ส่องธุรกิจพลาสติก ท่ามกลางกระแสแอนตี้พลาสติก

SME Update
01/02/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 5431 คน
ส่องธุรกิจพลาสติก ท่ามกลางกระแสแอนตี้พลาสติก
banner

รัฐบาลไทยตั้งเป้าเลิกใช้ถุงพลาติกถาวรในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยเริ่มรณรงค์ลดใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 และปฏิบัติอย่างจริงจังมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2563 จนกลายเป็นกระแสให้ผู้คนออกมาขานรับนโยบายกันถ้วนหน้า จากปัญหาด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกตื่นตัวและหันมาให้ความสนใจกันอย่างจริงจัง ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับการรายงานว่า ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากเป็นอันดับ 6 ของโลก คิดเป็นปริมาณขยะพลาสติกประมาณ 1.3 ล้านตันต่อปี ขยะพลาสติกที่พบมากสุดในทะเล ได้แก่ ถุง,หลอด,ฝาพลาสติก และ ภาชนะบรรจุหุ้มห่ออาหาร

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


พลาสติกหายไป ผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบอะไร  

จากการประกาศงดใช้ถุงพลาสติกในห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ ที่มีสาขารวมกว่า 24,500 สาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา โรงงานผลิตถุงพลาสติกขนาดเล็กและ SMEs หลายรายได้รับผลกระทบในทันที จากออร์เดอร์ที่หายไปของผู้ค้าปลีกรายใหญ่ โรงงานจึงส่อแว่วเจ๊งเตรียมปิดโรงงาน ลอยแพแรงงาน จากมาตราการของภาครัฐที่ออกมาบังคับใช้ภายในระยะเวลาไม่ถึง 60 วัน ทำให้ผู้ประกอบการปรับตัวไม่ทัน โรงงานผู้ผลิตถุงพลาสติกรายเล็กส่อเค้าปิดกิจการกว่า 400 แห่ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแรงงานภาคการผลิตอีกกว่า 7,000 คนทั่วประเทศ

นายสมชัย เตชะพานิชกุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย เปิดเผยว่า “การเร่งโรดแมปให้เร็วขึ้น 2 ปี กระทบกับผู้ประกอบการโรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีที่ปรับตัวไม่ทัน เบื้องต้นคาดว่าส่งผลกระทบประมาณ 50 โรง จากที่มีโรงงานผลิตพลาสติกทั่วประเทศที่มีประมาณ 400-500 โรงงาน และอาจต้องทยอยปิดโรงงานและเลิกจ้างงาน 7,000-8,000 คน หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านบาทต่อปี”

ทั้งนี้ ฝั่งผู้ประกอบการได้ออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐเยียวยาจ่ายค่าชดเชยตามความเหมาะสม เนื่องจากเครื่องเป่าถุงพลาสติกที่มีนั้นไม่สามารถนำไปใช้ผลิตสิ่งอื่นหรือขายต่อได้ เพราะหากยังอยู่ในกระแสไร้ถุงพลาสติกแบบนี้คงไม่มีใครซื้อ รวมไปถึงจ่ายค่าชดเชยความเสียหายจากวัตถุดิบ เช่น เม็ดพลาสติก-เม็ดสี-หมึกพิมพ์ ค้างสต๊อกเคลียร์ไม่ทัน

สำหรับกรณีต้องเลิกจ้างแรงงานตามกฎหมายแรงงานเต็ม 100% เพื่อเป็นแนวทางเยียวยาภาคการผลิตที่ปิดตัวลง ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าหากรัฐบาลประกาศเลิกใช้ถุงพลาสติก 4 ชนิดแบบเต็มขั้นในปี พ.ศ.2565 จะมีแรงงานกว่า 4 หมื่นชีวิตถูกลอยแพ รวมถึงชีวิตนักศึกษาวิศวปิโตรเคมีอีกหลายพันชีวิตที่จะตกอยู่ในสภาวะว่างงานหากโรงงานภาคการผลิตถุงพลาสติกปิดตัวลง

 

