ส่องโอกาส ‘สิ่งทอ-เครื่องนุ่งห่ม’ผลกระทบสงครามการค้า

SME Update
20/06/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 5976 คน
ส่องโอกาส ‘สิ่งทอ-เครื่องนุ่งห่ม’ผลกระทบสงครามการค้า
banner

ตลาดการผลิตเครื่องนุ่งห่มทั่วโลก มีมูลค่า 900.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ(27.9 ล้านล้านบาท) ในปี 2561 และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 6  ในปี 2562 โดยในอดีตที่ผ่านมา ตลาดการผลิตเครื่องนุ่งห่มทั่วโลกมีการเติบโตสูง โดยได้รับอานิสงส์จากการค้าที่เอื้อประโยชน์ต่อกัน

จีนเป็นผู้ส่งออกสิ่งทอชั้นนำของโลก มีสัดส่วนร้อยละ 40 ของการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของโลก โดยอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของจีน มีโรงงานประมาณ 24,000 แห่ง มีกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่มากที่สุด ประกอบด้วยฝ้าย เส้นใยสังเคราะห์ และผ้าไหม

อุตสาหกรรมสิ่งทอของจีน ร้อยละ 41 ของสินค้าที่ผลิตในจีนจะจำหน่ายภายในประเทศ ที่เหลือจะส่งออกไปประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด (ร้อยละ 16)  

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


เริ่มสงความการค้าสิ่งทอ

ขณะที่ช่วงกลางปีที่ผ่านมาหน่วยงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ได้ประกาศคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะขึ้นภาษีนำเข้าใหม่ร้อยละ 10 มูลค่า 200 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จากจีน ซึ่งรวมรายการสินค้าผู้บริโภคกว่า 6,000 ชนิด เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องสำอาง เครื่องหนัง และสบู่

ทั้งนี้ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน คาดว่าจะมีผลกระทบต่อผู้ค้าปลีกและเจ้าของแบรนด์ของสหรัฐฯ เพราะภาษีอัตราใหม่จะทำให้ราคาสินค้าผู้บริโภคในสหรัฐฯ สูงขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของแบรนด์และผู้ค้าปลีกของสหรัฐฯ กังวลมาหลายเดือนแล้ว บริษัทต่าง ๆ กว่า 100 แห่ง เช่น Nike และ Walmart ได้เรียกร้องให้ประธานาธิบดี Trump ยกเลิกภาษีนำเข้าอัตราใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากจีน เพราะจะกระทบต่อผู้บริโภคและธุรกิจของสหรัฐฯ จากราคาที่สูงขึ้น ในขณะที่ไม่มีผลต่อท่าทีของจีนที่มีต่อทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม การที่ลูกค้าหันจากจีนไปยังประเทศอื่น ๆ อาจทำให้อุตสาหกรรมของโลกสูญเสียประโยชน์และโอกาสที่อุตสาหกรรมจีนยังคงมีอยู่ประโยชน์ เช่น โครงสร้างพื้นฐานการผลิตที่พัฒนาแล้วอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมของจีนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมของต่างประเทศจะหมดไป เมื่อผู้ค้าปลีกจะย้ายไปยังประเทศผู้ผลิตอื่นที่เล็กกว่าและพัฒนาน้อยกว่า

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 สหรัฐฯ ได้เรียกเก็บภาษีที่ชายแดนในอัตราร้อยละ 25 สำหรับสินค้านำเข้าจากจีนมาสหรัฐฯ ที่มีมูลค่า 34 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และจีนตอบโต้นโยบายดังกล่าว โดยเรียกเก็บภาษีร้อยละ 25 สำหรับสินค้านำเข้าของจีนจากสหรัฐฯ ที่มีมูลค่า 34 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เช่น ถั่วเหลือง ใยฝ้าย ลอบสเตอร์ และรถยนต์

เหตุผลของการที่สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีร้อยละ 25 สำหรับสินค้าจากจีน เช่น โทรทัศน์จอแบน เครื่องมือแพทย์ และชิ้นส่วนเครื่องบิน เป็นต้น ก็เพื่อลงโทษจีนสำหรับนโยบายการค้าของจีน โดยสหรัฐฯ กล่าวหาจีนว่า บังคับให้ธุรกิจต่างชาติต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่บริษัทจีน เพื่อแลกเปลี่ยนกับการเข้าถึงตลาดในจีน และกระทำโจรกรรมไซเบอร์เพื่อให้ได้ความลับทางการค้า ในขณะเดียวกัน จีนก็กล่าวหาสหรัฐฯ ว่าเริ่มสงครามการค้าที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

มาตรการดังกล่าวเป็นรอบแรกของภาษีที่ทั้งสองประเทศเรียกเก็บ สหรัฐฯ คาดว่าจะเรียกเก็บภาษีที่พรมแดนมูลค่าอีก 16 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ กับสินค้าของจีน ตามด้วยภาษี (ร้อยละ 10) มูลค่าอีก 200 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ กับสินค้าของจีน เช่น ฝ้าย เส้นด้ายฝ้าย เส้นใยฝ้าย เป็นต้น

สกัดนโยบาย ‘Made in China’

ประเด็นนี้ คาดกันว่าสหรัฐฯ กำลังมุ่งเป้าไปที่สินค้าเทคโนโลยีสูงของจีน ซึ่งจะสร้างแรงกดดันให้กับนโยบาย “Made in China 2025” ของรัฐบาลจีน ในขณะที่จีนก็เน้นการเรียกเก็บภาษีกับสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งกลางเทอมในปี 2018 ของรัฐบาล Trump ซึ่งสหรัฐฯ อ้างว่าเป็นก้าวที่จะนำไปสู่การนำอุตสาหกรรมการผลิตและงานกลับมายังสหรัฐฯ และลดการขาดดุลการค้า

