‘เมียนมาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ’ ท่ามกลางความท้าทาย

AEC Connect
11/11/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 971 คน
‘เมียนมาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ’ ท่ามกลางความท้าทาย
banner

ในที่สุดเมียนมาก็ได้เพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อวัน หลังจากหยุดชะงักไปนาน 5 ปี เป็น 5,800 จ๊าต หรือประมาณ 98.73 บาท ต่อ 8 ชั่วโมง จาก 4,800 จ๊าต หรือประมาณ 81.71 บาท โดยอัตราค่าแรงใหม่มีผลต่อแรงงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศและหมายความว่าลูกจ้างจะได้รับเงินเดือนขึ้นราว 20% จากค่าจ้างเดิม ซึ่งการขึ้นค่าจ้างครั้งก่อนมีขึ้นในปี 2561


สำหรับอัตราค่าแรงใหม่ได้เริ่มนำไปใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลเมียนมาได้ดำเนินการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ท่ามกลางสถานการณ์เงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น โดยธนาคารพัฒนาเอเชียหรือ ‘เอดีบี’ คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะแตะ 14% ในเดือนกันยายน สวนทางกับหมู่ประเทศเอเชียกำลังพัฒนาที่อาจจะเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อที่ลดลงสู่ระดับ 3.6% จาก 4.2%


ทางเลือกของรัฐบาลเมียนมาที่ต้องการจะแก้ไขอัตราแลกเปลี่ยนที่ 2,100 จ๊าต ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ นำไปสู่ความแตกต่างกันอย่างมากในอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละผู้รับแลกเงินนับตั้งแต่ 3,300 ถึง 4,000 จ๊าต ต่อดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินที่อ่อนลงอย่างมากส่งผลกระทบต่อราคาอาหารและยาให้พุ่งสูงขึ้น เช่น น้ำมันปรุงอาหารและข้าว ราคาพุ่งขึ้นไป 2-3 เท่า จากเมื่อปี 2564 เลยทีเดียว


ขณะที่ เมื่อมองมิติของด้านการลงทุน แม้ว่านักลงทุนจะถอนการลงทุนออกจากเมียนมาจำนวนมาก แต่จีนยังคงยกระดับความสัมพันธ์กับเมียนมาอย่างต่อเนื่อง โดยจีนมีโครงการลงทุนอยู่ราว 597 โครงการ คิดเป็นมูลค่ากว่า 23% ของจำนวนการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดในเมียนมา ซึ่งข้อมูลจากสถาบันกลยุทธ์และนโยบายของเมียนมา ระบุว่าระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ปี 2564 จนถึงเดือนมีนาคม 2566 เมียนมาอนุมัติการลงทุนจากต่างประเทศไปแล้ว 5,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในจำนวนนี้ประมาณ 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ มาจากจีน


นอกจากนี้ บริษัทต่าง ๆ ของจีนกำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งท่าเรือและทางรถไฟของเมียนมา นอกเหนือไปจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา (CMEC) ซึ่งถ้าหาก CMEC ประสบความสำเร็จ จีนจะสามารถเคลื่อนย้ายสินค้าผ่านเมียนมาไปยังเอเชียใต้ เอเชียตะวันตก แอฟริกาตะวันออก และยุโรป ช่วยย่นระยะทางการทำธุรกิจของบริษัทของจีนให้สั้นขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานยังช่วยให้จีนนำเข้าวัตถุดิบจากเมียนมาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ท่อลำเลียงที่เชื่อมรัฐยะไข่, มะเกวย์, มัณฑะเลย์ และรัฐฉาน สู่มณฑลยูนนาน ของจีน โดยเมียนมาและจีนมีท่อลำเลียงน้ำมันดิบและก๊าซระยะทางกว่า 700 เมตร โดยในปี 2565 เมียนมาส่งออกก๊าซธรรมชาติมูลค่าราว 1,430 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


อย่างไรก็ดี อนาคตของเศรษฐกิจเมียนมายังคงขึ้นอยู่กับพันธมิตรนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จีน และความสามารถในการจัดการกับความขัดแย้งภายในประเทศและการฟื้นฟูเสถียรภาพของประเทศ โดยการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำครั้งล่าสุดนี้ถูกมองว่าเป็นเพียงการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่บรรดาแรงงาน และเป็นอีกหนึ่งก้าวบนเส้นทางที่ท้าทายสู่การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งของเมียนมา


หมายเหตุ: อ้างอิงค่าเงินบาท ณ วันที่ 6 พ.ย. 2566

ที่มา: Myanmar Implements Long-Awaited Minimum Wage Hike (aseanbriefing.com)

Myanmar regime ups minimum wage by 20% amid inflation - Nikkei Asia


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘มาเลเซีย’ เล็งขยายท่าเรือเทียบชั้นสิงคโปร์

‘มาเลเซีย’ เล็งขยายท่าเรือเทียบชั้นสิงคโปร์

ท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของมาเลเซียวางแผนขยายขีดความสามารถในการรองรับสินค้าของท่าเรือเพิ่มเป็น 2 เท่าในทศวรรษข้างหน้าที่จะถึงนี้ โดยตั้งเป้าที่จะไล่ตามศูนย์กลางภูมิภาคอย่างสิงคโปร์…
pin
448 | 26/04/2024
ธุรกิจไหนดึงดูด FDI สู่ ‘เวียดนาม’

ธุรกิจไหนดึงดูด FDI สู่ ‘เวียดนาม’

สำนักงานการค้าต่างประเทศของเวียดนามระบุว่ามีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) เข้ามาในเวียดนามเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์…
pin
366 | 12/04/2024
ก้าวทัน ‘ภาษีเวียดนาม’ 2567

ก้าวทัน ‘ภาษีเวียดนาม’ 2567

ในปี 2567 มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องภาษีหลายประเภทในเวียดนาม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและปรับตัวให้สอดคล้องกับภาษีระหว่างประเทศ โดยภาษีหลัก ๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนที่บริษัทต่างชาติควรรู้มีดังนี้…
pin
273 | 29/03/2024
‘เมียนมาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ’ ท่ามกลางความท้าทาย