คำนิยามของ ‘เทคโนโลยีชีวภาพ’ หรือ Biotechnology คือเทคนิคการนำสิ่งมีชีวิต หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตมาพัฒนาหรือปรับปรุงเพื่อประโยชน์เฉพาะตามที่ต้องการ โดยใช้เทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ เช่น การตัดแต่งยีนเพื่อพัฒนาพันธุ์พืช หรือ การรักษาโรคที่เรียกว่า พันธุกรรมบำบัด (Gene Therapy)
หรือแม้แต่การป้องกันการเกิดโรคล่วงหน้าโดยใช้การรักษาที่เรียกว่า Molecular medicine คือการรักษาแบบแม่นยำและจำเพาะโดยอาศัย ‘ข้อมูลทางพันธุกรรม’ มาใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค หรือความเสี่ยงในการเกิดโรคโดยการหาลำดับเบสของดีเอ็นเอ (DNA sequencing) ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Next-Generation Sequencing ซึ่งเป็นข้อมูลจีโนม (Genome) และเอ็กโซม (Exome) นี่จึงรูปแบบของเทคโนโลยีชีวภาพที่กำลังเปลี่ยนอนาคต
ด้วยเหตุนี้เราเลยหยิบยกเทรนด์เรื่อง Biotechnology ที่จะเป็นอีกหนึ่งเทรนด์กระแสแรงในปีหน้ากับ 7 แนวโน้มเทคโนโลยีชีวภาพในปี 2022

7 Trends Biotechnology แห่งปี 2022
1. ยาที่ผลิตขึ้นเฉพาะบุคคล
ด้วยความก้าวหน้าทางพันธุศาสตร์ การรักษาในระดับ DNA การรักษาในรูปแบบพันธุกรรมบำบัด (Gene Therapy) ด้วยเหตุนี้ ข้อมูล DNA จะเป็นตัวแปลสำคัญให้การบริการด้านยาในอนาคตจะมีความเฉพาะเจาะจงบุคคลมากขึ้น อย่างไรก็ตามจะใช้รูปแบบการรักษานี้ได้ ผู้รักษาจะต้องมีการตรวจและเก็บข้อมูลดีเอ็นเอเพื่อการนำมาวินิจฉัยและการรักษาด้วย อย่างไรก็ตามปัจจุบันหลายๆ ประเทศเริ่มมีการจัดเก็บข้อมูลประชากรเพื่อเก็บไว้ในธนาคารชีวภาพ ดังนั้นในไม่ช้าผู้ผลิตยาจะต้องปรับเปลี่ยนมาสู่เทรนด์นี้
2. Biotechnology จะพัฒนาเร็วขึ้น
มีการคาดว่าในปี 2022 การร่วมมือระหว่างนักนวัตกรรมและบริษัทชีววิทยาศาสตร์จะมีมากขึ้น ทั้งการค้นคว้าเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพจะเป็นหัวข้อสำคัญในปีหน้า ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย
3. Telehealth และ Telemedicine จะเติบโตต่อเนื่อง
แนวโน้มการเติบโตด้านเทคโนโลยีชีวภาพจะส่งผลสำคัญต่อการพัฒนาการวิจัยยา รวมทั้งรูปแบบการรักษาหรือปรึกษาแพทย์ในรูปแบบ Telehealth และ Telemedicine จะเป็นเทรนด์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการรักษารูปแบบใหม่โดยแพทย์สามารถรวมข้อมูล DNA และให้การวินิจฉัยที่แม่นยำยิ่งขึ้น

4.การก้าวกระโดดของงานวิจัยทางการแพทย์
ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ นักวิจัยจำนวนมากจึงสามารถมุ่งเน้นไปที่สาขาวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตที่แตกต่างกันมากมาย ซึ่งสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตได้ เช่น การผ่าตัดที่แม่นยำ ภูมิคุ้มกันบำบัด และพันธุศาสตร์เพื่อรักษาที่แม่นยำ ตลอดจนการมีเทคโนโลยี AI จะยิ่งทำให้วงการวิจัยทางการแพทย์เกิดขึ้นมากมายและเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของเทคโนโลยีชีวภาพอย่างมาก
5. การประเมิน วินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น
คงเคยได้ยินเรื่อง ‘Virtual Health’ หรือ โรงพยาบาลบนโลกออนไลน์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยและแพทย์สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้แบบ Real-time พร้อมด้วยบริการครบวงจรเสมือนการเข้าโรงพยาบาลจริง แม้แต่แพทย์สามารถสั่งจ่ายยาผ่านคลินิกเสมือนจริงได้ด้วยการเข้าถึงฐานข้อมูลออนไลน์ผ่าน อาทิ LiveHealth Online หรือ Teladoc ขณะนี้ Telepractice ซึ่งเป็นกระแสที่กำลังพัฒนาและเติบโตในโลกเทคโนโลยีชีวภาพปีหน้าจะได้เห็นมากขึ้น

6. ผลิตภัณฑ์ Biotech จะเพิ่มมากขึ้น
ในบ้านเราจะเห็นว่าสินค้าไบโอที่เห็นเยอะๆ อาจจะหมายถึงกลุ่มการสกัดและอาหารเสริมต่างๆ และด้วยเทคโนโยยีที่ก้าวล้ำยิ่งจะทำให้ในอนาคต แบรนด์สินค้าหรืออาหารเสริมเพื่อสุขภาพจะต้องยิ่งเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันต้นทุนในการผลิตคาดว่าจะลดลงเนื่องจากงานวิจัยและเทคโนโลยีหลักๆ มีต้นทุนที่ต่ำลง
7. ธนาคาร DNA ข้อมูลมนุษย์ที่ฝากไว้ในคลาวด์
ธนาคารชีวภาพ หรือไบโอแบงก์ (National BioBank) อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่มากสำหรับประเทศไทย แต่หากจะบอกว่าในไม่ช้าเราจะต้องมีธนาคารชีวภาพเพื่อเก็บข้อมูลประชากรเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและรักษาโรค ซึ่งอาจจะรวมทั้งประโยชน์ในด้านการจัดการประชากร กฎหมาย และการยืนยันตัวตนในรูปแบบดิจิทัล นี่จะเป็นเทรนด์ในปีหน้าเช่นกัน โดยการตรวจข้อมูลดีเอ็นเอประชากรไปฝากไว้บนคลาวด์เซิร์ฟเวอร์

ทั้งนี้ Biotechnology ถูกเร่งเร้ามาจากการระบาดของโควิด 19 ซึ่งนำไปสู่การวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกิดใหม่ขึ้นมามากมาย อาทิ การตรวจหาเชื้อไวรัส การพัฒนาวัคซีน ตลอดจนนวัตกรรมด้านสุขภาพต่างๆ ที่เกิดจากการนำข้อมูลดีเอ็นเอมาต่อยอดเพื่อประโยชน์ในด้านการแพทย์ ทั้งยังเป็นโอกาสใหม่ในอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน
แหล่งอ้างอิง : https://linchpinseo.com/trends-biotechnology-industry/