เมืองใหม่ EEC : Smart City ที่ท้าทาย SME

SME Update
28/01/2018
รับชมแล้วทั้งหมด 1383 คน
เมืองใหม่ EEC : Smart City ที่ท้าทาย SME
banner
โครงการก่อสร้างเมืองใหม่ในเขต EEC ถูกกำหนดในพื้นที่คือ เมืองใหม่พัทยา เมืองใหม่อู่ตะเภา เมืองใหม่ระยอง และเมืองใหม่ฉะเชิงเทรา ตั้งเป้าให้เป็นพื้นที่พักอาศัยทันสมัย ตอบสนองไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ ทั้งสามารถเชื่อมโยงคมนาคมโดยสะดวก กำหนดให้มีสาธารณูปโภคพื้นฐานครบวงจรอยู่ภายใน

แม้ว่าโครงการเมืองใหม่ EEC จะยังอยู่ระหว่างดำเนินการระยะต้น แต่ก็พอมองเห็นภาพว่าเมืองใหม่ดังกล่าวจะต้องทันสมัย อย่างน้อยจะต้องสูงกว่ามาตรฐานของเมืองต่างๆ ที่มีอยู่เดิม อีกทั้งยังต้องแข่งกับการพัฒนาเมืองใหม่ของเขตเศรษฐกิจในประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นคู่แข่ง ยุคนี้เป็นยุคที่แนวความคิด เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ซึ่งกำลังเป็นกระแสของโลกยุค Urbanization

เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ไม่ใช่แค่ทันสมัยเฉพาะเทคโนโลยี หากยังรวมเอาความก้าวหน้าทั้งหลายแหล่ผสมกันเข้าเพื่อให้คุณภาพชีวิตของคนในเมืองสะดวกสบาย ปลอดภัยพร้อมๆ กับทำเงินสร้างรายได้  รายงานของแบงก์ออฟอเมริกา เมอร์ลิน ลินช์  (BofAML) ประเมินว่า ตลาดที่เกี่ยวข้องกับเมืองอัจฉริยะจะเติบโตขึ้นสูงถึง 1.3-1.6 ล้านล้าน (Trillion) ดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2020 กระแสนี้มาแรงมากขนาดที่มีการจัดเอ็กซ์โปใหญ่ๆ นำเสนอสินค้าและแนวคิดของเมืองอัจฉริยะ เช่นงาน Smart City World Expo Congress จัดโดย คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้รับความสนใจสูงมากมีผู้เข้าร่วมจากทั่วโลก

นั่นก็เพราะว่าโลกทั้งใบกำลังแข่งกันพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Smart City ที่มีอยู่แล้ว ก็พยายามยกระดับ ทั้งยังมีโครงการใหญ่ที่เป็นอภิมหาโครงการมากมาย ทั้งในตะวันออกกลางและเอเชีย ที่มีการสร้างเมืองใหม่ขึ้นมาจากพื้นที่เปล่าๆ อย่างเช่นโครงการถมทะเล Forest City Iskandar Malaysia เนรมิตเมืองใหม่อัจฉริยะไม่แพ้ดูไบขึ้นเพื่อแข่งกับสิงคโปร์ ภาพจำลองของ Forest City เต็มไปด้วยสีเขียวของต้นไม้และสวนสาธารณะ เพราะสภาพแวดล้อมถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ของคุณภาพชีวิตในเมืองอัจฉริยะ

ซึ่งนี่ก็เป็นเรื่องใหม่ที่ท้าทายของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การพัฒนาเมืองในอดีตเน้นสาธารณูปโภค ถนนหนทางมีไฟฟ้า  น้ำประปา ตึกรามและรถยนต์ เป็นสำคัญ แต่ในทางกลับกันก็ให้น้ำหนักคนเดินถนน ต้นไม้สีเขียว การพักผ่อน ระยะเวลาในการเดินทางที่สั้นและสะดวกปลอดภัยน้อยลง ขณะที่แนวความคิดใหม่ของเมืองอัจฉริยะบังคับให้ออกแบบเมืองให้ตอบสนองคุณภาพชีวิต ความปลอดภัยและความสมดุลมากขึ้น – หากว่าเมืองใหม่ที่จะสร้างขึ้นต้องการแข่งขันกับเมืองอัจฉริยะใหม่ๆ ของประเทศเพื่อนบ้าน ย่อมต้องให้น้ำหนักในการออกแบบด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตไม่น้อยกว่าด้านอื่น

