Brexit : สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังอังกฤษถอนตัวจากสหภาพอียู

SME Update
05/03/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 1671 คน
Brexit : สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังอังกฤษถอนตัวจากสหภาพอียู
banner
ก่อนจะเริ่มเรื่อง Brexit เราขอเท้าความกันก่อน คือ การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (United Kingdom หรือ Great Britain) หรือที่คนไทยมักจะเรียกกันว่า อังกฤษ แต่แท้จริงสหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่มีประเทศอยู่ภายในประเทศอีกที ประกอบไปด้วย อังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งได้ออกจากการสหภาพยุโรป (European Union) โดยเกิดหลังการลงประชามติวันที่ 23 มิถุนายน 2559 ก่อนหน้านี้หากจำได้ก็มี Grexit (Greece+Exit)  คือ กรณีกรีซถอนตัวออกจากยูโรโซนนั่นเอง

ประเด็นที่น่าจับตาคือ เมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ประกาศเลื่อนการลงมติของรัฐสภาต่อร่างข้อตกลง Brexit ที่รัฐบาลของเธอทำไว้กับผู้นำอียูไปเป็นวันที่ 12 มีนาคม 2562 จากเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 ในการนี้ นายกรัฐมนตรีอังกฤษเสนอทางเลือก 2 ประการ ในกรณีที่รัฐสภาอังกฤษไม่อนุมัติร่างข้อตกลงดังกล่าว ดังต่อไปนี้


ประการแรก ขอให้สมาชิกรัฐสภาของอังกฤษทำการลงคะแนนโหวตในวันที่ 13 มีนาคม 2562 เพื่อตัดสินใจว่าจะยอมให้สหราชอาณาจักรออกจากอียูอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 มีนาคม 2562 โดยไร้ข้อตกลง (No-deal Brexit) หรือไม่ สถานการณ์ No-deal Brexit นี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ของอังกฤษเท่านั้น

ประการที่สอง หากว่าสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ของอังกฤษไม่ให้การรับรองสถานการณ์ No-deal Brexit ในวันที่ 29 มีนาคม 2562 ดังกล่าวข้างต้น สมาชิกรัฐสภาของอังกฤษจะต้องทำการโหวตอีกครั้งในวันที่ 14 มีนาคม 2562 เพื่อเรียกร้องให้มีการเลื่อนกำหนดการ Brexit จากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 29 มีนาคม 2562 ออกไปก่อน โดยการขยายเวลาดังกล่าวจะเป็นเพียงช่วงระยะสั้นๆเท่านั้นเพื่อเดินหน้าขอเจรจากับอียูใหม่และเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้สหราชอาณาจักรต้องมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาอียูที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี้ อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ต้องผ่านความเห็นชอบจากอียูทั้ง 27 ประเทศก่อน

 

ข้อตกลง no-deal Brexit คืออะไร

หมายถึง ในกรณีที่สหราชอาณาจักรออกจากอียูโดยไม่มีข้อตกลง (no-deal Brexit) ภาคธุรกิจของอียูจำเป็นต้องเตรียมรับมือหากยังคงต้องการทำการค้ากับสหราชอาณาจักรเพื่อสร้างความพร้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากหากไม่มีข้อตกลงที่เรียกว่า Withdrawal Agreement ความหมายคือ สหราชอาณาจักรก็จะกลายเป็นประเทศที่สามต่ออียู ทำให้การค้าระหว่าง สหราชอาณาจักรกับอียูจะเป็นไปตามกฎขององค์การการค้าโลกโดย ไม่มีสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างกัน’  นับตั้งแต่ 30 มีนาคมเป็นต้นไป โดยมีนัยยะสำคัญดังต่อไปนี้

1.พิธีการทางศุลกากรจะถูกนำมาใช้ การแจ้งยื่นภาษีจะถูกบันทึกไว้และหน่วยงานศุลกากรอาจจะขอหลักประกันสำหรับการมีหนี้สินทางศุลกากรในปัจจุบันหรือในอนาคต

2.ภาษีศุลกากรต้องนำมาใช้กับสินค้าที่เข้ามาในอียูจากสหราชอาณาจักร โดยไม่มีสิทธิพิเศษทางการค้า

3.ข้อห้ามเฉพาะจะนำมาใช้กับสินค้าบางประเภทที่เข้ามาในอียูจากสหราชอาณาจักร ซึ่งหมายความว่าบริษัทจำเป็นต้องมีใบอนุญาตการนำเข้าและส่งออกสินค้า

4.ใบอนุญาตการนำเข้าและส่งออกสินค้าที่ออกโดยสหราชอาณาจักรไม่สามารถนำมาใช้กับ 27 ประเทศสมาชิกของอียูได้อีกต่อไป

5.การอนุญาตให้ปรับใช้พิธีการศุลกากรที่เรียบง่ายและสอดคล้องกัน อาทิเช่น คลังสินค้าศุลกากรที่ออกโดยสหราชอาณาจักรไม่สามารถนำมาใช้กับ 27 ประเทศสมาชิกของอียูได้อีกต่อไป

6.การขอเป็นผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ (Authorized Economic Operator: AEO) ที่ออกโดยสหราชอาณาจักรไม่สามารถนำมาใช้กับ 27 ประเทศสมาชิกของอียูได้อีกต่อไป

7.ประเทศสมาชิกจะเป็นผู้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในการนำเข้าสินค้าจากสหราชอาณาจักรมายังอียู

8.กฎระเบียบในการแจ้งยื่นและการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (การให้บริการ เช่น บริการอิเล็กทรอนิกส์) และสำหรับการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มข้ามแดน (cross-border VAT refunds) จะมีการเปลี่ยนแปลง

