แบตเตอรี่โซล่าเซลล์-แบตเตอรี่ลิเธียม-รถ EV แนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมนวัตกรรมสีเขียวเพื่ออนาคตของจีน

ESG
17/01/2024
รับชมแล้วทั้งหมด 854 คน
แบตเตอรี่โซล่าเซลล์-แบตเตอรี่ลิเธียม-รถ  EV  แนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมนวัตกรรมสีเขียวเพื่ออนาคตของจีน
banner
ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจากภาวะโลกร้อน มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานไปทั่วโลก ให้หันหลังจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล มาสู่การใช้แหล่งเชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานครั้งสำคัญของโลก

อย่างที่ทราบดีว่า ภายหลังการเปิดประเทศในปี 1978 จีนเข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งด้านการค้าและการผลิตของโลกจนได้รับฉายา “โรงงานโลก” โดยความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจจีนกับต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ทั้งด้านการนำเข้าวัตถุดิบและการส่งออกสินค้า ทำให้เศรษฐกิจจีนอ่อนไหวต่อปัจจัยภายนอกมากขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้จีนต้องการปรับยุทธศาสตร์หันมาพึ่งพาตนเอง โดยเริ่มจากกลยุทธ์ Made in China 2025 ในปี 2015 ที่เน้นการผลิตในประเทศทดแทนการนำเข้า ซึ่งส่งผลให้โครงสร้างการผลิตและการค้าของจีนเปลี่ยนแปลงไป (กลยุทธ์ Made in China 2025: นัยต่อโครงสร้างการผลิตและการค้าระหว่างจีนและโลก, ธนาคารแห่งประเทศไทย, สิงหาคม 2566)

ยุทธศาสตร์ Made in China 2025 มุ่งพัฒนาจีน สู่ประเทศการผลิตที่แข็งแกร่งภายใน 10 ปีข้างหน้า 

Made in China 2025 หรือ Industry 4.0 เป็นยุทธศาสตร์ของจีนที่มุ่งพัฒนาจีน จากประเทศการผลิตยักษ์ใหญ่เป็นประเทศการผลิตที่แข็งแกร่งภายใน 10 ปีข้างหน้า (ค.ศ.2025) โดย เปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากเน้นปริมาณสู่การผลิตที่เน้นคุณภาพ มีการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิต โดยให้ความสำคัญกับ 1) การสร้างศูนย์สร้างสรรค์อุตสาหกรรมใหม่ 2) ผลิตสินค้าอัจฉริยะ 3) สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม 4) การผลิตแบบสีเขียว และ 5) มีความ สร้างสรรค์ในอุปกรณ์ระดับสูง ผ่านแนวคิดและหลักการของ Made in China 2025 คือ

1) การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
2) การผลิตที่มุ่งคุณภาพ
3) การผลิตมุ่งเน้นและพัฒนาไปสู่การผลิตสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
4) การปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิต เน้นการผลิตที่มีประสิทธิภาพ การใช้ ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาเรื่องคุณภาพสินค้าและ brand สินค้าของจีน
5) การพัฒนาบุคลากร ในด้านวิทยาศาสตร์และการสร้างนวัตกรรม



สอดรับกับข้อมูลโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน ที่เผยว่า ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มณฑลเจียงซี ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน ได้หันมาให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพ และการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ที่มุ่งเน้นการยกระดับอุตสาหกรรมให้มีความทันสมัย (ไฮเอนด์) อัจฉริยะ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงเกิดเป็นมาตรการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมของมณฑลเจียงซี 3 ประการ ได้แก่ การขับเคลื่อนด้านนวัตกรรม การเพิ่มขีดความสามารถทางดิจิทัล และความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมสีเขียว


เครดิตภาพจาก www.ditp.go.th

เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงนครหนานชาง เป็นที่รู้จักในฐานะเป็นเมืองแห่งสถาปัตยกรรม โดยทั้งเมืองมีธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้างที่รวมถึงการผลิตสินค้าอุปกรณ์การก่อสร้าง สินค้าตกแต่ง ทั้งหมด 269 แห่ง ในปี 2560 มีมูลค่าของอุตสาหกรรมอยู่ที่ 100,000 ล้านหยวน เมืองมีการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้าง เพื่อให้อุตสาหกรรมก้าวไปสู่อุตสาหกรรมที่แข็งแกรง และพัฒนาไปในทิศทางอุตสาหกรรมก่อสร้างสีเขียว
 
