มาตรฐานการจัดการป่า ‘FSC’ ทางออก SME ผลิตภัณฑ์ไม้โตอย่างยั่งยืน

ESG
25/08/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 8144 คน
มาตรฐานการจัดการป่า ‘FSC’ ทางออก SME ผลิตภัณฑ์ไม้โตอย่างยั่งยืน
banner
ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญมาตรการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก-ลดโลกร้อน มุ่งสู่งานด้าน ESG เต็มรูปแบบ เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน (Sustainability)

จะเห็นได้ว่า มีมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมถูกกำหนดออกมาใช้อย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น 

-มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM)
-สหรัฐฯเตรียมออกกฎหมาย Clean Competition Act
-กฎหมายว่าด้วยสินค้าปลอดการทำลายป่าไม้ของสหภาพยุโรป
-มาตรฐาน RSPO การผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนที่ครอบคลุมมิติความยั่งยืนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ด้าน สังคม และด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น



มาตรการเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงกระแสที่ว่าทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับประเด็นการดำเนินการด้าน ESG มากขึ้น อันจะสื่อได้ว่าอนาคตข้างหน้าโลกจะให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น  ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการที่ใช้ทรัพยากรอย่างไร้ความรับผิดชอบอาจต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น เป็นการตอกย้ำพวกเราต้องตระหนักว่าการรักษ์โลกนั้นเป็น ‘ทางรอด’ ไม่ใช่ ‘ทางเลือก’ อีกต่อไป

สำหรับการจัดการป่าอย่างยั่งยืนแบบ FSC เป็นอีกเรื่องที่สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะมองข้ามไป แต่ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อปัจจัยหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องของทรัพยากรป่าไม้ที่ลดน้อยถอยลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในแง่ของภาคอุตสาหกรรมธุรกิจต่างประเทศ หรือพวกที่กระทำโดยผิดกฎหมาย

ดังนั้นองค์กรที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือของกลุ่มหน่วยงานต่าง ๆ อย่าง FSC จึงได้เข้ามามีบทบาทให้การปลูกป่าเชิงพาณิชย์ โดยมีการบริหารจัดการอย่างรับผิดชอบ ซึ่งองค์กร FSC มีความสำคัญอย่างไร ป่าเชิงพาณิชย์คืออะไร และการรักษาสิ่งแวดล้อมความรับผิดชอบของผู้ประกอบการต่อป่าไม้จะมีรายละเอียดอย่างไร Bangkok Bank SME รวบรวมข้อมูลดี ๆ มาฝากกัน



FSC คืออะไร? แล้วป่าปลูกเชิงพาณิชย์ เป็นอย่างไร? 

FSC (Forest Stewardship Council) เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่จัดตั้งขึ้นมากว่า 25 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อยืนยันว่าสินค้าชนิดนั้น ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าผลิตมาจากแหล่งป่าไม้ที่ถูกต้อง (Sustainable Forest) โดยใช้วัตถุดิบที่มาจากป่าไม้ที่ปลูกเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์เท่านั้น

ซึ่งมาตรฐาน FSC ต้องมีการจัดการผลผลิตที่เกิดจากป่าไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ต้องมีการจัดการทรัพยากรป่าไม้ไปกับการอนุรักษ์พื้นฟู ดูแลระบบนิเวศน์ ทำการรักษา พัฒนา ฟื้นฟูป่าไม้รวมไปถึงทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ให้มีความยั่งยืน (Sustainability) โดยมีการดำเนินการอย่างรอบคอบ



โดยการจัดการป่าตามแนว FSC คือมีการส่งเสริมให้มีการปลูกป่าไม้ให้เติบโตอย่างรวดเร็วและครบวงจรตามมาตรฐานของ FSC เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของป่าไม้ 3 ด้าน ดังนี้

1. ด้านสิ่งแวดล้อม ถือว่าเป็นเหตุผลหลักๆขององค์กร FSC เพราะว่าจุดประสงค์หลักๆก็คือการฟื้นฟู มีแผนงานสนับสนุนการอนุรักษ์ป่าไม้ ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและเป็นระเบียบ เพื่อก่อให้เกิดสมดุลของระบบนิเวศ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ 

