เส้นทางสู่โมเดลประเทศไทย 4.0

Trend Focus
30/06/2016
รับชมแล้วทั้งหมด 2792 คน
เส้นทางสู่โมเดลประเทศไทย 4.0
banner
โดยมีเป้าหมายเพื่อนำประเทศมุ่งสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านโมเดลนี้ ก่อนหน้าที่จะมีการพัฒนาประเทศไทย 4.0 นั้น ไทยเริ่มก้าวสู่โมเดลไทยแลนด์ 1.0 หลังจากเริ่มต้นพัฒนาภาคเกษตรกรรม แล้วจึงค่อยปรับมาสู่ไทยแลนด์ 2.0 การลงทุนอุตสาหกรรมเบาที่มุ่งเน้นแรงงานราคาต่ำ เช่น สิ่งทอ อาหาร และมาสู่ ไทยแลนด์ 3.0 มุ่งเน้นการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมหนัก ซึ่งการพัฒนาของประเทศไทยใน 3 ช่วงแรกนั้น ไทยมีการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงสุดเฉลี่ยถึง 7% ต่อปี แต่มาถึงจุดหนึ่งหลังปี 2540 อัตรการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงมาเป็น 3-4% ต่อปี เหตุผลสำคัญเพราะไทยไม่เคยปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างจริงจังมาก่อน และไม่เคยมีการพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเอง แรงงานไม่ได้มีทักษะจนกลายเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำของโอกาส ซึ่งในช่วงนี้รัฐบาลต้องการก้าวกระโดดข้ามหุบเหว ซึ่งต้องใช้ความกล้าหาญทางการเมือง และต้องใช้พลังที่เรียกกว่าพลังประชารัฐในการขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 3 กลไกขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อธิบายว่า กลไกขับเคลื่อน (Engines of Growth) ชุดใหม่ ประกอบด้วย 1) Productive Growth Engine ซึ่งเป้าหมายสำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนประเทศไทยสู่ประเทศที่มีรายได้สูง ( High Income Country) ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ปัญญา เทคโนโลยี และ ความคิดสร้างสรรค์ กลไกดังกล่าว ประกอบไปด้วย การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในรูปแบบประชารัฐ การบริหารจัดการสมัยใหม่ และการสร้างคลัสเตอร์ทางด้านเทคโนโลยี การพัฒนาขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาโมเดลธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม กิจการร่วมทุนรัฐและเอกชนในโครงการขนาดใหญ่ รวมถึงการบ่มเพาะธุรกิจด้านเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการตอบโจทย์ความพยายามในการก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ 2) Inclusive Growth Engine เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์และเป็นการกระจายรายได้ โอกาส และความมั่งคั่งที่เกิดขึ้น โดยกลไกนี้ ประกอบด้วย การสร้างคลัสเตอร์เศรษฐกิจระดับกลุ่มจังหวัด  การพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากในชุมชน การส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อตอบโจทย์ประเด็นปัญหาและความท้าทายทางสังคมในมิติต่างๆ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ การส่งเสริมและสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก การสร้างงานใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การยกระดับขีดความสามารถ การเสริมสร้างทักษะและการเติมเต็มศักยภาพของประชาชนให้ทันกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก และการจ่ายภาษีให้แก่ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดแบบมีเงื่อนไข (Negative Income Tax)เพื่อแก้ไขกับดักความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน 3) Green Growth Engine การสร้างความมั่งคั่งของไทยในอนาคต จะต้องคำนึงถึงการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์การหลุดออกจากกับดักความไม่สมดุลของการพัฒนาระหว่างคนกับสภาพแวดล้อม โดยกลไกนี้ประกอบด้วย  การมุ่งเน้นการใช้พลังงานทดแทน การปรับแนวคิดจากเดิมที่คำนึงถึงความได้เปรียบเรื่องต้นทุน (Cost Advantage) เป็นหลัก มาสู่การคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้จากการลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งระบบ (Lost Advantage) หัวใจสำคัญอยู่ที่การพัฒนากระบวนการผลิตให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด อันจะเกิดประโยชน์กับประเทศและประชาคมโลกด้วยในเวลาเดียวกัน ทั้ง 3 กลไกขับเคลื่อน "ประเทศไทย 4.0"ถือเป็นการปฏิรูปประเทศไทยไปสู่ความมั่งคั่งอย่างมั่นคงและยั่งยืน เพื่อให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งถือเป็นเปลี่ยนโมเดลเศรษฐกิจจากการพึ่งพาการลงทุนต่างประเทศ มีการลงทุนการวิจัยและพัฒนาตัวเองน้อยมากโดยมุ่งเน้นการพัฒนาการศึกษาคน สร้างการวิจัยและพัฒนา โครงสร้างเศรษฐกิจ ให้ไทยสามารถอยู่ได้ในศตวรรษที่ 21  ซึ่งรัฐบาลต้องกล้าพอที่จะถอดกับดักจากการดึงเงินลงทุนต่างประเทศ เอาเทคโนโลยีของต่างชาติมา และต้องยืนอยู่บนขาตัวเองในระดับหนึ่ง หลังประกาศโมเดลไทยแลนด์ 4.0 ดร.สุวิทย์ ได้หารือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อมาจัดระบบการทำวิจัยในประเทศ  และหารือกับสถาบันการศึกษา  27  แห่ง เพื่อกระจายหน้าที่ให้แต่ละแห่งเป็นแม่ข่ายในอุตสาหกรรมพื้นฐานที่จะส่งเสริมตามเป้าหมาย และให้เชื่อมโยงสร้างเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายว่าอีก 5-10 ปี ไทยจะต้องเป็นหนึ่งใน 5 อุตสาหกรรมเหล่านี้ นอกจากยังได้ประสานกับภาคเอกชนให้มีบทบาทในการส่งเสริมไทยแลนด์ 4.0 อีกด้วย Thailand-4.0 เชื่อมโยงสตาร์ชอัพกับไทยแลนด์ 4.0 ขณะเดียวกัน ดร.สุวิทย์ ซึ่งเป็นประธานคณะทำงานประชารัฐ กลุ่ม D2  ซึ่งได้มีการจัดตั้งคณะทำงานย่อยประชารัฐด้านการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprises : SE) ร่วมกับคุณสุพันธ์ มงคลสุธี อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กำหนดแนวทางเพื่อตอบโจทย์นายกรัฐมนตรี ที่ต้องให้ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) กับสตาร์ชอัพต้องไปด้วยกัน ดร.สุวิทย์ วิเคราะห์ว่า กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและสตาร์ชอัพ มีจำนวนมาก ดังนั้น ต้องจำแนกประเภทใหม่ เพื่อกำหนดแนวทางส่งเสริมที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม ซึ่งอาจจแบ่งเป็น 1) กลุ่ม A ซึ่งเป็นกลุ่มสมาร์ทเอสเอ็มอี และสตาร์ชอัพ ซึ่งกลุ่มนี้มีศักยภาพอยู่แล้ว 80% ต้องพัฒนาอีก 20% จะสามารถสร้างนวัตกรรมไปต่อได้  2) กลุ่ม B กึ่งสุกกึ่งดิบ มีศักยภาพ 60% เติมเพิ่มให้อีก 40% และ 3) กลุ่ม C ที่มีปัญหา มีศักยภาพ 20% ต้องเติมอีก 80% ซึ่งมีจำนวนมากที่สุด หากเกลี่ยให้มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เทคแอคชั่นต่างกัน ซึ่ง ณ วันนี้ กลุ่ม THAILAND 4.0 มี 5 กลุ่มอุตสาหกรรมใหญ่ ซึ่งเราอยากให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง เป็น TECH BASE Start up พัฒนาเป็นรากแก้ว ไม่ใช่รากแขนง เริ่มด้วยเทคโนโลยีมาส่งเสริม เอกชนรับลูก"ไทยแลนด์ 4.0 " ฟากฝั่งแกนนำภาคเอกชน อย่าง"นายเจน นำชัยศิริ" ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มองว่า แนวทางการยกระดับอุตสาหกรรมไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0  หรืออุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ/หุ่นยนต์ ในการสื่อสารประสานการทำงานกันได้เอง โดยคนมีหน้าที่เพียงตั้งโปรแกรมนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย จึงกำหนดเป้าหมายไว้ถึง 10 ปี หรือปี 2569 อุตสาหกรรมไทยส่วนใหญ่ต้องเข้าสู่ Industry 4.0  และประสานงานร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ในการออกแบบสอบถามให้สมาชิกสภาอุตสาหกรรมฯทั้งประเทศกรอกข้อมูลเพื่อประเมินภาพรวมอุตสาหกรรมทั้งหมด โดยคาดว่าในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2559 แบบประเมินจะแล้วเสร็จ จากนั้นจะวางแผนเพื่อเสนอไปยังกระทรวงอุตสาหกรรมในช่วงปลายปี 2559 อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่น่าจะปรับตัวได้ไม่ยากนัก แต่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอาจจะมีปัญหาในช่วงแรกหากต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูง ดังนั้น รัฐบาลควรเร่งให้ความรู้ และกำหนดมาตรการส่งเสริม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เอสเอ็มกล้าที่เปลี่ยนแปลงไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 สอดคล้องกับมุมมองของนายถาวร กนกวลีวงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมาก มองว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไปสู่ 4.0 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งภาคการผลิต ภาคการขนส่ง  ซึ่งต้องมีการเชื่อมโยงกัน  และการนำเรื่องของระบบมาช่วยในการพัฒนาด้วย  ซึ่งจะต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนา ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับความพร้อม และการการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานร่วมมือกัน แต่หากสำเร็จจะทำให้ไทยได้เปรียบคู่แข่งมากขึ้น Thailand-4.0  