 โรงงานฝั่งผู้ผลิตจะปรับตัวอย่างไร

ในเมื่อโลกตื่นตัวกับขยะพลาสติกและมลพิษที่เกิดขึ้น โรงงานขนาดใหญ่ และ SMEs ที่ต้องประคองตัวเองให้ผ่านไปได้จำต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย เพราะแม้จะมีการประกาศเลิกใช้ถุงพลาสติกชนิดหิ้วและอีก 4 ชนิดในอนาคตอันใกล้ แต่ในความเป็นจริงมนุษย์เรายังไม่สามารถตัดขาดจากการเลิกใช้พลาสติกได้ 100% เพราะยังไม่มีวัสดุอื่นมาแทนที่ ยังคงมีบางภาคส่วนที่จำเป็นต้องใช้พลาสติกอยู่ ทั้งนี้ผู้ประกอบการจำต้องปรับตัว โดยมีผู้เชี่ยวชาญออกมาให้แนวทางไว้ดังนี้

1. ปรับเปลี่ยนไปทำธุรกิจอื่นใกล้เคียงแทนการผลิตถุงพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง เช่น ทำแพ็คเกจจิ้ง ถุงขยะ  ฯลฯ

2. ป้อนเม็ดพลาสติกรีไซเคิลเข้าสู่กระบวนการผลิตถุงพลาสติกมากขึ้น เพื่อผลิตถุงพลาสติกแบบรีไซเคิลได้แทน

3. ใช้แม่พิมพ์เดิมในการผลิตถุงพลาสติกแบบเดิม แต่เปลี่ยนเป็นการผลิตถุงคุณภาพสูงแบบ multiple use แทน single use

4. หันมาผลิตบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ที่สามารถย่อยสลายได้ อย่าง Bioplastic แทนการผลิตพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

5. ปรับการผลิตไปตามเทรนด์ จากที่เคยใช้เม็ดพลาสติกในการผลิต ก็ปรับเป็นการนำวัสดุธรรมชาติอื่นๆ เช่น ใช้สาหร่ายทะเล แป้งจากพืช ใบไม้ มาประยุกต์ใช้ใมอุตสาหกรรมภาคการผลิตแทน


ทั้งนี้ภายในปี พ.ศ.2565 หรือ อีก 2 ข้างหน้าจะมีการยุติใช้พลาสติกแบบเต็มรูปแบบ และเน้นการใช้งานพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ใหม่หลายครั้ง รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ตามเทรนด์รักษ์โลกที่กำลังมาแรง และคาดว่าจะโหมโรงต่อไปอย่างต่อเนื่อง กับการเข้ามากำกับอย่างจริงจังของภาครัฐและการให้ความร่วมมือของภาคเอกชน

รวมถึงการปรับตัวของประชาชนที่ไม่เมินเฉยต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งอีก 2 ปีข้างหน้านี้จึงเป็น deadline ที่ผู้ประกอบการจะปรับตัวหันมาผลิตบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก เพื่อร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งที่มนุษย์เราทำร้ายโลกมายาวนาน ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเมื่อ 60 ปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม หากย้อนไปในจุดเริ่มต้น ถุงพลาสติกคือ นวัตกรรมที่เกิดขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์ในการช่วยรักษ์โลก ลดการใช้ถุงกระดาษ ลดการตัดไม้ เพราะพกพาง่าย น้ำหนักเบา มีความทนทาน สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้บ่อยครั้งตามต้องการแท้ๆ เชียว แต่บริบททางสังคมเปลี่ยนไป เมืองขยาย ถุงพลาสติกถูกนำมาใช้จนมากมายกลายเป็นขยะล้นโลก และสุดท้ายพลาสติกกลายเป็นจำเลยของสังคมโลกไปในที่สุด 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อ Bualuang Green<<


เมื่อถุงพลาสติกหายไป ผู้คนจะปรับตัวกันอย่างไร

ความท้าทายของสินค้าพลาสติกชีวภาพ


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1306 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1678 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1923 | 25/01/2024
ส่องธุรกิจพลาสติก ท่ามกลางกระแสแอนตี้พลาสติก