เจาะ ‘อุตสาหกรรมยานยนต์’ เวียดนาม 2568

AEC Connect
16/05/2025
รับชมแล้วทั้งหมด 1 คน
เจาะ ‘อุตสาหกรรมยานยนต์’ เวียดนาม 2568
banner

ภาคธุรกิจยานยนต์ของเวียดนามกำลังเติบโตอย่างมาก ท่ามกลางสภาวะห่วงโซ่อุปทานที่หยุดชะงักชั่วคราวและความไม่แน่นอนของการค้าโลก โดยภาคธุรกิจดังกล่าวเติบโตจากการสนับสนุนที่แข็งแกร่งของรัฐบาล การลงทุนจากต่างประเทศและอุปสงค์ของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม ‘รถไฟฟ้า’


จากข้อมูลของ PwC ระบุว่าเวียดนามเป็นตลาดยานยนต์ที่โดดเด่น เนื่องจากการเติบโตของผลรวมปริมาณการซื้อ/ขาย ของทั้งอุตสาหกรรมอยู่ที่ 22% เป็นรองเพียงแค่สิงคโปร์ ขณะที่ การเติบโตดังกล่าวของ 6 ประเทศ (อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ไทย, ฟิลิปปินส์, เวียดนามและสิงคโปร์) ในอาเซียนคาดว่าจะลดลงประมาณ 5.4% ในปี 2567 เนื่องจากอุปสงค์ผู้บริโภคลดลงในประเทศอินโดนีเซียและประเทศไทย


ตลาดยานยนต์ของเวียดนามผงาดขึ้นมา เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากนโยบายของรัฐบาล เช่น การลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเป็นการชั่วคราว ในปี 2567, การลดอัตราดอกเบี้ย ในปี 2566 และสิทธิประโยชน์ทางภาษี ขณะเดียวกัน รถไฟฟ้าก็ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้นในเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วน 20% ของผลรวมยอดขายรถยนต์ใหม่ของประเทศ


อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมยานยนต์ของเวียดนามยังคงอยู่ในขั้นกำลังพัฒนาด้วยอัตราการปรับยานยนต์ให้สอดคล้องกับท้องถิ่นอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ ในปี 2566 ยานยนต์ประมาณ 70% ที่ขายออกไปถูกประกอบภายในประเทศ แต่ชิ้นส่วนรถยนต์เพียงแค่ 20% ที่ผลิตในเวียดนาม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามีการพึ่งพาชิ้นส่วนรถยนต์และวัสดุตั้งต้นนำเข้าอย่างมาก และการพึ่งพานี้ตอกย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความสามารถในการผลิตในท้องถิ่นให้มากขึ้นเพื่อปรับปรุงในด้านต้นทุนและความสามารถในการแข่งขัน


‘VinFast’ บริษัทผู้ผลิตยานยนต์ยักษ์ใหญ่ที่ถือว่าเป็นเจ้าถิ่น ผงาดขึ้นมาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของแบรนด์จากต่างประเทศ โดย VinFast นำเสนอยานยนต์โมเดลต่าง ๆ ลที่มีราคาจับต้องได้ ซึ่งจุดนี้เองที่ช่วยให้ส่วนแบ่งการตลาดของ VinFast ขยายตัวจาก 9.2% ในปี 2566 เป็น 21.3% ในปี 2567 แซงหน้าคู่แข่งแบรนด์จากต่างประเทศ เช่น Hyundai, Toyota และ Kia


ปี 2567 นับเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ของเวียดนาม เพราะมีผู้ผลิตรถยนต์จากจีนหลั่งไหลเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมากซึ่งเพียงแค่ปีนี้ปีเดียวก็มีแบรนด์จากประเทศจีนที่เข้ามาใหม่ในตลาดเวียดนามถึง 7 แบรนด์ ทำให้ยอดรวมของแบรนด์จีนเป็น 13 แบรนด์ แซงแบรนด์ญี่ปุ่นที่มีอยู่ 9 แบรนด์ ทั้งนี้ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์หน้าใหม่ที่โดดเด่น ได้แก่ Geely Group, Geleximco-Chery และ Skoda Auto


ในแง่ของความได้เปรียบในการแข่งขัน เวียดนามมีข้อได้เปรียบหลายข้อที่ทำให้เวียดนามแตกต่างจากตลาดยานยนต์ระดับภูมิภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่โลกกำลังเผชิญกับภาวะที่ไม่แน่นอน โดยข้อได้เปรียบเหล่านั้น ได้แก่ 1. นโยบายเชิงรุกของรัฐบาล 2. เครือข่ายความตกลงการค้าเสรีที่กว้างขวาง และ 3. ศักยภาพของอุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแกร่ง 


ที่มา: https://www.vietnam-briefing.com/news/vietnam-automotive-industry-in-2025-growth-tariff-impacts-and-future-outlook.html/ 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

เจาะ ‘อุตสาหกรรมยานยนต์’ เวียดนาม 2568

เจาะ ‘อุตสาหกรรมยานยนต์’ เวียดนาม 2568

ภาคธุรกิจยานยนต์ของเวียดนามกำลังเติบโตอย่างมาก ท่ามกลางสภาวะห่วงโซ่อุปทานที่หยุดชะงักชั่วคราวและความไม่แน่นอนของการค้าโลก โดยภาคธุรกิจดังกล่าวเติบโตจากการสนับสนุนที่แข็งแกร่งของรัฐบาล…
pin
2 | 16/05/2025
สำรวจภาคโลจิสติกส์ ‘สิงคโปร์’

สำรวจภาคโลจิสติกส์ ‘สิงคโปร์’

หากพูดถึงการลงทุนในอาเซียน นักลงทุนหลายท่านคงนึกถึงการลงทุนประเทศใน CLMV ก่อน เพราะมีพื้นที่ตั้งใกล้กับประเทศไทยและมีบางประเทศอย่าง เวียดนาม…
pin
12 | 25/04/2025
ไทย-ลาว-จีน ปฏิวัติโลจิสติกส์ ยกระดับภูมิภาคสู่ศูนย์กลางการค้า

ไทย-ลาว-จีน ปฏิวัติโลจิสติกส์ ยกระดับภูมิภาคสู่ศูนย์กลางการค้า

จากความคืบหน้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคายที่เป็นไปอย่างราบรื่น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายกำลังร่วมมือกันพัฒนาภูมิภาคนี้ให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญ ไทย…
pin
17 | 11/04/2025
เจาะ ‘อุตสาหกรรมยานยนต์’ เวียดนาม 2568