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

เปิดคัมภีร์..ตีโจทย์การตลาด : ธุรกิจร้านอาหาร

เปิดคัมภีร์..ตีโจทย์การตลาด : ธุรกิจร้านอาหาร

ดังนั้นเพื่อให้ธุรกิจร้านอาหารบรรลุตามเป้าหมาย จึงต้องงัดกลยุทธ์มาช่วงชิงลูกค้ากันหลากหลายวิธี โดยในปัจจุบันมีการพูดถึงเรื่อง “แบรนด์”…
pin
1917 | 07/07/2016
เส้นทางสู่โมเดลประเทศไทย 4.0

เส้นทางสู่โมเดลประเทศไทย 4.0

โดยมีเป้าหมายเพื่อนำประเทศมุ่งสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านโมเดลนี้ ก่อนหน้าที่จะมีการพัฒนาประเทศไทย 4.0 นั้น…
pin
2793 | 30/06/2016
ตะลุยส่งออกเครื่องสำอางสู่ตะวันออกกลาง

ตะลุยส่งออกเครื่องสำอางสู่ตะวันออกกลาง

นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า แม้ว่าการส่งออกจะปรับตัวลดลง แต่สถานการณ์ตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(ยูเออี)…
pin
3155 | 12/06/2016
เส้นทางสู่โมเดลประเทศไทย 4.0