2. ด้านเศรษฐกิจ ได้มีการวางแผนเพื่อทำการดำเนินการรวมไปถึงควบคุมกิจกรรมที่มีการส่งเสริมในเรื่องของการปลูกป่าที่ให้ผลผลิตอย่างยาวนานและมีความยั่งยืน ซึ่งการประเมินผลผลิตของสวนป่านั้น จะมีการจัดทำสูตรในการประเมินไม้

โดยมีระบบ Chain of Custody (CoC) คือระบบการควบคุมการตัดไม้ที่ทำให้สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปของไม้ได้ ป้องกันไม้ปลอมปะปนมา ช่วยสนับสนุนปุ๋นอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับป่า รวมไปจนถึงมีการจัดอบรมให้คำแนะนำตามหลักวิชาการให้เหมาะกับพื้นที่ชุมชม และเรื่องของความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก

3. ด้านสังคม ผลักดันให้มีการส่งเสริมการพัฒนาในเรื่องของการเกษตร ประชาชน รวมไปถึงองค์กรและผู้รับเหมารวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจ ความสามารถในการดำเนินงาน ด้วยจิตสำนึกด้านชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมถึงให้การศึกษากับชุมชนเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดหากมีการจัดการป่าอย่างไม่ถูกวิธีรวมถึงการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งให้ใช้หลักและเหตุผลด้วยความสมเหตุสมผลและเป็นธรรม



ตัวอย่างการจัดการป่าไม้ด้วย FSC ในต่างประเทศ 

โมเดลมาจากการจัดการป่าไม้ในสวีเดน ถือเป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างความสมดุลให้กับป่า ซึ่งมีหลายแนวทาง เช่น การพลิกฟื้นป่าที่เสื่อมโทรมทั่วประเทศที่เหลือเพียง 25% ให้เพิ่มเป็น 75% ได้สำเร็จ โดยการบริหารจัดการป่าอย่างยั่งยืน ตามมาตรฐาน Forest Stewardship Council (FSC) มาใช้กับพื้นที่ปลูกป่าเศรษฐกิจเป็นการปลูกป่าไม้เชิงพาณิชย์ 

ส่งเสริมเศรษฐกิจเติบโต เช่น ไม้แปรรูปสำหรับภาคก่อสร้างขนาดใหญ่ ไม้แปรรูปสำหรับเฟอร์นิเจอร์ ที่ภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมสามารถนำไปศึกษาต่อยอดได้ โดยสวีเดนเป็นประเทศที่ส่งออกไม้เศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก และยังครองตำแหน่งผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมดีด้วย

เอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย ระบุว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สวีเดนส่งออกไม้เป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีมูลค่ารวมกว่า 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และยังสามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เคยเหลือเพียง 25% เมื่อ 100 ปีก่อน เป็น 75% คือการใช้พระราชบัญญัติป่าไม้ (Forestry Act) ที่ทำให้ตัดไม้แต่สามารถได้ป่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากถ้าตัดต้นไม้หนึ่งต้น ต้องปลูกเพิ่มต้อนไม้ทดแทนอย่างน้อยสามต้น

วิธีดังกล่าวนอกจากจะได้พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น ยังช่วยให้ระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ช่วยดูดซับคาร์บอน ลดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว ที่สำคัญช่วยให้คนอยู่ร่วมกับป่า ใช้ประโยชน์จากป่า และมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูป่าไปพร้อมกันได้ โดยป่าไม้จะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้ประชาชน เช่น ไม้สำหรับการก่อสร้างอาคาร ไม้แปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงเศษไม้เหลือทิ้งใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลได้อีก

สะท้อนให้เห็นว่า การปลูกต้นไม้เศรษฐกิจนั้นสำคัญ แต่ที่สำคัญที่สุด คือการควบคุมการปลูกไม้ให้มีประสิทธิภาพและใช้พื้นที่ให้คุ้มค่าที่สุด สวีเดนใช้วิธีการปลูกต้นไม้หลากหลายแบบ เช่น การบังคับการเติบโตของลำต้นให้ตั้งตรง ไม่โค้งงอ จะช่วยประหยัดพื้นที่ให้ต้นไม้สามารถเติบโตใกล้ ๆ กันได้ นอกจากประหยัดพื้นที่แล้วยังทำให้เข้าไปเก็บได้ง่ายอีกด้วย

