แต่ก่อนที่จะไปดูว่าเราจะรับเขาเข้าทำงานไหม ให้คุณถามตัวเองด้วย 3 คำถามนี้ก่อนว่า พนักงานของคุณมีปัญหาตามนี้หรือเปล่า
- มีปัญหากับคนในบริษัท
- ออกไปเพราะต้องการความก้าวหน้า แต่ถ้ากลับมาก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
ทั้ง 2 สิ่งนี้จะช่วยให้เราตัดปัญหาไปได้ง่ายๆ เลยล่ะครับว่าไม่ควรรับเขาเข้ามาเด็ดขาด เพราะสุดท้ายแล้วก็จะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอยู่ดี แต่ถ้าผู้สมัครไม่ได้มีปัญหาอย่างที่กล่าวมา ก็แนะนำให้พิจารณาจาก 3 สิ่งเหล่านี้ได้เลย
- ต้องการคนที่มีความสามารถอยู่หรือเปล่า
แน่นอนครับว่าลูกน้องเก่า ยังไงก็ต้องรู้ใจกัน และมั่นใจในฝีมือได้มากกว่าลูกน้องใหม่อยู่แล้ว การรับเขาเข้ามาทำงานก็จะช่วยประหยัดเวลาในการสอนงาน เผลอๆ จะช่วยเบาแรงคุณ ให้เขาเป็นคนสอนเทคนิคคนอื่นๆ ด้วยก็ยังไหว ซึ่งถ้าองค์กรของคุณกำลังต้องการคนที่มีประสบการณ์ และช่วยแบ่งเบาภาระได้อยู่ล่ะก็ การรับเขาเข้ามาทำงานด้วยก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีมากเลยล่ะ
- เข้ากันได้ดีกับลูกน้องเก่าทุกคนหรือไม่
การที่พนักงานเก่าที่มีความสัมพันธ์อันดีกับลูกน้องของเรากลับเข้ามาในทีม ก็จะช่วยเพิ่มกำลังใจให้กับการทำงานของคนในทีมอย่างมากเลยล่ะครับ ลองนึกภาพดูว่าเราได้เจอเพื่อนเก่าที่ไม่ได้เจอนาน ก็คงมีความรู้สึกคุ้นเคย และอยากร่วมงานด้วยมากกว่าเป็นใครที่ไหนก็ไม่รู้ ซึ่งการที่รู้ใจกันอยู่แล้ว สนิทสนมกันอยู่แล้ว ก็จะช่วยให้พนักงานในทีมทำงานร่วมกันออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
- ถ้าทีมต้องการผู้นำ ก็ไม่จำเป็นต้องลังเล
สุดท้ายแล้วถ้าพนักงานคนเก่าที่กลับมาสมัคร เขามีความเป็นผู้นำสูง สามารถช่วยเหลือทุกคนได้ และอธิบายสิ่งต่างๆ ให้คนในทีมทำตามได้เป็นอย่างดี ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องลังเลอะไรเลยล่ะครับ เพราะแน่นอนว่าพนักงานใหม่ไม่มีทางสร้างความน่าเชื่อถือได้มากเท่ากับพนักงานเก่าแน่นอน ยิ่งมีทักษะความเป็นผู้นำที่หาได้ยากยิ่งในยุคนี้ด้วยแล้วล่ะก็ พนักงานคนเก่งคนนี้เป็นเหมือนตัวเลือกชั้นดีที่ต้องรีบฮุบเอาไว้ในทันทีเลยล่ะครับ