เรื่องด่วนควรทำ เมื่อธุรกิจเริ่ม 'เงินหมุนไม่ทัน'

SME Update
06/05/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 4808 คน
เรื่องด่วนควรทำ เมื่อธุรกิจเริ่ม 'เงินหมุนไม่ทัน'
banner

เงินขาดสภาพคล่อง ไม่พอกับรายจ่าย หมุนเงินไม่ทัน ต้องการเงินหมุนสำหรับธุรกิจ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอสำหรับเจ้าของกิจการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบจนอาจถึงขั้นต้องปิดกิจการได้ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวกับธุรกิจของเรา ผู้ประกอบการจึงควรคิดหาวิธีรับมือเพื่อให้ยอดกระแสเงินสดลื่นไหลไม่มีปัญหา

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. พิจารณาค่าใช้จ่ายประจำในแต่ละเดือน

อาจจะทำเป็นบัญชีรายรับ รายจ่ายขึ้นมาเลย อาจเป็นบัญชีง่ายๆ เมื่อเราพอจะเห็นแล้วว่าอย่างน้อยต้องมีเงินสำหรับค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ต้องจ่ายประจำ เช่น ค่าเช่าตึก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน ภาษี แล้วรายรับที่ได้รับนั้นสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายหรือไม่ เพียงพอสำหรับหมุนเวียนในแต่ละเดือนหรือเปล่า

 

2. ให้ลูกค้าวางมัดจำ

การวางมัดจำเป็นการลดความเสี่ยงในการทำงานของเรา และยังสามารถนำเงินมัดจำนั้น มาใช้ในการทำโปรเจกต์ดังกล่าวได้ด้วย

 

3. ทำบัญชีเงินสดรับ เงินสดจ่ายล่วงหน้า

วิธีนี้เหมือนกับการกางแผนที่ จะทำให้เห็นภาพรวมว่าธุรกิจมีกระแสเงินสดเป็นอย่างไร อีกเดือนสองเดือนข้างหน้าเงินสดพอหรือไม่ ถ้าไม่พอรายการไหนบ้างที่สามารถปรับเพื่อช่วยให้มีเงินหมุนเวียนมากขึ้น

หากใครไม่รู้จะเริ่มยังไงดี ลองเริ่มแบบง่ายๆ ด้วยการ List รายการที่เป็นกระแสเงินสดรับทั้งหมดของเดือนหน้าออกมา นำมาลบกับ List รายการที่เป็นกระแสเงินสดจ่ายทั้งหมดของเดือนหน้า ก็จะเท่ากับเงินสดคงเหลือเดือนหน้า จากนั้นก็ยกยอดเงินสดที่เหลือไปเดือนถัดไปเรื่อยๆ ทำแบบนี้ล่วงหน้าหลายๆ เดือน ถ้าเงินสดคงเหลือเดือนไหนติดลบ รีบหาสาเหตุวางแผนแก้ไขล่วงหน้า เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในเดือนนั้นๆ

 

4. ปรับธุรกิจให้มีรายได้หลากหลายช่องทาง

ถ้าธุรกิจใครได้รับเงินเป็นก้อนตามโปรเจกต์ ซึ่งกว่าจะได้รับเงินแต่ละก้อนก็หลักเดือน อาจจะลองปรับธุรกิจให้มีรายได้แบบอื่นด้วย เช่น เก็บรายเดือน หรือมีโปรเจกต์เล็กๆ บ้าง เพื่อจะได้เก็บเงินได้เร็วขึ้น แม้ว่าส่วนใหญ่กำไรจะน้อยกว่าโปรเจกต์ใหญ่ๆ แต่ก็เป็นส่วนที่ช่วยให้มีเงินทุนหมุนเวียนสม่ำเสมอ

 

