ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย ถึงเวลาต้องปรับตัว

SME Update
10/04/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 3795 คน
ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย ถึงเวลาต้องปรับตัว
banner
หลายปีที่ผ่านมาธุรกิจให้บริการ โลจิสติกส์ กำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก ดูได้จากจำนวนผู้ให้บริการโลจิสติกส์ทั้งขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้ามาแข่งขันในตลาดมากขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาครัฐเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟ ท่าเรือ ถนน ศูนย์กระจายสินค้า และคลังสินค้า ฯลฯ มีการเชื่อมต่อระบบคมนาคมที่หลากหลายรูปแบบสามารถอำนวยความสะดวกได้มากขึ้น การเติบโตแบบก้าวกระโดดของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในประเทศ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme



 

ตลาดรวมโลจิสติกส์ปีละ 2 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทยสามารถให้บริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนธุรกิจและถือหุ้นได้ 100 % เป็นประเทศเสรีในการลงทุนโลจิสติกส์ ทำให้ภาพการแข่งขันระหว่างธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระดับโลก ที่ปัจจุบันเรียก ‘Big 3’ อันประกอบด้วย DHL,FedEx และ UPS ซึ่งหลายท่านทราบดีว่าทั้ง 3 รายใหญ่มีบริษัทสาขาในประเทศไทย ยิ่งทำให้การแข่งขันในด้านการเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจร ทั้งกระแสอีคอมเมิร์ซที่ร้อนแรงทำให้ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ในกลุ่ม ขนส่งพัสดุด่วน และขนส่งออนดิมานด์ ที่มีผู้ประกอบการข้ามชาติทั้ง Kerry ,Grab , flash express ,The Best  ทั้งผู้ประกอบการสตาร์ทอัพรายใหญ่ในอาเซียนอีกหลายๆ ราย ยิ่งทำให้ทวีความดุดเดือดมากขึ้นตามการเติบโตของธุรกิจโลจิสติกส์

ในปี 2560 มูลค่าตลาดรวมในด้านโลจิสติกส์ในประเทศไทยตามสถิติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)ระบุว่ามีมูลค่าถึง 2.02 ล้านล้านบาทต่อปี มีอัตราการเติบโตของธุรกิจเฉลี่ย 7 %ต่อปี ที่เกี่ยวโยงกับภาคอุตสาหกรรมการผลิต การจัดการ และการนำเข้าส่งออกของประเทศ รวมทั้ง สอดรับกับกระแสการเติบโตของอีคอมเมิร์ซในประเทศที่มีมูลค่าตลาดในปีที่ผ่านมากว่า 3.1 แสนล้านบาท

ด้วยเหตุนี้ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทยที่ส่วนใหญ่เป็น SMEs ต่างต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ โดย วุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่ส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจให้มีความเข้มแข็ง ได้ให้ความสำคัญกับธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทย ระบุว่า สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องเร่งดำเนินการในปัจจุบัน คือ การปรับตัวและเปลี่ยนวิธีคิดใหม่เพื่อรองรับการแข่งขันในตลาดที่สูงเพิ่มขึ้นและเป็นที่ยอมรับในเชิงธุรกิจ รวมทั้ง เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจในระยะยาว

6 ปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ต้องปรับเปลี่ยนเพื่ออยู่รอด

1.นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าและคู่ค้า สามารถตรวจสอบได้อย่างรวดเร็ว พร้อมสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัล

2.มีเครือข่ายพันธมิตรที่กว้างขวาง พร้อมเปลี่ยนคู่แข่งเป็นพันธมิตรเพื่อเกิดการส่งงานให้กันและกัน เป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดและขยายฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

3.ความเชี่ยวชาญของบุคลากร โดยเฉพาะการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ รวมถึง ต้องมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการรอบรู้และหลากหลาย

4.คุณภาพการให้บริการ คำนึงถึงลูกค้าและการให้บริการเป็นสำคัญ

5.รักษาฐานลูกค้าปัจจุบัน เนื่องด้วยการแข่งขันของธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ที่สูงขึ้น การรักษาฐานลูกค้า การให้คำปรึกษาเพื่อลดกระบวนการทำงานของลูกค้าจะเป็นหัวใจหลักในการสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องและการพัฒนาการบริการเพื่อสร้างลูกค้าใหม่นำสู่การเติบโตของธุรกิจ

6.มาตรฐานความปลอดภัยการให้บริการขนส่งสินค้า สามารถสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้าว่าสินค้าถึงจุดหมายอย่างปลอดภัยในเวลาที่กำหนด และดูแลไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน

โดยที่ผ่านมา (ปี 2553 - 2561) กรมฯ ผลักดันให้ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์พัฒนาตนเองและระบบการบริหารจัดการธุรกิจจนได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน ISO 9001 จำนวนกว่า 500 ราย แบ่งเป็นธุรกิจขนส่งสินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่อง ร้อยละ 67 บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ร้อยละ 13 ตัวแทนออกของรับอนุญาต ร้อยละ 11 คลังสินค้า ร้อยละ 5 และบริการโลจิสติกส์ครบวงจร ร้อยละ 4 ซึ่งแสดงถึงการบริหารจัดการ การบริการลูกค้า การเชื่อมโยงพันธมิตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการ และสามารถส่งผลต่อการลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ

อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เน้นย้ำว่า เป้าหมายสำคัญสำหรับการพัฒนาระบบบริหารจัดการธุรกิจของธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ คือ ต้องการให้ธุรกิจพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างผลประกอบการที่ดี โดยเปรียบเทียบการดำเนินงานและประเมินผลตามมาตรฐาน ISO ซึ่งสามารถวิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็งที่จะนำมาพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินธุรกิจให้มีระบบที่สร้างความน่าเชื่อถือ ตอบโจทย์ลูกค้าหรือผู้รับบริการได้อย่างตรงจุด สามารถแข่งขันในการขยายตัวของตลาดในประเทศและเชื่อมต่อระหว่างประเทศผ่านการค้าชายแดน ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนและเติบโต รวมทั้งการสนองตอบต่อตลาดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่ง ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่ธุรกิจอื่นของประเทศโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs

โลจิสติกส์

อย่างไรก็ตามในมองมองส่วนตัวของผู้เขียนการปรับตัวและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการบริการของผู้ประกอบการโลจิสติกส์นับเป็นหนทาง ท่ามกลางความไม่มีหนทาง เพราะประเด็นนี้ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ติกส์คนไทยย่อมทราบดีว่า การที่จะไปแข่งขันกับบริษัทต่างชาติที่มีเงินลงทุนสูงนั้นแทบจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ขณะเดียวกันการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการในไทยเองก็หละหลวม มีความพยายามในหลายครั้งในการรวมกลุ่มแต่สุดท้ายวงแตก โดยเฉพาะในภาคของผู้ให้บริการขนส่งทางบกและการจัดการขนส่ง หากประเด็นนี้ไม่ได้รับการเยียวยา แก้ไข ความเป็นไปได้ในการอยู่รอดของรายย่อยแทบไม่มี และจะถูกทุนต่างชาติควบรวมจนเป็นนอมินีในที่สุด
Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1228 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1588 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1874 | 25/01/2024
ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย ถึงเวลาต้องปรับตัว