ขณะที่เมืองอี๋ชุน มณฑลเจียงซี ได้ประโยชน์จากทำเลที่ตั้งที่เอื้อประโยชน์ด้านทรัพยากรลิเธียม เมืองจึงกลายเป็นฐานการผลิตเกลือลิเทียม (Lithium Salts) และ วัสดุแบตเตอรี่ลิเธียม ที่สำคัญของประเทศ ปัจจุบัน เมืองอี๋ชุน มีบริษัทที่ผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมมากกว่า 200 แห่ง และมีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างกว่า 100 โครงการ โดยมีมูลค่าการลงทุนในโครงการกว่า 100,000 ล้านหยวน อุตสาหกรรมด้านทรัพยากรลิเธียมของเมืองอี๋ชุน จึงกลายเป็นอุตสาหกรรมด้านพลังงานใหม่ที่สำคัญของมณฑลเจียงซี
 
เขตหนานคัง เมืองก้านโจว มีการใช้ระบบดิจิทัล Big Dada และ Internet of Things เป็นต้น ผสานเข้ากับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม โดยมีการใช้หุ่นยนต์คัดแยกสีอัตโนมัติและตัดวัสดุไม้แบบไร้คนควบคุม ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนในการเตรียมวัสดุได้ถึง 15% และยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อีกทางหนึ่ง เพื่อให้ปัญญาประดิษฐ์เสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่ได้ดียิ่งขึ้น 



ขนาดใหญ่ ที่จะเป็นการสร้างและแสดงให้เห็นถึงความอัจฉริยะของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่ และยังเป็นการตระหนักถึงการเปลี่ยนผ่านของยุคอุตสาหกรรมแบบเดิมไปสู่ยุคดิจิทัล
 
จากการส่งเสริมด้านอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ของมณฑล ทำให้อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ของมณฑลขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลเผยแพร่โดยกรมอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศประจำมณฑลเจียงซี ระบุว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน 2566 รายได้จากการดำเนินงานของอุตสาหกรรมพลังงานใหม่อยู่ที่ 317,050 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 YoY ในจำนวนนี้ มีสินค้า 3 สินค้ามีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ได้แก่แบตเตอรี่โซล่าเซลล์ แบตเตอรี่ลิเธียม และรถยนต์ไฟฟ้า


โดยปริมาณการส่งออกร่วม 35,600 เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.2 YoY ส่งผลให้การส่งออกของมณฑลเจียงซีเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 4 ในอนาคตภาครัฐของมณฑลเจียงซี ได้มีการวางแผนระยะยาว ภายในปี 2573 มณฑลเจียงซีจะมุ่งมั่นสร้างและขยายตลาดอุตสาหกรรมสินค้าใหม่เพื่ออนาคต และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเป็นนักพัฒนาและเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์เพิ่มมากขึ้น
 
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน ระบุว่า ที่ผ่านมา มณฑลเจียงซีมีการส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการพัฒนาและยกระดับด้านอุตสาหกรรมของมณฑลเจียงซี จะส่งผลดีต่อไทยทั้งด้านการค้า การลงทุน ความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในอุตสาหกรรมสินค้าใหม่เพื่ออนาคต



ปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาคธุรกิจพลังงาน กำลังเผชิญกับความท้าทายของแนวโน้มพลังงาน หรือ เทรนด์ของโลกที่จะเปลี่ยนผ่านจากฟอสซิลสู่พลังงานสะอาดมากขึ้น ความนิยมใช้พลังงานหมุนเวียนจึงมากขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ทำให้การแข่งขันในด้านอุปกรณ์มีราคาถูกลง รวมถึงนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐมาช่วยส่งเสริมให้มีการผลิตพลังงานหมุนเวียนทำให้ต้นทุนและราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจากพลังงานหมุนเวียนลดลง 

บอร์ดอีวี ไฟเขียวมาตรการ EV 3.5 ผลักดันไทยฮับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคสู่เป้าหมาย 30@30 ภายในปี 2573

ด้านความคืบหน้ามาตรการ EV 3.5 ที่ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยต่อการผลักดันให้เกิดความต่อเนื่องของนโยบายในการสนับสนุนให้ไทยเป็นฮับยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค และดึงนักลงทุนรายใหม่ให้เข้ามาตั้งฐานผลิตในประเทศ รวมถึงกระตุ้นให้ผู้ประกอบการรายเดิมเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับฐานการผลิตยานยนต์ของประเทศไทย และทำให้ไทยสามารถรักษาความเป็นผู้นำด้านยานยนต์อันดับ 1 ในอาเซียน และ 1 ใน 10 ของโลก รวมทั้งสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยในการลดก๊าซเรือนกระจก และก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2050