การทำแบบนี้นอกจากจะได้ไม้สำหรับส่งออกแปรรูปที่ได้มาตรฐานแล้ว ยังทำให้สวีเดนมีพื้นที่ป่ามากถึง 80% ของพื้นที่ประเทศด้วย และทำให้คนในชุมชนมีอาชีพ พร้อมเพิ่มรายได้ถึง 5 เท่า ซึ่งโมเดลนี้กว่าจะประสบความสำเร็จใช้เวลากว่า 20 ปีในการพลิกฟื้นป่าเสื่อมโทรมให้กลายเป็นป่าชุ่มชื้นอีกครั้งอย่างทุกวันนี้

ปัจจุบัน ป่าไม้ในสวีเดน มีการจัดการน้ำเพื่อบำรุงรักษาให้ป่าอุดมสมบูรณ์ โดยได้เพิ่มพื้นที่ป่าไปแล้ว 1.2 ล้านต้น และสร้างฝายชะลอน้ำ 115,000 ฝาย  ซึ่งช่วยชุมชนกว่า 306 ชุมชน 57,000 ครัวเรือน ทั่วประเทศ ใช้อุปโภค-บริโภคและการเกษตร และเกิดการจ้างงานกว่า 2,550 คน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างรายได้เพิ่มกว่า 5 เท่า  โดยมีเป้าหมายปลูกป่า 3 ล้านไร่  150,000 ฝาย เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 5 ล้านตัน มุ่งสู่ Net Zero ในปี 2050  ตามแนวทาง ESG 



แล้วการรับรองมาตรฐานป่าไม้ไทยเป็นอย่างไร

สำหรับประเทศไทย สภาพป่าไม้ในปัจจุบัน มีพื้นที่เพียง 1 ใน 3 ของประเทศ และพื้นที่ของไม้เศรษฐกิจก็มีน้อยมากและไม่ได้รับการควบคุม การลอบตัดไม้ทำลายป่ารวมไปถึงการบุกรุกพื้นที่ป่าจึงยังคงมีอยู่ ดังนั้น การจัดการป่าด้วย FSC จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันและตระหนักในการบริหารป่าในเชิงพาณิชย์อย่างจริงจัง

ซึ่งประเทศไทยเรารู้จักมาตรฐาน FSC และได้มีการดำเนินการขอการรับรอง แต่ยังไม่แพร่หลายมากนัก เนื่องจากการให้ความรู้ ความเข้าใจ และข้อจำกัดหลาย ๆ ประการ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง เพราะหน่วยตรวจรับรองหรือ Certified Body (CB) เป็นบริษัทจากต่างประเทศ นอกจากนั้น ประเทศไทยกำลังดำเนินการ มาตรฐาน PEFC (Programme for the Endorcement of Forest Certification) ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานของประเทศ (National Standard) ให้ เป็นมาตรฐานเท่ากับมาตรฐานในระดับนานาชาติ 

โดยประเทศไทยมีมาตรฐานการจัดการสวนไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (มอก. 14061) เป็นมาตรฐานของประเทศ และมีการจัดตั้ง TFCC (Thailand Forest Certification Council) ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ เป็น National Governing Body (NGB) 

เครือข่ายการรับรองไม้เศรษฐกิจไทย หรือ T-CERN ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มและก่อตั้ง TFCC ร่วมกับคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาด้านป่าไม้ของประเทศไทย ได้เล็งเห็นความสำคัญของระบบการรับรองด้านป่าไม้ จึงได้จัดหลักสูตรฝึกอบรม สำหรับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบการรับรอง ทั้งตามแนวทางมาตรฐาน FSC 

โดยการให้ความรู้ความเข้าใจถึงหลักการ กระบวนการ วิธีการ รวมถึง การดำเนินการเพื่อเข้าสู่ระบบการรับรอง ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความรู้ และเตรียมพร้อม จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ เป็นการลดต้นทุน ค่าใช้จ่าย และสามารถได้รับการรับรองได้ทันที 

โดยจะทำการฝึกอบรมทั้งการจัดการส่วนป่าอย่างยั่งยืน (Sustainable Forest Management : SFM) และระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Chain of Custody : CoC) นอกจากนี้ จะมีการทดสอบใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ สำหรับการตรวจประเมินและตรวจรับรอง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยอีกด้วย



