A.I. TECHNOLOGY เพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้วย Automation & Robotics สู่ Smart Factory 4.0

SME in Focus
23/03/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 2212 คน
A.I. TECHNOLOGY เพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้วย Automation & Robotics สู่ Smart Factory 4.0
banner
ปัจจุบัน มีบริษัทจำนวนไม่น้อยที่ให้บริการเทคโนโลยีเกี่ยวกับ Automation & Robotics ไม่ว่าจะเป็นการทำ System Analysis (SA) เพื่อพัฒนา และตรวจสอบหา Pain Point ในกระบวนการผลิต จนสามารถประมวลผลหาระบบ Automation หรือ Robotic เข้ามาช่วยพัฒนา เพิ่มขีดความสามารถในการผลิต และการทำงาน 

ซึ่งมีรูปแบบทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ หรือการทำ System Integration (SI) เพื่อปรับใช้งานระบบ หลังจากที่นักวิเคราะห์ระบบได้วางแผนการพัฒนาระบบไว้แล้ว นับเป็นโซลูชั่นที่จะช่วยแก้ปัญหาให้แก่บรรดา SME พร้อมยกระดับกำลังการผลิต ก้าวเข้าสู่การเป็น Smart Factory 4.0 ได้อย่างเต็มตัว

ในโอกาสนี้ มองเป็น เห็นโอกาส Bangkok Bank SME ขอพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ “A.I. TECHNOLOGY” หนึ่งในบริษัทผู้ให้บริการ SA/SI ที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ Automation แบบครบวงจรในไทยมากว่า 30 ปี โดยมีคุณกุลโชค โพธิ์พัฒนชัย Managing Director  และ CEO บริษัท เอ.ไอ. เทคโนโลยี จำกัด และกลุ่มบริษัท เอไอ กรุ๊ป ให้เกียรติมามอบความรู้ และสาระดี ๆ แก่ผู้ประกอบการ SME 



สัญญาณบ่งชี้ว่าโรงงานของคุณ ต้องเริ่มใช้ระบบ Automation & Robotics 

คุณกุลโชค ระบุว่า สถานการณ์ของประเทศไทยตอนนี้ อยู่ในช่วงที่มีการแข่งขันสูง จากประเทศเพื่อนบ้านของเรา ซึ่งไทยอยู่ในกลุ่ม Middle Income Trap หรือ กับดักรายได้ปานกลางเพราะฉะนั้น การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันขึ้นไปอีกระดับหนึ่งจึงต้องอาศัยหลาย ๆ เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่ง Automation เป็นหนึ่งในนั้น

“...โรงงานในประเทศไทย ประมาณ 80% อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 2.0 และลูกค้าของ A.I. TECHNOLOGY เป็นคนที่ตั้งใจปรับขบวนการผลิต จะขยับขึ้นจากไซซ์ S ไปอยู่ไซซ์ที่ใหญ่ขึ้นโดยธรรมชาติ” 



ด้วยเหตุนี้ สัญญาณที่บ่งบอกว่า SME หรือบริษัทใด ควรจะเริ่มปรับตัวเข้ามาใช้ระบบ Automation ช่วยในการทำงาน อาจดูได้ง่าย ๆ เป็นต้นว่า 1. กำไรเริ่มบางลง 2. ผลิตไม่ทัน 3. หาทางลดต้นทุนการผลิตแล้วแต่ยังไม่เจอหนทาง สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณที่บอกได้ว่า ธุรกิจของคุณต้องเริ่มนำ Automation เข้ามาใช้

คุณกุลโชค กล่าวเพิ่มเติมว่า กระบวนการทำงานของ A.I. TECHNOLOGY ค่อนข้างที่จะเป็น One Stop Service คือเริ่มตั้งแต่สำรวจหน้างาน ทำ Proof of Concept ให้ลูกค้าดู ดีไซน์, ผลิต, ประกอบ, Test Run เรียกว่า Turnkey จนจบได้ ทำให้กระบวนการผลิตไม่ต้องใช้ High-Skilled Staff เพราะมันถูกทำด้วยระบบ Automation (ออโตเมชั่น) ทั้งหมด ช่วยลดระยะเวลาการผลิต มีความสามารถรองรับการผลิตล็อตน้อย ๆ ให้มีหลาย ๆ โมเดล



SME จะใช้ Automation และ Robotics เข้ามาแก้ไขปัญหาอะไรได้บ้าง

สำหรับประเด็นนี้ คุณกุลโชค เผยว่า การนำระบบ Automation เข้ามาแก้ปัญหาในธุรกิจ สิ่งแรกที่เป็นประโยชน์ และอาจจะมองไม่ค่อยเห็นใน SME ทั่วไป คือ การแก้ปัญหาเรื่อง Financial Performance ขณะเดียวกัน การทำ Automation คือการลงทุนใน Fixed Asset  ที่จะ Depreciate เข้าไปใน Fixed Costs ทำให้ความสามารถทางการแข่งขันในส่วนที่เป็น Direct Labour ลดลง สามารถเสนอราคาที่ถูกลง และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันได้”

