ทั่วโลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคสังคมไร้เงินสด หรือ Cashless Society โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากต้องพกเงินสดมาเป็นการใช้ Mobile Payment หรือกระเป๋าเงินดิจิทัลในชีวิตประจำวันมากขึ้น ไม่เพียงแต่เฉพาะการทำธุรกรรมซื้อ-ขายสินค้าหรือบริการผ่านทางออนไลน์ แต่ยังนำมาใช้กับธุรกรรมซื้อขายตามห้างร้านออฟไลน์ต่างๆ ทุกระดับ ไม่เว้นแม้แต่ตามร้านข้างทาง หรือบริการทั่วไป แล้วทำไม Mobile Payment ถึงได้เป็นตัวเร่งตัดสินใจซื้อขายหน้าร้านได้ บทความนี้มีคำตอบ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ
อย่าลืมกดไลก์
Facebook bangkokbanksme
Mobile Payment คือแบบไหนกันบ้างนะ
Mobile Payment หรือที่หลายๆ คนเรียกว่า กระเป๋าเงินดิจิตอล
เป็นการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นส่วนกลางแทนธนาคารหรือตู้ ATM
โดยสามารถใช้งาน Mobile Payment ได้แก่
1. M-Commerce : การซื้อสินค้าหรือบริการผ่านทางเว็ปไซต์หรือแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ
การแตกแขนงของเทคโนโลยีที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวของธุรกิจพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์โดยรวม
กล่าวง่ายๆ ก็คือ M-Commerce ช่วยเร่งการเติบโตให้กับการดำเนินธุรกรรมผ่านเครือข่ายอิเล็คทรอนิคส์
ได้รวดเร็วกว่าที่จะปล่อยให้เทคโนโลยี E-Commerce ทำหน้าที่ดังกล่าวไปโดยลำพัง
ขอบเขตของ M-Commerce ครอบคลุมทั้งการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
(Business to Customer หรือ B2C) และระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง
(Business to Business หรือ B2B)
2. Mobile Wallet
หรือ E-Wallet : กระเป๋าเงินดิจิทัลที่อยู่บนโทรศัพท์มือถือ
ซึ่งผู้บริโภคสามารถใช้แทนเงินสดในการ รูด โอน จ่าย ค่าสินค้าและบริการผ่านทางแอปพลิเคชั่นของผู้ให้บริการ
โดยแอปพลิเคชั่นดังกล่าวจะเป็นตัวเชื่อมต่อกับบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต บัตรเดบิตของผู้ใช้ซึ่งถูกรวมอยู่เอาไว้ในที่เดียว
เป็นรูปแบบที่เรามักจะเห็นคนส่วนใหญ่เลือกใช้ จนกลายมาเป็นชื่อเรียก “กระเป๋าเงินดิจิทัล” เนื่องจาก m-Wallet คือ
สามารถทำธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือได้ โดยที่ไม่ต้องพกกระเป๋าเงิน แต่ก็สามารถใช้จ่ายให้เงินออกนอกบัญชี
และเติมเงินเข้าบัญชีได้อย่างสะดวกสบาย ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นแอปพลิเคชั่นบัญชีธนาคาร
แต่อาจเป็นแอปพลิเคชั่นขององค์กรเอกชนอย่าง True Wallet, AirPay, Rabbit
LINE รวมถึงการสแกน Barcode, QR Code หรือส่งผ่านระบบ
NFC, RFID ฯลฯ
ทั้งนี้ไม่ว่าจะใช้งาน
Payment ในรูปแบบไหนก็ตาม
ผู้ต้องการใช้บริการจำเป็นที่จะต้องลงทะเบียนขอเปิดใช้งานกับผู้ให้บริการ
และติดตั้งระบบบัญชีให้มีความเชื่อมโยงกันก่อน
Cashless Society เป็นตัวเร่งตัดสินใจซื้อขายที่หน้าร้านได้อย่างไร?
