AEC Connect | รู้จัก 3 เทคโนโลยีช่วยอาเซียนเดินหน้า ‘พลังงานสีเขียว’

AEC Connect
26/11/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 1949 คน
AEC Connect | รู้จัก 3 เทคโนโลยีช่วยอาเซียนเดินหน้า ‘พลังงานสีเขียว’
banner


เมื่อไม่นานมานี้ความต้องการที่เดินสู่เส้นทาง ‘พลังงานสีเขียว’ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดของโลก เริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเริ่มมีการผลิตพลังงานที่ไม่ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างแท้จริงด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนับตั้งแต่การผลิตไฟฟ้า, การกักเก็บไฟฟ้า, การแจกจ่าย, การจัดการและการใช้ไฟฟ้าอย่างเหมาะสมซึ่งหากอาเซียนคิดที่จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากกว่านี้ตามที่ให้คำมั่นในที่ประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (UNFCCC COP26) ระหว่างวันที่ 31 ต.ค. 2564 – 12 พ.ย. 2564 ที่ผ่านมา ก็มีความเป็นไปได้ ด้วยความก้าวหน้าของการพัฒนาไฮโดรเจนสีเขียว แบตเตอรี่ และโรงงานไฟฟ้าเสมือน โดยทั้ง 3 เทคโนโลยีจะสามารถช่วยอาเซียนลดก๊าซเรือนกระจกได้ ดังนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ไฮโดรเจนสีเขียว

สิ่งแรกที่จะพูดถึง คือ ไฮโดรเจนสีเขียวซึ่งเป็นรูปแบบของไฮโดรเจนที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะว่าผลิตจากพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์หรือความร้อนใต้พื้นโลก โดยไฮโดรเจนสีเขียวสามารถผลิตไฟฟ้าได้เมื่อต้องการ จากนั้นเก็บกักไว้และจ่ายไฟฟ้าออกไป เพื่อช่วยลดความไม่แน่นอนของพลังงานหมุนเวียน โดยกระบวนการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากราคาที่ลดลงของไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากแสงอาทิตย์และลมซึ่งสามารถใช้ผลิตไฮโดรเจนที่สามารถผลิตไฟฟ้าที่ส่งไปยังบ้าน ออฟฟิศและโรงงานต่าง ๆ

แบตเตอรี่แบบชาร์จใหม่ได้

ความก้าวหน้าของแบตเตอรี่ที่สามารถชาร์จใหม่ได้หลายครั้งก็เตรียมที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่เลยทีเดียว ด้วยแบตเตอรี่ชนิดนี้ทำให้พลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานจากใต้พื้นโลกสามารถนำมาแปลงเป็นไฟฟ้าและเก็บกักไว้ในแบตเตอรี่สำหรับใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เช่น SCiB™ ของโตชิบา ที่ใช้ลิเธียมไทเทเนียมที่ขั้วบวกของแบตเตอรี่ เพื่อสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย, ใช้ได้ในระยะที่ยาวนาน, อุณหภูมิต่ำ, ชาร์จได้รวดเร็วและมีความจุไฟสูง

โรงไฟฟ้าเสมือน (VPP)

การบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนด้วยการใช้ระบบซอฟต์แวร์ที่อัจฉริยะเพิ่มไปอีกขั้นซึ่งถูกขับเคลื่อนด้วย AI และ Internet of Things (IoT) ส่งผลให้โรงไฟฟ้าเสมือนเกิดขึ้นได้ในปัจจุบัน โดยเป็นการรวมให้พลังงานไฟฟ้าที่มาจากแผงโซลาร์, แบตเตอรี่ที่อยู่ตามบ้านและออฟฟิศต่าง ๆ และพลังงานหมุนเวียนจากบริษัทผู้ผลิตต่าง ๆ เข้ามาและถูกจัดการและเติมเต็มกันอยู่ภายในโรงงานไฟฟ้าเสมือน ซึ่งระบบที่ใช้ AI และ IoT จะสามารถคาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าและปริมาณไฟฟ้าที่มีอยู่ได้ และยังช่วยส่งเสริมความมั่นคงของระบบผลิตไฟฟ้า จัดวงจรการใช้และลดการสิ้นเปลืองพลังงานโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย

อย่างไรก็ดี ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ จึงทำให้พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาดเกิดเสถียรภาพมากขึ้นซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้อาเซียนสามารถเดินตามเส้นทาง ‘พลังงานสีเขียว’ เพื่อช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้อย่างมั่นคงและสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การดำเนินการตามเป้าหมายและเสาะหาวิธีใหม่ ๆ ที่จะใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและการผลิตไฟฟ้าจากทรัพยากรหรือแหล่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ทำร้ายโลกของเราไปมากกว่านี้

 

ที่มา: Headingto the greener energy journey in Southeast Asia with cutting-edge technology -Business - The Jakarta Post


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ก้าวทัน ‘ภาษีเวียดนาม’ 2567

ก้าวทัน ‘ภาษีเวียดนาม’ 2567

ในปี 2567 มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องภาษีหลายประเภทในเวียดนาม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและปรับตัวให้สอดคล้องกับภาษีระหว่างประเทศ โดยภาษีหลัก ๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนที่บริษัทต่างชาติควรรู้มีดังนี้…
pin
11 | 29/03/2024
‘แบงก์ชาติมาเลเซีย’ รับมือ ‘ริงกิตอ่อน’

‘แบงก์ชาติมาเลเซีย’ รับมือ ‘ริงกิตอ่อน’

ธนาคารกลางมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia: BNM) กระตุ้นให้นักลงทุน รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชน ช่วยเพิ่มมูลค่าสกุลเงินริงกิตที่อ่อนค่าลง…
pin
181 | 15/03/2024
โอกาสลงทุน ‘การขนส่งห้องเย็น’ ในเวียดนาม

โอกาสลงทุน ‘การขนส่งห้องเย็น’ ในเวียดนาม

‘การขนส่งห้องเย็น’ เป็นที่ต้องการอย่างมากในเวียดนาม เนื่องจากความสนใจที่จะ ‘นำเข้า’ อาหารประเภทที่ต้องเก็บไว้ในที่มีความเย็นเพิ่มมากขึ้น…
pin
291 | 22/02/2024
AEC Connect | รู้จัก 3 เทคโนโลยีช่วยอาเซียนเดินหน้า ‘พลังงานสีเขียว’