มาตรการดังกล่าวจะกระทบต่อชนชั้นกลางชาวอเมริกัน เพราะในขณะที่จีนนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มูลค่าเพียงประมาณ 200 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ  แต่สหรัฐฯ ต้องพึ่งสินค้าจากจีนอย่างมหาศาล ซึ่งการลดช่องว่างดังกล่าวที่เกิดจากการเรียกเก็บภาษี ไม่เพียงแต่จะทำให้ราคาสูงขึ้นในตลาดสหรัฐฯ แต่ยังทำให้ภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ยากที่จะตอบสนองต่อความต้องการได้มากขึ้น

ทั้งบริษัทที่มีห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกจะถูกกระทบ เพราะสงครามการค้าดังกล่าวจะก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการค้าเสรีระหว่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของสินค้า ราคาของผลิตภัณฑ์พื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สมาร์ทโฟน อิเล็กทรอนิกส์ ของเล่น และเสื้อผ้า จะสูงขึ้นสำหรับผู้บริโภคทั่วโลกร้อยละ 41 ของการบริโภคเครื่องนุ่งห่ม ร้อยละ 72 ของการบริโภครองเท้า และร้อยละ 84 ของสินค้าที่ใช้ในการเดินทาง ที่จำหน่ายในสหรัฐฯ ผลิตในจีน ทำให้ผู้บริโภคของสหรัฐฯ มีความอ่อนไหวอย่างสูงต่อสงครามการค้าดังกล่าว

สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกดั้งเดิมสำหรับการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของจีน ถึงแม้จีนจะเข้าถึงตลาดในสหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่นเช่นกัน แต่ร้อยละ 17 ของสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของจีนจะส่งออกไปยังสหรัฐฯ ในขณะที่การนำเข้าของจีนจากสหรัฐฯ มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 3 ของการนำเข้าทั้งหมด ส่วนสหรัฐฯ นำเข้าร้อยละ 48.9 ของสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากจีน ในปี  2560  ซึ่งแสดงว่าสหรัฐฯ ต้องพึ่งการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากจีนเป็นอย่างมาก

อินเดียสบช่องส่งออกฝ้าย

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ยังเปิดโอกาสให้คู่แข่งในเอเชียของจีน เช่น อินเดีย บังกลาเทศ เวียดนาม กัมพูชา และปากีสถาน เพิ่มส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯอีกทั้งบางประเทศในแอฟริกา เช่น เอธิโอเปีย ก็มีโอกาสที่จะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบที่กำลังเติบโตเข้าไปในตลาดสหรัฐฯ

โดยทั้งสองประเทศกำลังเรียกเก็บภาษีสำหรับฝ้าย ซึ่งจะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจมหภาคต่ออุตสาหกรรมดังกล่าว ความต้องการฝ้ายภายในประเทศของจีนกำลังเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการนำเข้าฝ้ายจากจีนเช่นกัน ในขณะที่สหรัฐฯ เป็นผู้ส่งออกฝ้ายที่ใหญ่ที่สุดของโลก ตามด้วยอินเดีย ดังนั้น ภาษีดังกล่าวจะมีผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนวัตถุดิบของจีน รวมไปถึงต้นทุนผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปด้วย แต่จะเปิดโอกาสให้อินเดียมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มมากขึ้นในจีน สำหรับผู้เล่นทั่วโลก สงครามการค้าดังกล่าวจะทำให้ราคาฝ้ายมีความผันผวนในระยะยาว

เหตุนี้เองที่ทำให้ผู้ค้าปลีกเสื้อผ้าชั้นนำของสหรัฐฯ เช่น Gap, Levi Strauss Target Corpและ VF Corporationได้ลงนามในหนังสือเรียกร้องให้ประธานาธิบดี Trump หลีกเลี่ยงการทำสงครามการค้าใด ๆ กับจีน

Rick Helfenbein นายกสมาคมเครื่องแต่งกายและรองเท้าของสหรัฐฯ มองว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการแก้แค้นที่ไม่รอบคอบ และอาจทำให้การส่งออกจากสหรัฐฯ ไปยังจีนลดลงเป็นมูลค่า 130 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ”


รายงานของสมาคมอุตสาหกรรมแฟชั่นของสหรัฐฯ ระบุว่า เพื่อให้อุตสาหกรรมดังกล่าวเข้าถึงตลาดทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจจะต้องรักษาความสมดุลระหว่างต้นทุนการจ้างผลิต ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความน่าเชื่อถือ และความเสี่ยง และเพื่อให้เกิดความสมดุลดังกล่าว บริษัทส่วนใหญ่กำลังย้ายฐานการจ้างผลิตให้หลากหลาย

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจเครื่องแต่งกายเกือบทั้งหมดทั่วโลกจ้างผลิตในจีน ดังนั้นความผันผวนของต้นทุนจะมีผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของโลก ผู้บริโภคทั่วโลกก็ควรเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับราคาเครื่องนุ่งห่มที่จะสูงขึ้น จากการที่ยักษ์ใหญ่สองประเทศทำสงครามการค้าระหว่างกัน            

อ้างอิง : ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1051 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1392 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1669 | 25/01/2024
ส่องโอกาส ‘สิ่งทอ-เครื่องนุ่งห่ม’ผลกระทบสงครามการค้า