 “…Automation ช่วยทำให้ SME ลดต้นทุนลงได้ ในขณะเดียวกัน ความสม่ำเสมอของกระบวนการผลิตที่นิ่งแล้ว จะทำให้เกิดของเสียน้อย Cost of Poor Quality ก็จะลดลง จากนั้น ปัญหาแรงงาน งานที่มีความยาก งานหนัก หรืองานที่ทำแล้วเหนื่อย ที่เคยใช้แรงงานคน จะถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักร ทำให้ยอดขายสม่ำเสมอ เมื่อทุกอย่างได้รับการแก้ไข กระบวนการผลิตก็จะใช้เวลาน้อยลงกว่าที่เคยเป็น ทำให้ Productivity สูงขึ้น ซึ่งแปลว่า Fixed Costs ทั้งหมดของบริษัทสามารถวนไหลลูปได้ ยิ่งทำให้เราสามารถจะแข่งขันได้ดีขึ้น...” 



เตรียมความพร้อมอย่างไร? ก่อนนำระบบ Automation & Robotics เข้ามาใช้งานจริง

โดยทั่วไป ฝ่ายการผลิตไม่ว่าจะใหญ่ หรือเล็ก มักเจอปัญหาผลิตไม่ทัน ลดต้นทุนไม่ได้ กำไรลดลง ขาดแคลนแรงงาน นโยบายไม่สนับสนุน ฯลฯ นับเป็นปัญหาที่จัดอยู่ใน 7 Wastes ทั้งสิ้น 

คุณกุลโชค ให้คำแนะนำว่า ก่อนที่จะลงมือทำระบบ Automation ผู้ประกอบการควรวิเคราะห์การสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตและการทำงานก่อน เพื่อให้การลงทุนเป็นไปอย่างเหมาะสม และคุ้มค่าที่สุด โดยต้องกำจัดกระบวนการที่เป็น Wastes ทั้ง 7 ก่อน ได้แก่

1. ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction)
2. ความสูญเสียเนื่องจากการเก็บวัสดุคงคลัง (Inventory)
3. ความสูญเสียเนื่องจากการขนส่ง (Transporation)
4. ความสูญเสียเนื่องจากการเคลื่อนไหว (Motion)
5. ความสูญเสียเนื่องจากกระบวนการผลิต (Processing)
6. ความสูญเสียเนื่องจากการรอคอย (Delay)
7. ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตของเสีย (Defect)



จากนั้น เมื่อถึงขั้นตอนการทำ Automation ลำดับแรก คือ ต้องทำ 5 ส. ต่อมาคือจัดลำดับกระบวนการ แล้วค่อยดูว่าขั้นตอนไหนที่ทำไม่ทัน ควรจัดการอย่างไร เช่น เดิมขันน็อตด้วยมือ เปลี่ยนเป็นนำ Screw Driver มาช่วยทำให้เร็วขึ้น สุดท้ายค่อย ๆ ขยับเป็น  Automation เมื่อมาถึงขั้นนี้ได้แล้ว จึงเริ่มขยายจำนวน Robots หรือ Automation System ให้มากขึ้น”



แม้การใช้ระบบ Automation & Robotics จะช่วยลดต้นทุนในการจ้างแรงงานได้ในระยะยาว และยกระดับความสามารถทางการผลิต แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า...อุปสรรคสำคัญของการทำระบบอัตโนมัติของ SME ไทยในปัจจุบัน คือ การเข้าถึงเทคโนโลยี และแหล่งเงินทุน เนื่องจากการสร้างระบบอัตโนมัติ หรือการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้งานในสายการผลิตอย่างเต็มรูปแบบนั้น ต้องอาศัยทีมนักพัฒนามืออาชีพ และเงินทุนก้อนใหญ่



โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ข้อมูล วางแผน พัฒนา การสร้าง ประกอบ ไปจนถึงการปรับใช้งานจริง แต่หากโรงงานใดยังไม่พร้อมในเรื่องของเงินทุน และยังไม่ได้เตรียมความพร้อมตามขั้นตอนที่ระบุไว้ข้างต้น อาจเริ่มจากการค่อย ๆ ปรับตัว ใช้ระบบอัตโนมัติ หรือหุ่นยนต์เฉพาะบางขั้นตอนที่จำเป็น จัดอยู่ในรูปแบบของระบบ Semi-Automation ซึ่งอาจช่วยลดต้นทุนในการทำระบบได้ค่อนข้างมาก แล้วจึงขยับขยายเป็น Full-Automation ในภายหลังได้เช่นกัน คุณกุลโชค ทิ้งท้าย


ติดตามเรื่องราวของ A.I. TECHNOLOGY ได้ที่

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
111 | 25/04/2024
Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
207 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
837 | 17/04/2024
A.I. TECHNOLOGY เพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้วย Automation & Robotics สู่ Smart Factory 4.0