5. ขอเลื่อนเวลาการชำระเงินออกไป

เมื่อกระแสเงินสดได้รับผลกระทบ หนึ่งในมาตรการป้องกันแรกที่ต้องพิจารณา คือการชะลอการชำระเงิน เจ้าของกิจการอาจเจรจาต่อรองขยายกำหนดเวลาการชำระเงินกับผู้ขายและซัพพลายเออร์รายอื่นๆ แทน ซึ่งถ้ามีประวัติการจ่ายตรงเวลาก่อนหน้านี้ พวกเขาอาจยินดีที่จะเลื่อนเวลาการจ่ายเงินให้เพิ่มอีก 2-3 วัน หรือหลายสัปดาห์ ฉะนั้นการชำระเงินตรงที่เวลาสามารถช่วยยามฉุกเฉินได้

 

6. เจรจาเงื่อนไขการชำระเงินใหม่

หากเจ้าหนี้เปิดโอกาสให้ชำระเงินล่าช้าในระยะเวลาสั้นๆ ได้ ลองใช้จังหวะนี้เปิดการเจรจาถึงโครงสร้างการชำระเงินที่มีอยู่ให้เป็นแบบระยะยาวมากขึ้น เช่น ถ้าปกติกำหนดการชำระเงินอยู่ที่ 30 วัน แต่คิดว่าจะต้องเจอกับปัญหากระแสเงินสดแบบนี้ทุกๆ เดือน ลองเจรจาขยายกรอบการชำระเงินออกไปเป็น 45 วัน เพื่อให้มีเวลาในการหาเงินมาจ่ายได้มากขึ้น

 

7. การขาย Cheque

บางครั้งหากหมุนเงินไม่ทันจริงๆ การขายเช็ค หรือขายเงินล่วงหน้า (Account Receivable) ก็เป็นสิ่งจำเป็น (Factoring) แต่ต้องไม่ลืมดูว่าการที่ธุรกิจจะได้เงินน้อยลงนั้นคุ้มค่ามากกว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียหรือไม่ นอกจากนี้ควรลองเช็กค่าใช้จ่ายกับดอกเบี้ยธนาคารที่ต้องกู้ยืมมาด้วย

 

8. เซฟค่าใช้จ่าย

เมื่อเข้าสู่ช่วงวิกฤตทางการเงิน คนทำธุรกิจยิ่งต้องเข้าไปดูเรื่องของการใช้จ่ายแบบใกล้ชิดมากเท่านั้น โดยเฉพาะต้องทำการตรวจสอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด เพื่อดูว่ามีอะไรที่สามารถระงับ-ตัดออกได้หรือไม่ เช่น หากยอดขายลดลง การลดคำสั่งซื้อสินค้ารายสัปดาห์หรือรายเดือน อาจเป็นตัวเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง รวมถึงลดการบริการสมัครสมาชิกซ้ำลง ดังนั้นยิ่งตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้มากเท่าไร ยิ่งสามารถนำกระแสเงินสดกลับคืนมาได้มากขึ้นเท่านั้น

 

9. อย่าสต็อกเยอะเกินไป

ยิ่งสต็อกเยอะ กระแสเงินสดจ่ายก็จะยิ่งมากตามไปด้วย จนอาจทำให้กระแสเงินสดรับขาดสภาพคล่อง ดังนั้นควรวางแผนดีๆ หากจำเป็นต้องซื้อวัตถุดิบเยอะจริงๆ ก็ควรหาเงินสดรับให้เพียงพอด้วย

 

10. ขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน

เพื่อป้องกันการขาดสภาพคล่อง ช่วยให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เมื่อการเงินเดินสะดวก กิจการก็จะไม่เสียเครดิต และยังเป็นการส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตได้อีกทางหนึ่งด้วย

การหมุนเงินสำหรับธุรกิจมีหลายวิธี ที่สำคัญคือการเลือกใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์และกิจการของตัวเอง นอกจากนี้การบริหารเงินที่ดีจะช่วยเพิ่มทรัพยากรให้กับบริษัทอย่างมหาศาล ถึงแม้บริษัทจะมีขนาดเล็ก ทุนสำรองไม่มาก ก็สามารถเติบโตได้หากผู้บริหารรู้จักเทคนิคการหมุนเงินที่ดี 



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1049 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1388 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1667 | 25/01/2024
เรื่องด่วนควรทำ เมื่อธุรกิจเริ่ม 'เงินหมุนไม่ทัน'