เกาะติดเทรนด์ รถยนต์ไฟฟ้า พลังงานเปลี่ยนโลก

SME Update
21/06/2018
รับชมแล้วทั้งหมด 2089 คน
เกาะติดเทรนด์ รถยนต์ไฟฟ้า พลังงานเปลี่ยนโลก
banner
ไฮไลท์ :

อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV)  กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยปัจจัยจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำเข้าสู่ชีวิตมนุษย์มากขึ้น (Technology Disruption) ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงได้อย่างเร็วขึ้น และมีราคาถูกลง  ปัญหาข้อจำกัดของพลังงานน้ำมันที่มีโอกาสจะหมดไปในอนาคต และกระแสการลดใช้พลังงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในส่วนของประเทศไทย มีการคาดการณ์ตามแผน Energy Efficiency Plan (EEP) ว่า ในปี 2579 จะมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้ากว่า 1.2 ล้านคัน รัฐบาลมุ่งเน้นให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้ในฐานะอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) อย่างเต็มที่ทุกด้าน ทำให้ภาคเอกชนตื่นตัวกับการลงทุนอย่างเห็นได้ชัด

---------------------------------------------------------------------

เทรนด์อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) เปลี่ยนโลก เป็นเรื่องที่กำลังถูกพูดถึงอย่างมากในทุกแวดวง ด้วยปัจจัยทั้งการรุกคืบของการพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำเข้าไปในชีวิต (Technology Disruption) ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงเร็วขึ้น และมีราคาถูกลง

 

ประกอบกับแรงบีบจากปัญหาข้อจำกัดของพลังงานน้ำมันที่มีโอกาสจะหมดไปในอนาคต และกระแสการลดใช้พลังงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ทุกอุตสาหกรรมหันมาหาทางออกจากพลังงานทางเลือกมากขึ้น ตลอดจนความผันผวนของราคาน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าการเมืองที่ถูกโยงไปกับประเด็นความขัดแย้งของการเมืองระหว่างประเทศ ทั้งหมดนี้กลายเป็นแรงส่งให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

 

@ พัฒนาการรถยนต์ไฟฟ้า

จุดเริ่มต้นของการคิดค้นรถยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้นเมื่อปี 1884 โดยชาวอังกฤษ และได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ที่สร้างความฮือฮาได้มากที่สุดคือ การเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า 100% เมื่อปี 2014 ของบริษัท Tesla Motor ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติสหรัฐฯ ที่ทำให้ทั่วโลกเห็นภาพการผลิตถยนต์ไฟฟ้าให้สามารถใช้งานได้จริงบนท้องถนน โดยการใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ไฟฟ้า 100% มีการสร้างโรงงานขนาดใหญ่และคิดค้นมอเตอร์ กับแบตเตอรี่เซลล์เชื้อเพลิง เพื่อใช้ในรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม ในขณะเดียวกันได้มีการผลิตรถยนต์ Nissan Leaf  รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กที่ขายได้กว่า 100,000 คัน แต่การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้ายังถูกจำกัดด้วยเรื่องทางเทคนิคเช่น การพัฒนาสถานีชาร์จ แบตเตอรี่  เป็นต้น

 

ทั้งนี้ ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน มี  4 ประเภท ประกอบด้วย 1) ไฮบริด (HEVs) เป็นรถยนต์ที่ผสมผสานระหว่างเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า ช่วยลดการใช้น้ำมัน 2) ปลั๊กอินไฮบริด (PHEVs) เป็นรูปแบบที่สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น 3) แบตเตอรี่อย่างเดียว (BEVs) ใช้พลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวในการขับเคลื่อน โดยผ่านแบตเตอรี่แบบลิเทียมไอออน และ 4) เซลส์เชื้อเพลิง (FCEVs) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้เซลส์เชื้อเพลิงเป็นตัวขับเคลื่อน

 

ข้อมูลจาก International Energy Agency (IEA) ระบุว่า ปี 2558 มีจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก 1.26 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 77.84% โดยประเทศที่มีอัตรการการขยายตัวของการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าสูงสุด คือ จีน สหราชอาณาจักร นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ และเยอรมัน

 

ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก ปี 2558

ที่มา :  International Energy Agency (IEA)

@ มาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ

ในฟากฝั่งของประเทศไทย ก็ตื่นตัวกับเทคโนโลยีนี้เช่นกัน โดยรัฐบาลไทยได้ให้ความสนใจพร้อมทั้งกำหนดมาตรการสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมใหม่ S- Curve

 

‘คุณอุตตม สาวนายน’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่า รัฐบาลต้องการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เป็นหัวใจของรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งมี 3 ส่วนหลัก คือ 1.แบตเตอรี่ 2. มอเตอร์ไฟฟ้าและ 3.ระบบควบคุมไฟฟ้า

 

โดยมีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าจะเริ่มเห็นภาพชัดเจนในประเทศไทยจะต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 7 ปี หรือประมาณปี 2568 จากภาพใหญ่ที่มีการคาดการณ์ในแผน Energy Efficiency Plan (EEP) ว่าในปี 2579 จะมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้ากว่า 1.2 ล้านคัน

 

Energy Efficiency Plan (EEP)

ที่มา : กระทรวงพลังงาน

โดยปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 10 รายเตรียมลงทุนผลิตสิ่งที่เป็นหัวใจของรถอีวีคือแบตเตอรี่ ตามเงื่อนไขที่รัฐบาลขอให้ทรานส์เฟอร์เทคโนโลยี  แม้ในช่วงแรกจะต้องนำเข้าแบตเตอรี่ก่อน จากนั้นขยับเป็นการนำเซลล์มาประกอบเป็นแพ็กในประเทศไทย ก่อนที่จะลงทุนในประเทศไทยทั้งหมด

 

ทั้งนี้รั ฐบาลไทยจะมีการกำหนดมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุน และกฎหมาย พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ( พ.ร.บ.EEC) อีกด้านหนึ่ง ทุกหน่วยงานจะต้องกระตุ้นทั้งอุปสงค์ อาทิ การส่งเสริมให้ใช้รถอีวีในการโปรโมทการท่องเที่ยว เป็นต้น

 

@ ทรานสฟอร์มสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า

ฟากฝั่งภาคเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศต่างก็ตื่นตัวทรานฟอร์มธุรกิจสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์เกี่ยวข้องอย่างคึกคัก ไม่เพียงเฉพาะผู้ผลิตรถยนต์เท่านั้น แต่ผู้ประกอบการในธุรกิจอื่นที่หันมาทดลองชิมลางตลาดรถยนต์ไฟฟ้า อุปกรณ์สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และสถานีชาร์จ เริ่มมีจำนวนมากขึ้น

 

ยกตัวอย่างเช่น ค่ายผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บิ๊กในตลาดโลกอย่าง “เดลต้า” นายดิ๊ก เซีย ประธานบริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)  ยอมรับว่า บริษัทเริ่มปรับเปลี่ยนธุรกิจมาผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) มากขึ้น เพราะแนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่กำลังเกิดขึ้น บวกกับนโยบายสนับสนุนการลงทุนของทางภาครัฐในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve)

 

โดยบริษัทมีแผนที่จะเป็นผู้ผลิตสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (EV charger) จากปัจจุบันโมเดลธุรกิจหลักของบริษัทแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.การจัดการด้านพลังงานไฟฟ้าซึ่งสัดส่วน 25% เช่น ปุ่มควบคุมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ระบบในงานฐานข้อมูล (data) 2.พาวเวอร์/อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สัดส่วน 50% เช่น switching power supply กล่อง CPU ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ 3.การบริหารจัดการด้าน smart green lite สัดส่วน 25% เช่น ไฟ LED แผงโซลาร์เซลล์ อุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น

 

ทั้งนี้ ประเภท EV charger ประกอบด้วย ขนาดเล็กจะใช้เวลา 4-5 ชม./การชาร์จ 1 ครั้ง รถสามารถวิ่งได้ 80-100 กม. ราคาประมาณ 90,000 บาท สามารถติดตั้งในบ้านขนาดใหญ่ที่มีประมาณไฟเพียงพอ และขนาดใหญ่หรือ Quick charger จะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที/การชาร์จ 1 ครั้ง ราคาประมาณ 100,000 บาท

 

อีกรายเป็นกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าที่หันมาสนใจวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่และสมองกล สำหรับรถอีวี  “คุณสมโภชน์ อาหุนัย”  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ได้เปิดเผยหลังนำรถไฟฟ้าต้นแบบสัญชาติไทย  “ไมน์” (MINE) 3 รุ่น คือ เอ็มพีวี อีวี, ซิตี้ อีวี และสปอร์ต อีวี มาแสดงในงานเพื่อรับฟังเสียงของลูกค้าสำหรับนำไปพัฒนา ก่อนจะขึ้นไลน์ผลิตจริง และจัดจำหน่ายในปี 2562 ในราคาที่จับต้องได้ อย่างรุ่นซิตี้จะขายไม่เกิน 6 แสนบาท ส่วนเอ็มพีวีไม่เกิน 1 ล้านบาท นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้เพิ่มงบประมาณในการก่อสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้า จาก 600 ล้านบาท เป็น 800 ล้านบาท เพื่อการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า 1,000 สถานีทั่วประเทศ

 

คงจะเริ่มเห็นภาพว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้ากำลังคึกคักอย่างมาก ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ ทั้งหมดนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยไปสู่ยานยนต์แห่งอนาคต

 

Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก  หรือสายด่วน 1333

 

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1049 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1388 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1667 | 25/01/2024
เกาะติดเทรนด์ รถยนต์ไฟฟ้า พลังงานเปลี่ยนโลก