อยากรู้ลูกค้าผูกพันแบรนด์แค่ไหน ให้ NPS ช่วยหาคำตอบ

SME Update
22/10/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 4998 คน
อยากรู้ลูกค้าผูกพันแบรนด์แค่ไหน ให้ NPS ช่วยหาคำตอบ
banner

Net Promoter Score (NPS) หรือดัชนีของลูกค้า ผู้ซึ่งจะแนะนำองค์กรหรือแบรนด์ของเราต่อคนรอบข้าง สามารถสะท้อนถึงความพึงพอใจ ใช้ชี้วัดข้อมูลเกี่ยวกับความความภักดีของลูกค้า (Customer Loyalty) ได้ โดยเป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่นิยมในปัจจุบัน สำหรับการวัดผลเรื่องของคุณภาพบริการต่อความผูกพันระยะยาวของลูกค้าซึ่งในสากลมีองค์กรต่างๆ ที่นำ NPS มาใช้เป็นเครื่องมือวัดผลอยู่ไม่น้อย

NPS เป็นแนวคิดที่ได้รับการพัฒนาจาก Fred Reichheld โดยบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำ Bain & Company, and Satmetrix (และได้ถูกจดเป็น Registered Trademark ไปแล้ว) โดยแนวคิดนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Harvard Business Review ในปี 2003 ในบทความชื่อ ‘The one number you need to grow’

ซึ่งค่า NPS จะสามารถทำให้องค์กรรับรู้ระดับความสามารถในการแข่งขันขององค์กรเมื่อเทียบกับคู่แข่ง หรือเทียบกับค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยได้มีการนำเครื่องมือ NPS มาใช้เพื่อการปรับปรุงสินค้าและบริการให้สามารถตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้ดีมากยิ่งขึ้น ในส่วนของวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล ส่วนใหญ่องค์กรจะส่งคำถามเกี่ยวกับ NPS ให้ลูกค้าทาง Email หรือใช้วิธีสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เป็นต้น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

หลักการคำนวณ NPS

สำหรับการสำรวจเริ่มจากการกำหนดหรือออกแบบตัววัดผลจากกลยุทธ์ขององค์กร แล้วนำหลักคิด NPS มาช่วยในการสรุปผล ส่วนการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณหาค่า NPS จะต้องมีการถามคำถามกับลูกค้าที่ว่า “ท่านจะแนะนำบริษัท/สินค้า/บริการให้กับเพื่อนหรือคนคุ้นเคยหรือไม่” และจะนำผลนั้นมาแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่

- ลูกค้าที่พึงพอใจมาก (Promoters) หรือคนที่ตอบ 9-10

- ลูกค้าที่พึงพอใจระดับปานกลาง (Passives) หรือคนที่ตอบ 7-8

- ลูกค้าที่ไม่พึงพอใจ (Detractors) หรือคนที่ตอบ 0-6

หลักการคิด NPS คือการนำ % ของลูกค้าที่พึงพอใจมาก (Promoters) ลบด้วย % ของลูกค้าที่ไม่

พึงพอใจ (Detractors)


สิ่งสำคัญของการวิเคราะห์ Promoter กับ Detractors จะเห็นได้ว่าค่าของ Promoters นั้นไม่ได้เยอะมาก ผิดกับ Detractors ที่จะมีช่วงมากกว่า นอกจากนี้แล้ว ในงานวิจัยและการศึกษานั้นมักพบว่าถ้าต้องการ หักล้าง Detractors จริงๆ นั้น องค์กรใช้ Promoters มากกว่า Detractors ถึง 5 เท่าเลยทีเดียว

ทั้งนี้องค์กรควรนำค่า NPS มาเปรียบเทียบกับคู่แข่งที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม เพื่อที่จะสามารถรู้ตำแหน่งขององค์กรได้เมื่อเทียบกับคู่แข่งอื่นๆ และค่าเฉลี่ย NPS ในแต่ละอุตสาหกรรมค่อนข้างมีความหลากหลายแตกต่างตามแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ค่าเฉลี่ย NPS ของอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคอาจจะเป็น 70 แต่ในธุรกิจการเงินค่าเฉลี่ยอาจจะอยู่ที่ 80

ดังนั้นองค์กรควรมีการกำหนดและทำการเปรียบเทียบค่า NPS ในอุตสาหกรรมที่ถูกต้องหรือใกล้เคียง หากองค์กรมีค่า NPS สูงเมื่อเทียบกับองค์กรอื่นในกลุ่มอุตสาหกรรมก็จะมีแนวโน้มที่ลูกค้าขององค์กรจะไม่เปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่น

NPS เป็นเครื่องมือที่องค์กรสามารถนำมาใช้ เพื่อเป็นการช่วยกำหนดทิศทางในการพัฒนาความสามารถในการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า และสร้างความผูกพันต่อองค์กรได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยเป็นเครื่องมือที่นำไปประยุกต์ใช้ได้ง่าย องค์กรทุกขนาดตั้งแต่ SME ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่สามารถนำไปใช้ได้ ไม่มีการใช้เทคนิคทางสถิติที่ซับซ้อนมาก แต่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้

จากการสำรวจของหลายงานวิจัยพบว่า NPS มีความสัมพันธ์กับอัตราการเจริญเติบโตของบริษัท โดยองค์กรที่มีค่า NPS สูงมักมีอัตราการเติบโตสูงกว่าบริษัทคู่แข่ง อย่างไรก็ตาม NPS นั้นไม่ได้อธิบายเหตุผลของการไม่แนะนำบริษัท/สินค้า/บริการ ให้กับเพื่อนหรือคนคุ้นเคย

ดังนั้น เพื่อให้การสำรวจมีความสมบูรณ์ขึ้นอาจเพิ่มคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่ลูกค้าชอบ หรือสิ่งที่ลูกค้าเห็นว่าควรต้องปรับปรุง เพื่อทำให้ผู้บริหารทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร รวมทั้งสามารถวางแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงสินค้า - บริการต่อไป


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1588 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
2021 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
2168 | 25/01/2024
อยากรู้ลูกค้าผูกพันแบรนด์แค่ไหน ให้ NPS ช่วยหาคำตอบ