FSC มีกี่ประเภท

ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่เราใช้มาจากป่าไม้ที่ได้รับการดูแลและควบคุมอย่างยั่งยืน ต้องสังเกตเลือกสินค้าที่มีฉลากต้นไม้เล็ก ๆ ที่ผ่านการรับรองจาก FSC โดยแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภทดังนี้

1. FSC 100%
สัญลักษณ์นี้รับรองว่าไม้หรือเยื่อไม้ผลิตภัณฑ์นี้มาจากป่าไม้ที่ผ่านมาตรฐานของ FSC ทั้งหมด หรือเป็นผลิตภัณฑ์จากป่าที่ได้รับการดูแลอย่างยั่งยืน 100% นั่นเอง

2. FSC Recycled
สำหรับสัญลักษณ์ FSC Recycled หมายถึง ผลิตภัณฑ์ไม้หรือเยื่อไม้ ต้องมาจากวัสดุรีไซเคิล เพราะการใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลจะช่วยให้ลดการใช้เยื่อบริสุทธ์ลงซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีปกป้องป่าไม้ด้วย

3. FSC Mix
สัญลักษณ์นี้แสดงถึงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของไม้หรือเยื้อบริสุทธ์ (เยื้อแท้) ที่ผ่านการรับรอง FSC ไม้หรือเยื่อรีไซเคิลผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ที่ควบคุมตามมาตรฐาน FSC โดยผลิตภัณฑ์จากป่าที่ได้รับตรารับรอง FSC Mixed จะต้องมีส่วนประกอบอย่างน้อย 70% ของไม้/เยื่อที่ผ่านการรับรอง FSC หรือผลิตภัณฑ์รีไซเคิล ขณะที่อีก 30% ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไม้ควบคุม



FSC มีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ SME อย่างไร

-แสดงให้เห็นว่าวัสดุของผลิตภัณฑ์มาจากวิธีการทางกฎหมายและแหล่งที่มีการจัดการที่ถูกต้อง
-ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าคุณเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในเรื่องของการอนุรักษ์ป่ารักษาสิ่งแวดล้อม
-เป็นจุดแข็งที่ทำให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดทั่วโลก



FSC มีความน่าเชื่อถือและมีการดำเนินงานอยู่กว่า 50 ประเทศทั่วโลก

บรรจุภัณฑ์ที่ติดฉลาก FSC ช่วยเสริมภาพลักษณ์สินค้าและแบรนด์ของคุณให้ดีขึ้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม
ความรับผิดชอบต่อโลก โดยแบรนด์ที่มีใบรับรอง FSC กว่า 90% บอกว่าการติดฉลากทำให้ภาพลักษณ์ของสินค้าดูดีขึ้น สินค้าที่มีจุดยืน และสร้างความมุ่งมั่นในเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ จะมียอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่า 4% โดย 66% ของผู้บริโภคบอกว่ายินดีที่จะสนับสนุนแบรนด์ที่มีการแสดงตัวตนเพื่อช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม

การติดฉลากและให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ FSC เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการควรตระหนัก เพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่มีความมุ่งมั่นเกี่ยวกับเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเลือกใช้วัตถุดิบที่มาจากป่าไม้ที่ผ่านการบริหารจัดการที่ยั่งยืน



ตัวอย่าง SME ที่ผ่านมาตรฐานการรับรอง FSC ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

คุณศุภรัตน์ ชูชัยศรี (คุณพิ้งค์) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ‘บริษัทศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์ จำกัด ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ ที่ใส่ใจผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นที่ออกจากโรงงานนี้ล้วนมั่นใจได้ว่า เป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 



ซึ่งไม้ที่ใช้ในการผลิตเกือบทั้งหมด มาจากสวนป่าปลูก 50% เป็นไม้ในประเทศไทย และอีก 50% เป็นไม้นำเข้าจากซัพพลายเออร์ในสหรัฐอเมริกา ผ่านมาตรฐานการรับรองจาก Forest Stewardship Council (FSC) ซึ่งเป็นองค์กรพิทักษ์ป่าไม้ระดับนานาชาติ 



โดยทุก ๆ ต้นไม้ 1 ต้นที่ถูกตัดมาใช้ จะมีการปลูกต้นไม้ทดแทน 5 ต้นเป็นอย่างน้อย อีกทั้งยังมีการจำกัดค่าฟอร์มัลดีไฮด์ในไม้ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ จนได้รับความไว้วางใจจากเครือบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งใน และต่างประเทศ




