ส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า–อนาคตยานยนต์ไทย (ตอนที่ 1)

SME Update
17/01/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 1738 คน
ส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า–อนาคตยานยนต์ไทย (ตอนที่ 1)
banner
กระแสความตื่นตัวสำหรับ ‘รถยนต์ไฟฟ้า’หรือ EV (Electric Vehicle)ในประเทศไทย เริ่มมีความตื่นตัวขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้การสนับของภาครัฐในการผลักดันรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งกระแสโลกในปัจจุบันเชื่อว่าเป็นพลังงานที่ ‘สะอาด’ กว่าการใช้พลังงานฟอสซิล ทำให้ 2 ปีที่ผ่านมา กระแสการลงทุนในกลุ่มรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ผู้ผลิตและนำเข้าในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ต่างเริ่ม ‘ชิมลางตลาด’ เพื่อที่จะได้เรียนรู้และสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าท่ามกลางข้อกังขาถึงกระแสผู้บริโภคที่จะมีการปรับเปลี่ยนจากรถยนต์แบบเดิมๆ ไปสู่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้หรือไม่ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ สถานีชาร์ทเชื้อเพลิง ที่ยังเป็นอุปสรรคสำคัญในประเทศไทย

ทั้งนี้ ภายใต้การส่งเสริมการลงทุนโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ได้มอบสิทธิพิเศษบริษัทผู้ผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560 มีมติเห็นชอบต่อมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยที่เสนอโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

โดยแบ่งเป็น 6 มาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่รถยนต์EV คือ 1.การสร้างอุปทาน 2.มาตรการกระตุ้นตลาดภายในประเทศ 3.การเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน  4.การจัดทำมาตรฐานรถยนต์ไฟฟ้า 5.การบริหารจัดการแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว  6. มาตรการอื่นๆ เช่นการพัฒนาระบบรับรองคุณภาพบุคลากร


ชงมาตรการด้านภาษีกระตุ้นการลงทุนEV

การส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน รวมทั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า ตามประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า 3 แบบ คือ รถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและพลังงานไฟฟ้า (hybrid electric vehicle : HEV) รถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก (plug-in hybrid electric vehicle : PHEV) รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (battery electric vehicle : BEV)

โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ประกาศ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2560 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ โดยมีกิจการที่ได้รับการส่งเสริม 6 ประเภทกิจการ และต้องขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยมีสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับ มีดังนี้ :


เด้งที่ 2 ลดภาษีสรรพสามิต

ขณะที่ประกาศลดภาษีสรรพสามิตโดยกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 138 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560 สำหรับยานยนต์ 4 ประเภท ได้แก่

รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Pick-up Passenger Vehicle: PPV) ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร   และเป็นรถยนต์แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (HEV) ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 175 กรัมต่อกิโลเมตร ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิตลงเหลือร้อยละ 23

รถยนต์นั่งที่มีกระบะ (Double Cab) ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร และเป็นรถยนต์แบบแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (HEV) ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิตลงเหลือร้อยละ 10

รถยนต์นั่งแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (HEV) ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิตลงกึ่งหนึ่งของอัตราภาษีที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิตตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2534 ซึ่งจะเหลืออัตราภาษีสรรพสามิตในช่วงระหว่างร้อยละ 5 – 15

รถยนต์นั่งแบบพลังงานไฟฟ้า (EV) ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิตลงเหลือร้อยละ 2โดยผู้ที่จะได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิตดังกล่าว ต้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

รวมทั้ง ต้องยื่นความประสงค์ขอรับการลดอัตราภาษีสรรพาสามิตก่อนเริ่มผลิตรถยนต์แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและพลังงานไฟฟ้า และรถยนต์แบบพลังงานไฟฟ้า ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และตั้งแต่ปีที่ 5 นับแต่วันที่ทำข้อตกลงกับกรมสรรพสามิตจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2568 รถยนต์แบบผสมหรือรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่ผลิตทุกคัน ต้องใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตหรือประกอบจากผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประเภทลิเที่ยมไอออน หรือนิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ หรือแบตเตอรี่ประเภทอื่นที่ให้พลังงานจำเพาะโดยน้ำหนัก (Wh/kg) ที่สูงกว่า

โปรดติดตามบทสรุป การส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า –อนาคตยานยนต์ไทยในตอนที่ 2 ที่จะให้ข้อสรุปและแนวโน้มสำหรับอนาคตยานยนต์EVในประเทศไทย

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Big Data เรื่องใหญ่ที่ผู้ประกอบการ SME ต้องใส่ใจ

Big Data เรื่องใหญ่ที่ผู้ประกอบการ SME ต้องใส่ใจ

ในวันที่โลกธุรกิจต่อสู้กันอย่างดุเดือด และทุกการตัดสินใจสามารถพลิกเกมการแข่งขันได้ในชั่วพริบตา  Big Data เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสร้างแต้มต่อเชิงกลยุทธ์ให้กับ…
pin
2 | 13/05/2025
Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
pin
15 | 17/04/2025
สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
pin
15 | 16/04/2025
ส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า–อนาคตยานยนต์ไทย (ตอนที่ 1)