EU ต้นแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ

SME Update
07/10/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2858 คน
EU ต้นแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ
banner

เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) หมายถึง การผลิตทรัพยากรชีวภาพ หมุนเวียน (renewable biological resources) และเปลี่ยนทรัพยากรหมุนเวียนให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม เช่น อาหารคน อาหารสัตว์ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพ ฯลฯ เศรษฐกิจชีวภาพครอบคลุมตั้งแต่ภาคเกษตรกรรม ป่า ไม้ประมงและสัตว์น้ำ อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ไม้และเครื่องเรือน กระดาษ ไปจนถึงอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากชีวภาพ และพลังงานชีวภาพ

กรณีของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งได้กำหนดกลยุทธ์เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy strategy) เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2555 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนและต่อสู้กับความท้าทายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ปัญหาดินและระบบนิเวศเสื่อมโทรม รวมทั้งความต้องการอาหาร และพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเศรษฐกิจชีวภาพจะช่วยลดการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติด้วยนวัตกรรมการผลิต ประกอบกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน นอกจากนี้การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพได้ส่งผลให้เกิดการเสริมสร้างอุตสาหกรรมใหม่ๆ ใน EU รวมทั้งเพิ่มโอกาสการจ้างงาน เพื่อส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม

ในปี 2558 ภาคเศรษฐกิจชีวภาพของ EU มีการจ้างงานทั้งหมด 18 ล้านคน มีผลประกอบการประมาณ 2.3 ล้านล้านยูโร และสร้างมูลค่าเพิ่มปีละ 621,000 ล้านยูโร เมื่อเดือนตุลาคม 2561 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ปรับปรุงกลยุทธ์เศรษฐกิจชีวภาพใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเร่งรัด (European policy priorities) และข้อผูกพันระดับนานาชาติไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) หรือความร่วมมือในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement)

โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้ผนวกเป้าหมายความยั่งยืน (sustainability) และการหมุนเวียน (circularity) เป็นหัวใจของกลยุทธ์เศรษฐกิจชีวภาพใหม่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน รวมทั้งให้ความสำคัญกับภาคเกษตรกรรม ป่าไม้ประมง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


จัดทำพิมพ์เขียวผลักดัน EU สู่ Bioeconomy

ทั้งนี้ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหภาพ ออกรายงานฉบับที่ 10/2562  แผนปฏิบัติการ 3 ด้านที่จะนำพา EU ไปสู่เศรษฐกิจชีวภาพแบบหมุนเวียนและยั่งยืนเสริมสร้างความแข็งแกร่งและการเติบโตของอุตสาหกรรมชีวภาพ ทั้งสนับสนุนการวิจัยและการน้าวิธีแก้ไขปัญหาทางชีวภาพมาใช้ โดย EU ให้เงินอุดหนุนโครงการวิจัยผ่านกองทุน Horizon 2020 โดยกำหนดงบประมาณ 100 ล้านยูโร ผ่าน Circular Bioeconomy Thematic Investment Platform เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของภาคเอกชนสำหรับการลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมชีวภาพ อาทิเช่น การพัฒนามาตรฐานหรือฉลากผลิตภัณฑ์ชีวภาพให้เป็นที่รู้จัก และส่งเสริมให้ตลาดน้าผลิตภัณฑ์ชีวภาพไปใช้เพิ่มมากขึ้น  ทั้งสนับสนุนการจัดตั้งโรงกลั่นชีวภาพที่ยั่งยืนในยุโรป พัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่สามารถใช้แทนพลาสติก เพื่อลดมลภาวะและปัญหาขยะพลาสติกในท้องทะเล โดยการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจชีวภาพทั่วยุโรป นำระบบการผลิตอาหาร การทำฟาร์ม ป่าไม้และการผลิตสินค้าชีวภาพอย่างยั่งยืน พัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพทั้งในชนบท ตามชายฝั่งและในเมือง โดยการช่วยเหลือประเทศสมาชิกฯ และภูมิภาคในการพัฒนาและดำเนินการตามกลยุทธ์เศรษฐกิจชีวภาพ

ทั้งมีการจัดทำข้อจำกัดด้านระบบนิเวศของเศรษฐกิจชีวภาพ เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจชีวภาพและระบบนิเวศ ติดตามการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ สนับสนุนแนวทางปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ ชีวภาพ ภายใต้ข้อจ้ากัดของระบบนิเวศ

ผนวกระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงเข้ากับการผลิตสินค้าเกษตรขั้นต้น (เช่น การท้าเกษตรเชิงนิเวศ เพิ่มการถ่ายระอองเรณูของผึ้ง) อันจะก่อให้เกิดผลดีต่อการผลิตอาหาร และสัตว์น้ำ เนื่องจากเป็นทรัพยากรขั้นต้นที่สามารถใช้เป็นอาหาร ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ผลิตพลังงาน และบริการอื่น ๆ

เป้าหมายของกลยุทธ์เศรษฐกิจชีวภาพใหม่ มีดังนี้

(1) รับรองความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ โดยเร่งปรับปรุงระบบการผลิตอาหาร และการจัดการฟาร์มไปสู่ทิศทางที่ยั่งยืน ซึ่งพิจารณาถึงสุขภาพ โภชนาการ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และรู้จักนำของเสียหรือของเหลือใช้มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์

(2) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ฟื้นฟูและพัฒนาระบบนิเวศน์ให้อุดมสมบูรณ์ เพื่อประโยชน์ต่อความมั่นคงทางอาหารและน้ำ ลดผลกระทบต่อโลกร้อนและปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ

(3) ลดการพึ่งพาทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปหรือไม่ยั่งยืน สนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งจะช่วยให้ EU บรรลุเป้าหมายที่กำหนดด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ นอกจากนี้ EU ต้องเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การนำขยะอินทรีย์หรือของเหลือใช้จากภาคเกษตรไป พัฒนากลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม (พลาสติกชีวภาพ เส้นใยชีวภาพ ฯลฯ)

(4) ลดผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจชีวภาพแบบหมุนเวียนและยั่งยืนจะช่วยให้ EU ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ รวมทั้งยังเป็นผลจากการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าขั้นต้นอย่างยั่งยืน และการเพิ่มขีดความสามารถของระบบนิเวศน์ในการท้าหน้าที่เป็นแหล่งดูดซับคาร์บอน

(5) เสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและเพิ่มการจ้างงานในยุโรป การเติบโตของเศรษฐกิจชีวภาพจะเป็นโอกาสเพิ่มการจ้างงานในระดับภูมิภาค พัฒนาเศรษฐกิจและเชื่อมโยงชนบทหรือพื้นที่ห่างไกล นอกจากนี้การเติบโตของเศรษฐกิจชีวภาพจะสร้างรายได้ที่สำคัญให้แก่เกษตรกร รวมทั้งเสริมสร้างเศรษฐกิจในชนบทจากการหลั่งไหลของการลงทุนด้านต่าง ๆ

 

ต้นแบบความสำเร็จ

ตัวอย่างโครงการวิจัยและนวัตกรรมเศรษฐกิจชีวภาพที่ยั่งยืนใน EU AgriChemWhey : โรงกลั่นชีวภาพในประเทศไอร์แลนด์ที่ใช้ของเหลือจากอุตสาหกรรมนม ได้แก่ excess whey permeate, delactosed whey permeate เปลี่ยนเป็นกรดแลคติกที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตสินค้าชีวภาพอย่าง พลาสติกชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ หรืออาหารเสริมแร่ธาตุสำหรับคน จึงเป็นโครงการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดของเสียและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่จากการใช้ทรัพยากรเท่าเดิม

ECO - FCE : โครงการในประเทศอังกฤษที่ช่วยเกษตรกรพัฒนาการใช้อาหารของสัตว์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากฟาร์มสุกรและไก่

Exilva : โครงการในประเทศนอร์เวย์ที่สกัด Microfibrillated celluose จากเยื่อเซลลูโลส สามารถน้าไปใช้เป็นสารเติมแต่งในอุตสาหกรรมผลิตกาว สีสารเคลือบผิว เครื่องสำอางไปจนถึง ซีเมนต์เพื่อเพิ่มความหนืดและความคงตัว ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติจากป่าไม้ในสแกนดิเนเวีย 100% เป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่นำไปสู่การพัฒนาสินค้าใหม่ที่ทดแทนการใช้เคมีภัณฑ์จากเชื้อเพลิงฟอสซิล

Res Urbis : โรงกลั่นชีวภาพในประเทศอิตาลีที่ใช้ชีวมวลจากขยะอินทรีย์ ที่มาจากครัวเรือน ร้านอาหาร ร้านค้า น้ำเสียจากในเมืองหรือโรงงานแปรรูปอาหาร เพื่อแปรเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เช่น ฟิลม์ชีวภาพ พลาสติกชีวภาพ เป็นต้น

เศรษฐกิจชีวภาพมีความสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดินและระบบนิเวศที่เสื่อมโทรม เพิ่มการผลิตอาหาร พลังงาน วัตถุดิบหรือสินค้าต่าง ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้หรือบริโภคที่เพิ่มขึ้น ลดการพึ่งพาทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป และรู้จักนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า

นอกจากนี้เศรษฐกิจชีวภาพแบบหมุนเวียนและยั่งยืนจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่จากทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น โดยอาศัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีนวัตกรรม ผสมผสานกับความรู้ด้านฟิสิกส์ดิจิตอลและชีวภาพ การขยายตัวของเศรษฐกิจชีวภาพสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเมืองใหญ่หรือพื้นที่ห่างไกล โดยควรเปิดโอกาสให้กับทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจชีวภาพผ่านการพัฒนาด้านการศึกษา ฝึกอบรม และให้ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจชีวภาพ สนับสนุนการวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริง  


ขณะเดียวกัน การเติบโตของเศรษฐกิจชีวภาพต้องคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน ในขณะที่ประเทศไทยการกระแสของเศรษฐกิจชีวภาพยังเป็นที่กล่าวถึงในวงจำกัด แต่เชื่อแน่ว่าเทรนด์นี้จะเกิดขึ้นกว้างขวางและรวดเร็วจนผู้ประกอบการบางรายอาจปรับตัวไม่ทัน เพราะเทรนด์การค้าจะเปลี่ยนที่สำคัญยุโรปเป็นตลาดส่งออกที่มีศักยภาพและมีมูลค่าสูงของผู้ส่งออกไทย ด้วยเหตุนี้จะมองข้ามเทรนด์เศรษฐกิจชีวภาพไม่ได้อย่างเด็ดขาด 

อ้างอิง : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

            :Thaieurope.net 

เกาะกระแสการแอนตี้พลาสติกและโอกาสของ SMEs

3 กลุ่มเกษตรรับอานิสงส์สงครามการค้า


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1243 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1616 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1887 | 25/01/2024
EU ต้นแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