อีกหนึ่งตัวอย่างการทำธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม คือ คุณณัชพล สว่างเดชารักษ์ ทายาทรุ่น 3 ‘โรงเลื่อยจักรท่าเสา’ โรงงานไม้สักครบวงจร ผู้ผลิตที่มีป่าปลูก มีโรงงาน ครบเชนแบบนี้ ผมว่ามีแค่เรารายเดียวในประเทศไทย ที่มี Cetificate โดยได้รับการรองรับมาตรฐานระดับโลกอย่าง FSC จากกรมป่าไม้ และ Green Product จากกระทรวงอุตสาหกรรม ต้นไม้ที่เขาขายเอง ปลูกเอง คือการกลับมาใช้ได้อีก Life Cycle ค่อนข้างเยอะ 



ถ้าถามว่าทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่ คุณณัชพลพูดได้เต็มปากว่าไม่ใช่  ตอนนี้มีโครงการที่เรียกว่าคาร์บอนเครดิต ต้นไม้คือการเก็บคาร์บอนในอากาศเข้ามาอยู่ในตัว ในเนื้อไม้ ซึ่งเป็นตัวที่ดูดซับคาร์บอนแล้วนำมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งนี่คือผลพลอยได้ที่เราส่งกลับคืนให้ธรรมชาติ ปัญหาคือคาร์บอนเครดิต ยังไม่มีความชัดเจนคือยังไม่ได้บังคับให้ซื้อแบบจริงจัง สิ่งที่จะผลักดันให้เชนนี้ไปได้ คือต้องบังคับให้โรงงานที่ปล่อยมลพิษ เข้ามาซื้อคาร์บอนเครดิต 

ดังนั้น การปลูกป่าไม้มีค่า เพื่อใช้ประโยชน์ในระยะยาวและมีการปลูกเพิ่มเพื่อทดแทนอย่างมีแบบแผน เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่สร้างผลลัพธ์ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากต้นไม้ที่เติบโต จะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก การปลูกไม้มีค่าจึงเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่คุ้มค่ามากที่สุด




ผู้ประกอบการ SME ต้องรับมืออย่างไร?

สำหรับการรับมือนั้น ผู้ประกอบการต้องทำการตลาดเชิงรุก เน้นความต้องการเฉพาะของแต่ละตลาด มีการทำวิจัยด้านการตลาด รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของผู้บริโภค เพื่อระบุโอกาสและความท้าทาย เป็นต้น

โดยเฉพาะเกษตรกรสวนยาง อีก 2-3 ปีข้างหน้า EU จะไม่ซื้อผลิตภัณฑ์จากยางพารา เช่น เฟอร์นิเจอร์ น้ำยาง ยางแผ่น ไม้ยาง ฯลฯ ที่ไม่ผ่านมาตรฐาน FSC  พร้อมสนับสนุนชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางปฏิบัติตามมาตรฐาน FSC เน้นปลูกยางในพื้นที่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีสวนยางพารามากกว่า 10 ล้านไร่ แต่ได้มาตรฐาน FSC ประมาณ 50,000 ไร่ แต่ได้มาตรฐาน FSC ประมาณ 50,000 ไร่เท่านั้น ซึ่งอีกไม่เกิน 2 ปี มีความเสี่ยงที่ลูกค้าซึ่งเป็นบริษัทผู้ใช้ยางในสหภาพยุโรป (EU) ญี่ปุ่น และหลาย ๆ ประเทศ อิเกียผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์จากสวีเดน หรือ มิชลิน ผู้ผลิตล้อยางจากฝรั่งเศส บริษัทผู้ผลิตยางล้อ จะไม่รับซื้อยางพาราที่ไม่ได้มาตรฐาน FSC อย่างนี้เป็นต้น 

ดังนั้น เกษตรกรและผู้ประกอบการส่วนหนึ่งจึงเริ่มให้ความสำคัญในเรื่องนี้และขอให้ภาครัฐสนับสนุนเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ยางไทยมีมาตรฐานเดียวกับคู่ค้าในอียูและสหรัฐฯ



