การรุกคืบของกลุ่มลงทุนจีนในภูมิภาคอาเซียน

SME in Focus
06/03/2017
รับชมแล้วทั้งหมด 2464 คน
การรุกคืบของกลุ่มลงทุนจีนในภูมิภาคอาเซียน
banner
เห็นได้ชัดว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มทุนจากประเทศจีนหลั่งไหลเข้ามาลงทุนในด้านต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงได้อยากมาก รัฐบาลใน อาเซียน หลายประเทศ มีความห่วงกังวลว่า นี่เป็นการล่าอาณานิคมแบบใหม่ (neo-colonialism) ที่ประเทศยากจนไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่ร่ำรวยกว่าได้ สุดท้ายถูกหลอมรวม ดังนั้น รูปแบบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไม่ควรเป็นความสัมพันธ์ที่มีผู้ได้ประโยชน์-เสียประโยชน์แบบ zero-sum game แต่ควรเป็นความสัมพันธ์ที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน
ในความเป็นจริงมันเป็นเช่นนั้นหรือ หลายปีทีที่ผ่านมา อาเซียน แอบอิงการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเงินทุนจากจีน เนื่องจากมีโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องพัฒนาอีกจำนวนมาก ทั้งในเวียดนาม เมียนมา กัมพูชา สปป.ลาว และไทย ซึ่งนักลงทุนจีนแข็งขันเป็นพิเศษ

อย่างไรก็ดี เงินทุนจากจีนก็มีข้อแม้บางอย่างเช่นกัน อาทิ ในมาเลเซียเงินทุนส่วนใหญ่สําหรับ Belt and Road initiatives (สําหรับทางรถไฟมูลค่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และสําหรับท่อส่งพลังงาน มูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ก็ได้รับจาก Export-Import Bank of China ซึ่งเป็นธนาคารที่รัฐบาลจีนเป็นเจ้าของ และบริษัทของรัฐบาลจีนก็เป็นบริษัทรับเหมาหลักของโครงการเหล่านี้ หากมาเลเซียระงับโครงการก็จะส่งผลกระทบต่อบริษัทจีน เหตุการณ์ในลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นทั้งในเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ล่าสุดจีนได้ ‘รับช่วงต่อ’ โครงการท่าเรือน้ำลึกของศรีลังกาไป เนื่องจากรัฐบาลศรีลังกาไม่สามารถชำระหนี้ได้

อาเซียน

แม้ก่อนหน้านี้ มาเลเซียได้ประกาศระงับโครงการใหญ่มูลค่ารวม 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่จีนสนับสนุน ซึ่งรวมถึงโครงการเส้นทางรถไฟชายฝั่งตะวันออก (East Coast Rail Link – ECRL) และโครงการท่อส่งพลังงาน แต่ยากจะปฏิเสธว่า มาเลเซียเองก็พยายามดึงดูดการลงทุนโดยตรง (FDI) จากบริษัทใหญ่ ๆ เข้าสู่มาเลเซีย เป้าหมายคือมาเลเซียต้องการหลุดออกจากกัปดักรายได้ปานกลาง (middle-income trap) เช่นเดียวกับไทย โดยเห็นความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

อนึ่ง อิทธิพลของจีนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ มาเลเซียมีชาวจีนโพ้นทะเล อาศัยอยู่ในประเทศมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากไทย นอกจากนี้ระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างสิงคโปร์หรือมาเลเซียมีความเกี่ยวข้องกับจีนไม่เพียงแต่ภาครัฐเท่านั้น เพราะภาคเอกชน/ธุรกิจจีน เช่น Alibaba และ Tencent เข้ามาลงทุนจํานวนมาก และภาคธุรกิจเหล่านี้ได้นําเอานวัตกรรมเข้ามาและพัฒนาทักษะ ตลอดจนเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามา อย่างเช่น การมี Huawei Innovation Hub และ Digital Free Trade Zone ในมาเลเซีย ซึ่งก็คล้ายๆ กับบริบทการลงทุนของจีนในประเทศไทย


จาก “Made in China” เป็น “Created in China”

ขณะที่แนวโน้มของสังคมโลกในการเป็นสังคมไร้เงินสด ประกอบกับการมีประชากรสูงอายุ เพิ่มขึ้นและต้นทุนการผลิตจากแรงงานมีมูลค่าสูงขึ้น ทำให้ในปัจจุบันเศรษฐกิจจีนได้เปลี่ยนจากการผลิตแบบเน้นแรงงานมนุษย์มาเป็นการผลิตแบบเน้นนวัตกรรม ปัจจุบันจีนมีสินค้าที่มีคุณภาพสูงมากขึ้น โดยเปลี่ยนจากตัวแบบ “Made in China” ที่ผลิตสินค้าจำนวนมาก/คุณภาพต่ำมาเป็น “Created in China” ซึ่งผลิตสินค้าที่มีนวัตกรรม/คุณภาพสูง ปัจจุบัน บริษัท Huawei เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ บริษัท JD.com บริษัท Tencent บริษัท Alibaba และบริษัท Baidu เป็นบริษัทที่ติด 10 อันดับแรกของโลกที่มีรายได้สูงที่สุด