แบงก์ออฟอเมริกา เมอร์ลิน ลินช์  จำแนกคุณลักษณะของเมืองอัจฉริยะไว้ 6 ด้านคือ  (1) ด้านสาธารณูปโภค Smart Infrastructure; (2) ด้านสถาปัตยกรรมก่อสร้าง Smart Buildings  (3) ด้านคุณภาพการพักอาศัย Smart Homes  (4) ด้านความปลอดภัย Smart Safety & Security (5) ด้านประหยัดและใช้พลังงาน Smart Energy และ (6) ด้านการเดินทาง เชื่อมโยงระหว่างกัน Smart Mobility

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและปัญญาอัจฉริยะ แนวความคิดใหม่ๆ IoT- Internet of things, Start Up เป็นสิ่งที่เคลื่อนไปข้างหน้าเรื่อยๆ มีการประดิษฐ์คิดค้นใหม่ๆ ออกมาเสมอ

และนั่นคือความท้าทายของเมืองใหม่อัจฉริยะสำหรับทั้งผู้ออกแบบ ผู้บริหารจัดการระบบต่างๆ ผู้อยู่อาศัย ตลอดจนผู้ประกอบการรายเล็กและรายย่อย

เมืองใหม่ โดยเฉพาะเมืองที่ตั้งเป้าจะเป็น Smart City จึงไม่ได้เป็นแค่โอกาสของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ เจ้าของระบบอินเตอร์เน็ตรายใหญ่ ฯลฯ เท่านั้น หากยังเป็นโอกาสของคนเล็กคนน้อย กิจการขนาดกลางและย่อมที่มีหนทางเปิดกว้างอย่างถึงที่สุด

มีกรณีศึกษายุคใหม่มากมาย บ่งชี้ว่า SMEs ยุคใหม่ที่เป็น IoT startups  มีพลังเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค ไปจนถึงเปลี่ยนภูมิทัศน์ของตลาด เช่นเทคโนโลยีแจ้งเตือนให้รถบริการเก็บขยะมาเก็บเมื่อถังเต็ม เชื่อมโยงอัตโนมัติครบวงจร ตัวอย่างกิจการชื่อดังของกลุ่มนี้คือระบบจัดการ Bigbelly และ Zerocycle , ด้านการจราจรขนส่งเช่น เทคโนโลยีแจ้งที่จอดรถว่าง ซึ่งในประเทศไทยอาจจะได้เห็นมาแล้ว แต่ที่ไปไกลกว่านั้นคือระบบที่ประมวลทางเลือกในการเดินทางไปยังจุดหมายครบวงจร คือ จะรู้ว่าเส้นทางใดมีสภาพปัญหาอย่างไรในวินาทีนั้น แล้วจะเสนอทางเลือกในการเดินทางที่ดีที่สุดมาให้ แบบที่มหานครบาเซโลน่าใช้ระบบ Citymapper  เป็นต้น

เมืองใหม่ EEC เป็นความท้าทายที่น่าสนใจมากสำหรับนักพัฒนาเมืองยุคใหม่ เพราะเป็นการสร้างขึ้นมาจากที่ดินเปล่าเริ่มต้นจากศูนย์ ออกแบบโครงสร้าง ผังเมืองใหม่แต่แรก ซึ่งต่างจากโครงการพัฒนา Smart City เป็นย่านหรือโซน ที่จะยกระดับเมืองหรือย่านชุมชนเดิมให้กลายเป็นเมืองใหม่อัจฉริยะที่หลายหน่วยงานในรัฐบาลกำลังผลักดัน

รัฐบาลคาดการณ์ว่าเมืองใหม่ EEC จะดึงดูดผู้คนทั้งในและนอกประเทศให้เข้าไปอาศัยเพิ่มจากเดิม 5 เท่าภายใน 10 ปี จากประมาณ 2.4 ล้านคนเป็น 13.5 ล้านคน ซึ่งขนาดของประชากรระดับนี้เทียบเท่ามหานครใหญ่ของโลกได้ แน่นอนที่สุด สิ่งที่จะตามคนใหม่ๆ เข้ามา ก็คือ อาชีพใหม่ๆ และวิถีชีวิต ไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ เป็นโอกาสของการคิดค้น สร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ พร้อมกันไป .

คลิกอ่านเพิ่มเติม :

*การประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการพัฒนาเมือง New City ในพื้นที่ EEC -http://www.eeco.or.th/sites/default/files/New_City.pdf

*21st Century Cities: Global Smart Cities Primer


* SME Instrument takes you to Smart City World Expo Congress https://ec.europa.eu/easme/en/news/sme-instrument-brings-you-smart-city-world-expo-congress

 


 

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
pin
12 | 17/04/2025
สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
pin
12 | 16/04/2025
ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

Topic Summary: นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อการค้าโลก มาดูกันว่าเหตุการณ์นี้กระทบ…
pin
14 | 11/04/2025
เมืองใหม่ EEC : Smart City ที่ท้าทาย SME