ทำความเข้าใจ ‘ภาษี e-Service’ ติดปีกธุรกิจไทยแข่งขันอย่างเป็นธรรม

SME Update
22/09/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 5321 คน
ทำความเข้าใจ ‘ภาษี e-Service’ ติดปีกธุรกิจไทยแข่งขันอย่างเป็นธรรม
banner

กฎหมาย e-Service หรือภาษี e-Service คือ การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-Service) และอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต่างๆ โดยถ้ามียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องนำส่ง VAT ให้กรมสรรพากร ซึ่งปัจจุบันคิดอัตรา 7% ของราคาค่าบริการ


โดยประเทศไทยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย กับกฎหมายการจัดเก็บภาษี e-Service


ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

 

ทำไม? ต้องจัดเก็บภาษี e-Service 


เหตุผลหลักๆ คือเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการไทย กับผู้ประกอบการจากต่างประเทศนั่นเอง เพราะโดยปกติแล้วเมื่อทำธุรกิจ ผู้ประกอบการไทยต้องยื่นภาษีชำระ VAT 7% ให้กรมสรรพากรมาโดยตลอด แต่ผู้ประกอบการจากต่างประเทศที่มีรายได้ในประเทศไทยกลับไม่ต้องเสียภาษี VAT เลย เนื่องจากกฎหมายเดิมไม่ได้ครอบคลุมถึง 


ดังนั้น กฎหมาย e-Service จึงออกมาช่วยปิดช่องโหว่ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างชาติ และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งกรมสรรพากรคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2565


และไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้นที่มีการจัดเก็บภาษี e-Service แต่กว่า 60 ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน เป็นต้น ก็ได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต่างประเทศจดทะเบียน และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่หน่วยงานจัดเก็บภาษีของประเทศนั้นๆ 

 

 

5 กลุ่มธุรกิจที่ต้องเสียภาษี e-Service


1. ธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับขายของออนไลน์ (อีคอมเมิร์ซ) เช่น Amazon, Ebay

2. ธุรกิจให้บริการจองโรงแรมที่พักและการเดินทาง เช่น Agoda, Airbnb, Booking.com

3. ธุรกิจให้บริการโฆษณาออนไลน์ เช่น Facebook, YouTube, Google

4. ธุรกิจให้บริการเป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย เช่น Grab, Uber

5. ธุรกิจให้บริการสมาชิกดูหนังฟังเพลงออนไลน์ เกม และแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น Netflix, Spotify, Zoom

 

 

ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง?


หากเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียน VAT อยู่แล้ว เช่น พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเป็นบริษัทที่จดทะเบียน VAT เพื่อเสียภาษีทุกเดือนอยู่แล้ว หากใช้บริการแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ต้องแจ้งหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี VAT ให้แพลตฟอร์มจากต่างประเทศทราบด้วยว่า เราเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียน VAT อยู่แล้ว เพื่อที่ทางแพลตฟอร์มจะได้ไม่ชาร์จ VAT เพิ่ม จากนั้นจึงค่อยไปยื่นแบบ ภ.พ.36 เพื่อจ่ายภาษี VAT เอง ซึ่งสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรมาหักเป็นภาษีซื้อได้เช่นเดิม แต่ผู้ประกอบการที่เสียภาษี e-Service จะไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี และไม่สามารถนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขายได้


สำหรับผู้ใช้บริการไม่ได้จดทะเบียน VAT ซึ่งจะไม่ได้เสียภาษี e-Service โดยตรง เพราะเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการต่างประเทศ แต่ก็อาจจะได้จ่ายภาษีทางอ้อม เนื่องจากต้นทุนของประกอบการสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการบางรายมาเรียกเก็บ VAT 7% จากผู้บริโภคแทน


ดังนั้น หากใช้บริการแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขายสินค้า จองห้องพัก จองตั๋วเครื่องบิน ดูหนัง ฟังเพลง ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ดาวน์โหลดเกม ก็มีโอกาสต้องจ่ายค่าบริการ ค่าสินค้าแพงขึ้นอีก 7% เช่น ปกติเคยซื้อโฆษณา Google Ads 1,000 บาท อาจต้องจ่ายเพิ่มเป็น 1,070 บาท เป็นต้น



อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้ประกอบการต่างประเทศด้วยว่าจะบวก VAT 7% เพิ่มจากค่าสินค้าและบริการหรือไม่ หรือจะดำเนินการอย่างไรกับต้นทุนที่เพิ่มมาส่วนนี้ เพราะถ้ามีผู้ให้บริการรายหนึ่งตัดสินใจชาร์จ VAT จากลูกค้า ในขณะที่คู่แข่งยังตรึงราคาเดิม ผู้ให้บริการที่ปรับราคาขึ้นก็อาจเสียลูกค้าไปได้เหมือนกัน

 

 

แหล่งอ้างอิง : กรมสรรพากร

https://www.rd.go.th/

https://www.prd.go.th/

https://www.pptvhd36.com/

 

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
pin
9 | 17/04/2025
สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
pin
9 | 16/04/2025
ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

Topic Summary: นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อการค้าโลก มาดูกันว่าเหตุการณ์นี้กระทบ…
pin
11 | 11/04/2025
ทำความเข้าใจ ‘ภาษี e-Service’ ติดปีกธุรกิจไทยแข่งขันอย่างเป็นธรรม