จากความเห็นของกลุ่ม RHL Ventures ได้พบกับบริษัทจีนแห่งหนึ่งที่ทำปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถใช้ในนโยบาย Smart City ระบบจัดการการจราจร และรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีศักยภาพและต้องการจะร่วมมือกับ RHL ในการเข้าสู่ตลาด แต่มันไม่ง่ายเพราะ บริษัทฯ จะต้องเจอกับการแข่งขันกับบริษัทใหญ่ ๆ ในจีนอย่าง Baidu Alibaba และ Tencent สามยักษ์ใหญ่ของกลุ่มทุนจีน แต่ปัจจุบันบริษัทอเมริกันเลือกที่จะไม่ร่วมมือกับบริษัทใหม่ ๆ ของจีนเหล่านั้น แต่เลือกที่จะร่วมมือกับบริษัทด้านเทคโนโลยีของเอเชียที่มีขนาดเล็กแทน เพื่อเข้าถึงตลาดท้องถิ่นได้ง่ายกว่า

มองรอบๆ ตัว กลุ่มทุนจีนโหมลงทุนอย่างหนักในอาเซียน แม้กระทั้งในประเทศไทยที่มีกลุ่มทุนจีนเพิ่มเข้ามาลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานและโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งจีนมีการลงทุนมากเป็นอันดับ 2 รองจากทุนญี่ปุ่น ขณะที่ใน สปป.ลาว ,กัมพูชา ,เมียนมา,ยิ่งหนีไปพ้น ดิ้นไปหลุดเพราะยังต้องการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานอีกมาก แต่ที่น่าจับตาคือ เวียดนาม ที่พยายามดิ้นให้หลุดจากภาคการลงทุนจีนโดยการส่งเสริมให้กลุ่มทุนนานาชาติเข้ามาแข่งขันลงทุนในเวียดนามแทน เพื่อสกัดให้เศรษฐกิจเวียดนามลดการพึ่งพิงการลงทุนจากจีนซึ่งมีพรมแดนติดกัน


รุกหนักกลุ่มอสังหาฯในไทย

เหลียวกลับมามองไทยอีกครั้ง ทุกวันนี้นักลงทุนจีนเข้ามามีบทบาทในตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยมากขึ้น ทั้งการเข้ามาซื้อที่อยู่อาศัยและการเข้ามาร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการชาวไทย ซึ่งข้อมูลจากเว็บไซต์ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ของจีนอย่าง Juwai พบว่าในปี 2561 ลูกค้าชาวจีนสอบถามถึงอสังหาริมทรัพย์ไทยมากที่สุดในโลก

ถือเป็นปัจจัยหลักที่ดึงดูดผู้ประกอบการชาวจีนให้มาลงทุนพัฒนาโครงการในไทยอีกด้วย เห็นได้จากจำนวนโครงการร่วมทุนระหว่างผู้ประกอบการไทยและจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมาชาวจีนได้เข้ามาซื้อคอนโดมิเนียมในไทยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบเดียวที่ชาวต่างชาติสามารถถือครองได้ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4 ปี 2551) โดยมูลค่าเงินโอนเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยจากชาวจีนสูงถึงเกือบ 40,000 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อน 65.9% และคิดเป็น 11.9% ของมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ของอาคารชุดทั้งประเทศ

มองสวยๆ อาจคิดว่านี่คือการลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ แต่ถ้ามองให้ลึกซึ้งไปกว่านั้น... ท่านผู้อ่านคิดเห็นกับเรื่องนี้อย่างไร

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme

Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘สยามอีสต์ โซลูชั่น’ SME Scale Up สู่ตลาด MAI สร้างธุรกิจโตยั่งยืน

‘สยามอีสต์ โซลูชั่น’ SME Scale Up สู่ตลาด MAI สร้างธุรกิจโตยั่งยืน

Growth Mindset “ไม่มีอะไรยากเกินความพยายามของคน” แนวคิดที่เชื่อว่า ทักษะ ความรู้ ศักยภาพของเรา สามารถฝึกฝน พัฒนาได้ด้วยการมุ่งมั่น ทุ่มเทอย่างแน่วแน่…
pin
204 | 06/05/2024
ชูนวัตกรรม ขับเคลื่อน-ยกระดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สู่ความยั่งยืน ด้วย Automation กลยุทธ์สู่ Smart Factory ระดับรางวัล The Prime Minister's Industry Award 2023 ของ 'ศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์'

ชูนวัตกรรม ขับเคลื่อน-ยกระดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สู่ความยั่งยืน ด้วย Automation กลยุทธ์สู่ Smart Factory ระดับรางวัล The Prime Minister's Industry Award 2023 ของ 'ศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์'

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจากการรุกคืบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ และส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นำมาสู่การพัฒนา…
pin
623 | 30/04/2024
Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

ภาพรวมตลาดสินค้า อะไหล่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและโซล่าร์เซลล์มีแนวโน้มเติบโตสูง คาดการณ์ว่าจะเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี จากปี 2566…
pin
539 | 29/04/2024
การรุกคืบของกลุ่มลงทุนจีนในภูมิภาคอาเซียน