9.การเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังสหราชอาณาจักรจำเป็นต้องมีเอกสารการแจ้งส่งออก การเคลื่อนย้ายสินค้าสรรพสามิตไปยังสหราชอาณาจักรอาจจำเป็นต้องให้เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า an electronic administrative document (eAD)

10.การเคลื่อนย้ายสินค้าสรรพสามิต (excise goods) จากสหราชอาณาจักรไปยัง 27 ประเทศสมาชิกของอียูจำเป็นต้องสำแดงและดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรก่อนจะเคลื่อนย้ายได้ตามกฎระเบียบ Excise Movement and Control System (EMCS)

 

Brexit จะส่งผลกระทบกับบริษัทที่เข้าข่าย ดังต่อไปนี้
     
  • บริษัทที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการแก่สหราชอาณาจักร
  •  
  • บริษัทที่ซื้อสินค้าหรือบริการจากสหราชอาณาจักร
  •  
  • บริษัทที่เคลื่อนย้ายสินค้าผ่านสหราชอาณาจักร
  • Brexit ผลกระทบคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อการค้าไทย

    สำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างสหราชอาณาจักรกับอียูไม่ว่าจะเป็นการส่งออกผ่าน สหราชอาณาจักรเพื่อไปยังอียู การส่งออกผ่านอียูเพื่อไปยังสหราชอาณาจักร หรือการนำเข้าในลักษณะดังกล่าวควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเตรียมรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปในเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการยุโรปที่ระบุถึงการแจ้งเตือนในด้านต่างๆ ของการออกจากอียูของสหราชอาณาจักร (Brexit) รวมถึงการดำเนินพิธีการศุลกากรและภาษี และสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ ผู้ประกอบการในอียูสามารถติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หอการค้า หรือสภาอุตสาหกรรมแห่งชาติ

    ในด้านของผลกระทบโดย นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่าผลกระทบจาก Brexit ต่อไทยอาจประเมินได้ใน 3 ด้าน คือ

    1.ด้านภาพรวมการค้า Brexit น่าจะมีผลกระทบต่อภาพรวมการค้าไทยไม่มาก เนื่องจากในช่วงแรกกฎระเบียบของสหราชอาณาจักรต่อประเทศที่สามน่าจะยังยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมเท่าไรนัก อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกอาจได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากความต้องการซื้อที่ลดลงของสหราชอาณาจักร เนื่องจากการอ่อนค่าลงของเงินปอนด์

    2.ด้านสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่อียูมีการกำหนดโควตาภาษีกับไทยในปัจจุบัน เช่น สัตว์ปีกแช่เย็นและแช่แข็ง มันสำปะหลัง และข้าวนั้น เมื่อสหราชอาณาจักรออกจากอียูจะต้องมีการแบ่งโควตาภายใต้องค์การการค้าโลกระหว่างอียูกับสหราชอาณาจักร ไทยจึงต้องเร่งเจรจากับทั้งสองฝ่ายเพื่อไม่ให้สูญเสียส่วนแบ่งตลาดที่เคยได้ในตลาดทั้งสอง อย่างไรก็ตาม การที่สหราชอาณาจักรจะออกจากอียูทำให้ต้องเร่งหาพันธมิตรทางการค้าใหม่ๆ จึงเพิ่มโอกาสของไทยในการเจรจาความตกลงทางการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับสหราชอาณาจักร หากมีการเจรจาในเวลาที่เหมาะสม

    3.ด้านการลงทุน เป็นโอกาสที่ดีที่จะชักชวนนักลงทุนสหราชอาณาจักรเข้ามาลงทุนในไทย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และในสาขาที่สหราชอาณาจักร มีความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมใหม่ เช่น การบินและโลจิสติกส์ ยานยนต์สมัยใหม่ ดิจิทัล เป็นต้น เพื่อส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานภาคอุตสาหกรรมของไทย และการใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาค

    ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรเป็นคู่ค้าลำดับที่ 18 ของไทย และอันดับที่ 2 จากอียู ปี 2560 มีมูลค่าการค้าประมาณ 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.53 ของการค้าทั้งหมดของไทย ดังนั้นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องคงต้องจับตาผลกระทบครั้งนี้อย่างใกล้ชิด เพราะจากแนวโน้มและนักวิเคราะห์ต่างประเทศเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวเนื่อง  Brexit รอบนี้ คาดว่าจะรุนแรงกว่า Grexitหลายเท่าตัว แต่นี้ยังคงเป็นการประเมินต้นไตรมาส 2 คาดว่าจะเห็นภาพชัดขึ้น


    แต่อย่าเพิ่งไปประเมินในแง่ร้ายมากนัก เพราะดูจากท่าทีของอังกฤษที่ยังคงลังเล เป็นไปได้ว่าท้ายที่สุดแล้ว Brexit อาจจะต้องเลื่อนออกไปหรือไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้ เนื่องจากที่ผ่านมาเริ่มมีการพูดคุยในรัฐสภาอังกฤษมากขึ้นถึงการเสนอให้มีการลงประชามติอีกครั้งว่าสหราชอาณาจักรยังคงต้องการออกจากอียูอีกหรือไม่ เรื่องคงยังไม่จบแค่นี้ติดตามกันต่อไป
    Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

     

    Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
    สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


    Related Article

    ‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

    ‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

    TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
    pin
    1059 | 14/02/2024
    ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

    ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

    ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
    pin
    1406 | 26/01/2024
    จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

    จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

    ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
    pin
    1681 | 25/01/2024
    Brexit : สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังอังกฤษถอนตัวจากสหภาพอียู