เก็บภาษี ‘e-Service’ ดีเดย์ 1 ก.ย. นี้ มีผลอย่างไรกับภาคธุรกิจ?

SME Update
23/08/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 3024 คน
เก็บภาษี ‘e-Service’ ดีเดย์ 1 ก.ย. นี้ มีผลอย่างไรกับภาคธุรกิจ?
banner

หลังจากมีการประกาศใช้ กฎหมาย e-Service หรือภาษี e-Service ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กันยายนนี้ โดยเป็นวิธีการจัดเก็บ VAT จากผู้ให้บริการต่างประเทศ และแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการทาง Online แก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทย ที่มีรายได้จากการให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยให้อำนาจกรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บในอัตรา 7% ต่อปี ซึ่งให้เสียภาษีจาก ‘ภาษีขาย’ โดยไม่ให้นำภาษีซื้อมาหัก

โดยที่ผ่านมาผู้ประกอบการในประเทศที่ให้บริการ e-Service ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ยื่นแบบฯ และชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ขณะที่ผู้ประกอบการต่างประเทศไม่ต้องดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการเสียมูลค่าเพิ่ม เกิดความได้เปรียบ-เสียเปรียบในการทำธุรกิจ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ส่งผลให้ต้องมี ‘ทางออก’ ตามมาตรฐานสากล

ดังนั้นนานาประเทศจึงได้ร่วมกันกำหนดแนวทางแก้ปัญหานี้ ด้วยการทำตามคำแนะนำของ OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ) โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการต่างประเทศ ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแก่หน่วยงานจัดเก็บภาษี ซึ่งปัจจุบันมีประเทศที่ทำตามคำแนะนำนี้มากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก เช่น ออสเตรเลีย เบลเยียม สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สเปน สิงคโปร์ เป็นต้น

 

ภาษีนี้..มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจใดบ้าง?

ได้แก่ผู้ประกอบการที่ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ อาทิเช่น บริการดาวน์โหลด หนัง/ภาพยนตร์ เพลง เกม สติกเกอร์ สื่อโฆษณา เป็นต้น และแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการในไทย เช่น Apple, Google, Facebook, Netflix, Line, YouTube, TikTok ซึ่งมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี

 

‘กรมสรรพากร’ มีหน้าที่อย่างไรบ้าง?

- ด้านกฎหมาย : กรมสรรพากรได้ดำเนินการแก้ไขประมวลรัษฎากรตามแนวทางของ OECD (ฉบับที่…) พ.ศ. (การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ e-Service) โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการจากต่างประเทศที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มยื่นแบบแสดงรายการ ภายใต้ระบบ pay-only (ห้ามหักภาษีซื้อ) ไม่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและรายงานภาษีซื้อ

- ด้านระบบอำนวยความสะดวกและการให้บริการ : กรมสรรพากรได้พัฒนาระบบ Simplified VAT System for e-Service (SVE) เป็นระบบการจดทะเบียน การยื่นแบบฯ และการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ Best Practice ของต่างประเทศ โดยสามารถดำเนินการได้ที่ www.rd.go.th เว็บไซต์ของกรมสรรพากร

- การตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมาย

O สามารถเรียกเชิญพบหรือออกหมายไปยังผู้ประกอบการเพื่อตรวจสอบและประเมินเรียกเก็บภาษี

O ออกหมายเรียกพยานผู้เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันการเงินต่างๆ เพื่อขอข้อมูลการทำธุรกรรมผ่านสถาบันการเงิน

O การแสดงรายชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ทำให้ผู้บริการอื่นๆ สามารถตรวจสอบได้

นอกจากนี้กรมสรรพากรยังได้ร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีระหว่างประเทศด้วย เช่น การเข้าภาคีความตกลง Multilateral convention on Mutual Administrative Assistance in Tax (MAC) ซึ่งมีบทบัญญัติครอบคลุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลทุกรูปแบบ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติระหว่างประเทศด้วย

 

ข้อดี ภาษี ‘e-Service’

- สร้างความเป็นธรรมในการเสียภาษีระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้ประกอบการจากต่างประเทศ

- ช่วยปิดช่องโหว่ของกฎหมาย โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการที่ให้บริการ e-Service ต่างประเทศ ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแบบฯ และนำส่งภาษี เช่นเดียวกับผู้ประกอบการในประเทศ

- ยกระดับการบริหารจัดเก็บภาษีในไทย สอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกและรูปแบบการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน

- สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศ ปีละประมาณ 5,000 ล้านบาท

 

ทำไมทุกประเทศอยากเก็บ "ภาษีธุรกิจบริการดิจิทัล"

ธนาคารโลก (World Bank) ได้เปิดเผยข้อมูลว่า ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา "เศรษฐกิจดิจิทัล" มีสัดส่วนกว่า 15.5% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมทั่วโลก (GDP) และเติบโตรวดเร็วกว่าจีดีพีโลกถึง 2.5 เท่า จึงเป็นผลให้ในปี 2561 คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เสนอพิจารณาการจัดเก็บภาษีธุรกิจบริการดิจิทัล (Digital Service Tax : DST) อัตรา 3% ของรายได้ที่มาจากการให้บริการโฆษณาออนไลน์ รายรับหรือรายได้ที่มาจากกิจกรรมการเป็นตัวกลางทางดิจิทัล และยอดขายของข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมของผู้ใช้ เพื่อสร้างความเท่าเทียมสำหรับผู้ประกอบการและนำรายได้จากภาษีไปพัฒนาประเทศต่อไป

 

Facebook และ Google เอาด้วย! ซื้อโฆษณาต้องจ่าย VAT 7%

ข่าวล่าสุดสำหรับคนทำธุรกิจที่ต้องยิงแอดโฆษณาเฟซบุ๊กและกูเกิล ต้องจ่ายเงินค่าภาษีเพิ่ม 7% เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 64 เป็นต้นไป หมายความว่า ต้นทุนของธุรรกิจจะเพิ่มขึ้น 7% ทันที การบริการงบประมาณทำการตลาดจะต้องคิดให้มากขึ้น เช่น ยิงแอดโฆษณา 10,000 บาท แต่เดิมจ่าย 10,000 บาท แต่พอมี Vat 7% เพิ่มเข้ามา ธุรกิจต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 700 บาท เป็น 10,700 บาทนั่นเอง

หากธุรกิจจำเป็นต้องซื้อแอดโฆษณา Facebook หรือ Google ควรทำอย่างไร?

1. เพิ่มรายได้ด้วยการขายสินค้าเป็นแพ็กเกจ

โดยเวลาธุรกิจของคุณยิงแอดโฆษณา ไม่ควรขายของชิ้นเดียว ให้นำเสนอสินค้าแบบเป็นแพ็กเกจ เป็นโปรโมชั่นกระตุ้นลูกค้า เช่น 1 ชิ้น 500 บาท แต่ซื้อ 2 ชิ้นลดให้ 300 บาท กำไรอาจลดลง แต่รายได้ต่อครั้งเพิ่มขึ้น

2. คิดต้นทุนส่วนนี้เข้าไปด้วย

นำไปบวกกับต้นทุนการขายสินค้าเดิม เช่น ค่าสินค้า ค่าขนส่ง ค่ากล่อง ค่าแพ็ก ค่ายิงแอดโฆษณาต่างๆ แล้วรวมภาษี Vat 7% เข้าไปด้วย

3. ลดต้นทุนด้วยการโฆษณาแพลตฟอร์มอื่นๆ

เพราะลูกค้าของคุณยังกระจายอยู่ตัวในแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น LINE, TikTok, YouTube ดังนั้นลองหันมีโฆษณาในแพลตฟอร์มเหล่านี้ เพื่อลดต้นทุน หาลูกค้าใหม่ๆ เพิ่มเติม

4. รักษาลูกค้าเก่าไว้ให้ได้

โดยส่วนใหญ่ธุรกิจในบ้านเรามักมีรายได้หลักมาจากลูกค้าเก่า ซึ่งถือเป็นแหล่งรายได้สำคัญ แม้การหาลูกค้าใหม่เป็นสิ่งที่ดี แต่การรักษาลูกค้าเก่าคือสิ่งที่จำเป็นมากกว่า ดังนั้นจึงควรหากลยุทธ์รักษาฐานลูกค้าเก่าให้ภักดีต่อแบรนด์ของเราให้ได้

 

แหล่งอ้างอิง :

https://www.bangkokbiznews.com/

https://www.prachachat.net/

https://www.khaosod.co.th/

https://www.rd.go.th/

https://www.thairath.co.th/

https://news.bloombergtax.com/

https://taxfoundation.org/

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1364 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1739 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1951 | 25/01/2024
เก็บภาษี ‘e-Service’ ดีเดย์ 1 ก.ย. นี้ มีผลอย่างไรกับภาคธุรกิจ?