ใครๆ
ก็คงคิดว่า ‘เงินสด’ ให้ความสะดวกสบายแก่ผู้ซื้อและผู้ขายรายย่อย (โดยเฉพาะผู้ที่ทำกิจการแบบมีหน้าร้าน)
ได้มากกว่าการทำธุรกรรมออนไลน์ แต่หลังจากช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้กระแสสังคมไร้เงินสดเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น เนื่องจาก Mobile
Payment มีประโยชน์ทั้งในแง่ของการไม่ต้องพกหรือหยิบจับเงินสด/บัตรเอทีเอ็ม/บัตรเครดิตต่างๆ
ให้ต้องกังวลถึงเรื่องความปลอดภัยทั้งต่อการถูกขโมย ธนบัตรปลอม
และความสะอาดจากเชื้อโรคไวรัสต่างๆ
รวมทั้งยังสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยตอบโจทย์วัยทำงานและคนรุ่นใหม่มากขึ้น
มีทางเลือกช่องทางชำระเงินให้ผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งไม่ต้องเดินทางไปถึงหน้าร้านก็สามารถซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ได้เพิ่มเติมด้วย
จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม Mobile
Payment ถึงได้รับความนิยมมากขึ้น และเป็นตัวช่วยตัวเร่งตัดสินใจซื้อขายที่หน้าร้านได้มากกว่า
และอีกเหตุผลที่น่าสนใจคือ ระหว่างเงินสดในกระเป๋ากับเงินออนไลน์ที่เราไม่สามารถหยิบจับ
ให้ความรู้สึกในการจับจ่ายที่ต่างกัน อาทิ
เราต่างรู้สึกว่าการใช้เงินสดโดยการหยิบยื่นจ่ายไปเป็นการสูญเสียอย่างหนึ่ง
เป็นความรู้สึกทางใจเวลาจ่ายค่าสินค้า ในขณะที่หากจ่ายโดยช่องทางออนไลน์หรือจ่ายแบบสแกน
หรือแม้แต่รูดบัตรเครดิต ความรู้สึกเสียดายเงินกลับน้อยกว่าเงินสดมาก ด้วยเหตุนี้คนที่ขายสินค้าหน้าร้าน
จะพลาดโอกาสปิดการขายได้หากไม่มีช่องทางจ่ายผ่าน Mobile Payment
หรือช่องทางอื่นๆ ที่ไม่ต้องจ่ายด้วยเงินสด
ผู้ให้บริการ Mobile Payment ในปัจจุบัน
ในปัจจุบันนั้นไม่ได้มีแต่เพียงธนาคารทั่วไปที่ให้บริการ
แต่ยังมีผู้ให้บริการ Mobile
Payment รายอื่นๆ อีก เช่น
1. ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ
เช่น AIS mPay, True Money ฯลฯ
2 .บริษัทบัตรเครดิต
เช่น Payfone (อเมริกันเอ็กซ์เพรส), Pay Pass (มาสเตอร์การ์ด) ฯลฯ
3. บริษัทที่เป็นตัวกลางรับชำระ
เช่น Paypal ฯลฯ
4. ธุรกิจใหม่ที่มีการเปิดให้บริการ Mobile Payment ร่วมด้วย เช่น AirPay ของ Shopee ฯลฯ
ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในประเทศไทยยังคงเลือกใช้บริการจากธนาคารเป็นอันดับ
1 เนื่องจากมีการเก็บออมผ่านบัญชีธนาคารเป็นปกติ
ไม่ต้องเสียเวลามานั่งเติมหรือโอนย้ายเงินเข้าในบัญชีอื่นๆ นอกจากบัญชีธนาคาร
ซึ่งทางธนาคารกรุงเทพก็ได้มีการเปิดตัว Mobile Payment ใหม่ล่าสุดคือ Bualuang mBanking พร้อมฟีเจอร์ใหม่ๆ
ที่น่าสนใจและมีการใช้งานที่ทันสมัยตอบโจทย์ทุกเพศ ทุกวัย ไปเมื่อประมาณ กลางปี 2563
ที่ผ่านมา ซึ่งมีการพัฒนาในหลากหลายด้าน อาทิ
- ปรับเปลี่ยนหน้าตา โลโก้จากพื้นสีขาว เป็นพื้นสีน้ำเงิน สัญลักษณ์บัวหลวงชัดเจน ออกแบบให้ทันสมัย ใช้ง่าย
- ปลดล็อคเข้าแอปพลิเคชันได้ด้วย Face ID สแกนลายนิ้วมือและรหัส 6 ตัว
- ผูกกับแรบบิท ไลน์เพย์-เวสเทิร์นยูเนี่ยน เพื่อให้ทำธุรกรรมทางการเงินง่ายขึ้น
- สามารถ Copy เลขบัญชีมาวางได้ ไม่ต้องกดทีละตัว
- เพิ่มลดบัญชีผู้รับได้สะดวก ขึ้นรายการใช้บ่อย
- จ่ายค่าใช้จ่ายที่เป็นบิล เช่น ค่าไฟ ค่าน้ำ บัตรเครดิต
และกลุ่มบิลอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น
- มีระบบแจ้งเตือนการโอนให้กับปลายทาง
ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ประกอบกิจการ/อาชีพอะไร หรือจะอยู่ในแวดวงไหนก็ตาม คุณควรที่จะทำความรู้จักและมีบัญชีสำหรับทำ Mobile Payment อย่างน้อย 1 บัญชีติดโทรศัพท์มือถือไว้ เพราะในอนาคต Mobile Payment จะกลายมาเป็นอีกช่องทางสำคัญสำหรับทำธุรกรรมทางการเงิน เทียบเท่าหรือแทนที่เงินสดอย่างแน่นอน เชื่อว่าอีกไม่นานสังคมทั่วโลกจะกลายเป็นสังคมไร้เงินสดอย่างสมบูรณ์
สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<