นับตั้งแต่มีการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2560 ได้ก่อให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า มูลค่ารวม 61,425 ล้านบาท จากโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ การผลิตชิ้นส่วนสำคัญ รวมถึงสถานีอัดประจุไฟฟ้า


เครดิตภาพ : BOI News

สรุปตัวเลขและโอกาสเติบโตในการใช้ลิเทียมทั่วโลก

การคาดการณ์แนวโน้มความต้องการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าของโลกในอนาคต สำหรับแบตเตอรี่ที่ใช้งานในรถยนต์ไฟฟ้าปัจจุบัน คือ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ได้รับความสนใจจากอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นในฐานะแหล่งพลังงานที่สําคัญของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า รถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นตลาดที่สําคัญของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีมูลค่าสูงถึง 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2573

นอกจากนี้ จากการคาดการณ์ของ Bloomberg NEF คาดว่า แนวโน้มความต้องการแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเพื่อใช้สําหรับรถยนต์ไฟฟ้าทั้งรถยนต์ขนส่ง (Commercial EVs) และรถยนต์นั่งทั่วไป (Passenger EVs) จะเพิ่มขึ้นจาก 151 GWh ในปี 2561 เป็น 1,748 GWh ในปี 2573 หรือคิดเป็นปริมาณความต้องการใช้งานสําหรับรถยนต์ไฟฟ้าประมาณ 30 ล้านคัน

เมื่อทั่วโลกกำลังมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน ส่งผลให้เกิดการปรับตัวและแรงกดดันที่จะตามมาในอนาคต ไทยจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะมุ่งหน้าสู่การเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ไปด้วย เช่น การใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน การเตรียมพร้อมแท่นชาร์จสำหรับรถยนต์ EV การนำเทคโนโลยีดักจับคาร์บอนมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ไม่เพียงเท่านั้น ในส่วนของไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างให้ความสำคัญกับพลังงานสะอาด และการลงทุนในพลังงานสะอาดและธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Value Chain) 



รวมถึงการขยายการลงทุนในธุรกิจผลิตและจำหน่ายแบตเตอรี่ที่รองรับทั้งรถยนต์ไฟฟ้า เรือไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System : ESS) ตามทิศทางกลยุทธ์การลงทุนธุรกิจพลังงานแห่งอนาคตมากขึ้น  ปัจจัยเหล่านี้ คือสิ่งที่จะสร้างให้เกิด Energy Storage and EV Value Chain ที่ครอบคลุมในทุกมิติ สร้างความมั่นคงในธุรกิจพลังงานอย่างยั่งยืน


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘โลจิสติกส์สีเขียว’ โอกาสยกระดับ “อุตสาหกรรมขนส่งไทย” สู่ความยั่งยืน

‘โลจิสติกส์สีเขียว’ โอกาสยกระดับ “อุตสาหกรรมขนส่งไทย” สู่ความยั่งยืน

ดูเหมือนสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) จะทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน ทั่วโลกพากันออกมาตรการส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสนับสนุนการดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภาคการขนส่ง…
pin
151 | 27/04/2024
Green Hotel (โรงแรมสีเขียว) ปรับตัวอย่างไร? ให้อยู่รอด พร้อมตอบโจทย์การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

Green Hotel (โรงแรมสีเขียว) ปรับตัวอย่างไร? ให้อยู่รอด พร้อมตอบโจทย์การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

ถึงวันหยุดพักผ่อนกันยาว ๆ อีกแล้ว สำหรับช่วงเทศกาลมหาสงกรานต์ หลายคนวางแผนไปท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้จากการไปพักโรงแรม หรือรีสอร์ท…
pin
2861 | 14/04/2024
ผ่าแนวคิด ‘อุตสาหกรรมยานยนต์-อากาศยานรักษ์โลก’ ปรับตัวสู่เส้นทาง Net Zero ช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไร?

ผ่าแนวคิด ‘อุตสาหกรรมยานยนต์-อากาศยานรักษ์โลก’ ปรับตัวสู่เส้นทาง Net Zero ช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไร?

ปัจจุบันมีการผลักดัน และพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าในทุกมิติ จึงก้าวหน้าขึ้นทุกวัน ส่งผลให้ยานยนต์ทุกประเภทต่างมุ่งหน้าสู่เส้นทางพลังงานสะอาด รวมไปถึง…
pin
3843 | 30/03/2024
แบตเตอรี่โซล่าเซลล์-แบตเตอรี่ลิเธียม-รถ  EV  แนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมนวัตกรรมสีเขียวเพื่ออนาคตของจีน