ล่าสุด 4 สมาคมยางพารา คือ สมาคมยางพาราไทย สมาคมน้ำยางข้นไทย สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางแห่งประเทศไทย และสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ทั้ง 4 สมาคมต้องการให้รัฐสนับสนุนให้สวนยางพาราของเกษตรกรได้รับมาตรฐานของสภาพิทักษ์ป่า (FSC) โดยมาตรฐาน FSC เป็นมาตรฐานที่กำหนดให้พื้นที่สวนยางพาราต้องปลูกในพื้นที่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ห้ามบุกรุกป่า เพื่อความยั่งยืนของป่า

ดังนั้นชาวสวนยางต้องเตรียมข้อมูลเพื่อรับมือและพยายามปรับตัวตามสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย มีการจัดโซนนิ่งการเพาะปลูก ช่วยควบคุมปริมาณยางพาราให้เหมาะสม ทำให้ราคายางในตลาดเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ หากเกษตรกรหรือผู้ประกอบกิจการยางพาราต้องการส่งออกยางไปขายยังตลาดสหภาพยุโรป (EU) หรือสหรัฐอเมริกา ก็ต้องปฏิบัติตามแนวทางนี้

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า การจัดการป่าตามแนวทาง FSC ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมป่าไม้โดยเฉพาะในประเทศไทย การรับรองนี้เป็นการใช้กลไกทางการตลาดให้เป็นข้อกำหนดให้เกษตรกร ผู้ผลิตและผู้ค้า และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดมีการปรับปรุงวิธีการจัดการป่าไม้ ละกระบวนการผลิตและซื้อขาย ให้เป็นที่ยอมรับ ถูกต้องตามหลักสากล

โดยมิใช่เป็นการบังคับโดยกฎหมาย นอกไปจากนี้การรับรองทางป่าไม้ยังช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดร่วมมือและดำเนินการตามหลักการการปลูกป่าไม้อย่างยั่งยืน เพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญต่อสังคม และเป็นการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้ให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต

อ้างอิง
https://hongthaipackaging.com/blog/forest-management-through-fsc/
https://www.epccorps.com/knowhow/what-is-fsc-certificated-and-why-important/
https://www.facebook.com/FSCThailandGCF/
https://www.dnp.go.th/research/knowledge/certification.htm
https://www.springnews.co.th/keep-the-world/climate-change/836589
https://www.bangkokbiznews.com/environment/1041498
https://www.yangpalm.com/2018/01/eu.html
https://today.line.me/th/v2/article/3N8xv8Z


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘โลจิสติกส์สีเขียว’ โอกาสยกระดับ “อุตสาหกรรมขนส่งไทย” สู่ความยั่งยืน

‘โลจิสติกส์สีเขียว’ โอกาสยกระดับ “อุตสาหกรรมขนส่งไทย” สู่ความยั่งยืน

ดูเหมือนสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) จะทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน ทั่วโลกพากันออกมาตรการส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสนับสนุนการดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภาคการขนส่ง…
pin
126 | 27/04/2024
Green Hotel (โรงแรมสีเขียว) ปรับตัวอย่างไร? ให้อยู่รอด พร้อมตอบโจทย์การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

Green Hotel (โรงแรมสีเขียว) ปรับตัวอย่างไร? ให้อยู่รอด พร้อมตอบโจทย์การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

ถึงวันหยุดพักผ่อนกันยาว ๆ อีกแล้ว สำหรับช่วงเทศกาลมหาสงกรานต์ หลายคนวางแผนไปท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้จากการไปพักโรงแรม หรือรีสอร์ท…
pin
2851 | 14/04/2024
ผ่าแนวคิด ‘อุตสาหกรรมยานยนต์-อากาศยานรักษ์โลก’ ปรับตัวสู่เส้นทาง Net Zero ช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไร?

ผ่าแนวคิด ‘อุตสาหกรรมยานยนต์-อากาศยานรักษ์โลก’ ปรับตัวสู่เส้นทาง Net Zero ช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไร?

ปัจจุบันมีการผลักดัน และพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าในทุกมิติ จึงก้าวหน้าขึ้นทุกวัน ส่งผลให้ยานยนต์ทุกประเภทต่างมุ่งหน้าสู่เส้นทางพลังงานสะอาด รวมไปถึง…
pin
3841 | 30/03/2024
มาตรฐานการจัดการป่า ‘FSC’ ทางออก SME ผลิตภัณฑ์ไม้โตอย่างยั่งยืน