคับให้ผู้หญิงใส่รองเท้าส้นสูงมาทำงาน แต่ก็เหมือนทำแบบจำยอม มากกว่ายอมรับ กันจริงๆ

ประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเพศนี่เองที่ทำให้ฉุกคิดและหันกลับมาดูประเทศเราบ้าง ทำให้พบว่า...ในประเด็นประชากรชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและกฎหมาย (Women, Business and the Law 2019 (WBL) ที่สำรวจโดยธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) พบว่าประเทศไทยมี 75 คะแนน อยู่ในอันดับ 103 จากทั้งหมด 187 ประเทศทั่วโลก อยู่ดับดับเดียวกับกัมพูชา และเมื่อแยกดูในประเทศอาเซียน พบว่า สปป.ลาวมีคะแนนดัชนี WBL สูงสุดที่ 88.13 คะแนน ตามมาด้วยสิงคโปร์ เวียดนาม และฟิลิปปินส์ (82.50, 81.88 และ 81.25 คะแนน ตามลำดับ 

เห็นได้ชัดว่าในประเทศไทยสิทธิและความเท่าเทียมของผู้หญิงก็ไม่ได้ดีนัก แต่ก็ยังดีกว่า เมียนมา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย


กระแส #KuToo ย้อนมามองเรา แม้วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ในไทยจะไม่เข้มขลังเหมือนในญี่ปุ่น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเด็นเรื่องการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง ทำร้ายคู่สมรส การคุกคามทางเพศยังคงมีให้เห็นต่อเนื่อง

ไม่เว้นแม้แต่ในการทำธุรกิจ การสร้างภาพลักษณ์ให้เพศหญิงเป็นแรงดึงดูดเพศจากรูปร่างหน้าตา การแต่งกายที่ล่อแหลม ประโยคโฆษณาที่มีลักษณะสองแง่สองง่าม ที่เลียนแบบกันแทบทุกวงการจนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ แม้จะเป็นการกระทำแบบสมัครใจแต่เหมือนโดนลดคุณค่าของเพศด้วยการให้ความสำคัญของเนื้อหนังมากกว่าแนวคิดและสติปัญญา

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า เพศหญิง สวยๆ เป็นเครื่องมือทางการตลาดชั้นดี โดยเฉพาะการทำตลาดให้เข้าถึงคนในสังคมโซเชี่ยลมีเดียที่เป็นผู้ชายได้ง่าย หรือแม้แต่ผู้หญิงด้วยกันเอง แต่ก็ควรใช้อย่างเหมาะสม รอบคอบ และไม่ลดคุณค่าของเพศใดเพศหนึ่ง...อย่าลืมสิ เรากำลังแสวงหาความเท่าเทียม 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1226 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1585 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1872 | 25/01/2024
ดราม่า ‘ส้นสูง’ จุดกระแสความเท่าเทียมทางเพศ