ถอดรหัสความสำเร็จธุรกิจครอบครัวจิราธิวัฒน์ (business model)

SME in Focus
16/05/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 5688 คน
ถอดรหัสความสำเร็จธุรกิจครอบครัวจิราธิวัฒน์ (business model)
banner
หากจะบอกว่าตระกูลธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความสามัคคีรักใคร่ปรองดองกันดี "ครอบครัวจิราธิวัฒน์" เจ้าของ "เซ็นทรัล กรุ๊ป" ถือเป็นต้นแบบผู้ประกอบการในการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัวที่ดีตระกูลหนึ่งที่สามารถสร้างธุรกิจครอบครัวให้กลายเป็น อาณาจักรค้าปลีกให้ยิ่งใหญ่ขึ้นอันดับหนึ่งของไทยมีสาขาในหลายประเทศทั่วโลก

ล่าสุดครองอันดับ2ของมหาเศรษฐีไทย มูลค่าทรัพย์สิน 2.1 หมื่นล้านเหรียญ (6.68 แสนล้านบาท) ล้านบาท โดยยังรักษาความเป็นครอบครัวที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไว้ได้ แม้จะมีสมาชิกในครอบครัวเกือบ 200 ชีวิตก็ตาม ครอบครัวขนาดใหญ่อย่างนี้ ต้องบอกว่าความสามัคคีของทายาทในตระกูลเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจของครอบครัว (business model) อยู่รอดได้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme

สำหรับแนวคิดของผู้ประกอบการในการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัวของตระกูลจิราธิวัฒน์ (business model) ที่มีผู้เคยศึกษาไว้มี 6 เรื่องสำคัญตามโมเดล “บ้านธรรมนูญ” ได้แก่
 
  • การ “สื่อสาร ตัดสินใจ และระงับความขัดแย้ง” ในธุรกิจครอบครัว
  •  
  • “การสืบทอด” ธุรกิจครอบครัว
  •  
  • การให้ “ค่าตอบแทน” แก่สมาชิกที่ทำงานในธุรกิจครอบครัว
  •  
  • การจัดการ “กงสี” หรือเงินส่วนกลางของครอบครัว
  •  
  • การจัดการ “หุ้น” และเงินปันผลจากธุรกิจครอบครัว
  •  
  • การบริหาร “ความสัมพันธ์” ระหว่างสมาชิกในตระกูล ซึ่งทั้งหมดสะท้อนอยู่ใน “ธรรมนูญ” ของครอบครัวจิราธิวัฒน์

  • แต่สาระหลักๆนั้นได้มีการ แบ่งแยกเรื่องธุรกิจกับครอบครัวอย่างชัดเจน โดยเรื่องธุรกิจให้ไปที่คณะกรรมการ หรือ “บอร์ดใหญ่” มีหน้าที่ในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องของครอบครัวและเรื่องที่เกี่ยวกับธุรกิจของตระกูล โดยมี “สภาครอบครัว” ทำหน้าที่ตัดสินชี้ขาดในเรื่องครอบครัว

    ครอบครัวจิราธิวัฒน์
    Credit ภาพ news.mthai.com

    สภาครอบครัว ...ดูแลครอบครัว                           

    มีคนเคยศึกษาปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจเซ็นทรัล กรุ๊ปของตระกูลจิราธิวัฒน์ประสบความสำเร็จเช่นในปัจจุบันว่าเกิดจากการที่เลือกใช้ระบบ Family Council หรือ “สภาครอบครัว”ที่ทุกคนช่วยกันตั้งกฎเกณฑ์ต่าง ๆ  ขึ้นมาใช้ร่วมกันในการดำเนินธุรกิจ และมีการจัดสรรผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ลงตัว จึงทำให้ธุรกิจครอบครัวเติบโตมาได้อย่างยั่งยืน

    “สภาครอบครัว”หรือ “Family Council” ตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2541 ในยุคของ เจ้าสัวสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ หลังจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง”ในปี 2540 ทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างองค์กรธุรกิจของตระกูลหลายครั้ง ส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญก็คือการจัดตั้ง “คณะกรรมการครอบครัว” และ“สภาครอบครัว” นั่นเอง

    “สภาครอบครัว” ซึ่งมีหน้าที่จัดการสารพัดเรื่องที่เกี่ยวกับครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น ดูแลความเป็นอยู่ของสมาชิกในด้านต่างๆ, ดูแลระเบียบและการให้สวัสดิการแก่สมาชิก, บริหารจัดการทรัพย์สินของครอบครัว (กงสี) รวมทั้งกำหนดผลประโยชน์สำหรับผู้ที่เกิดมาอยู่ใต้ร่มตระกูลจิราธิวัฒน์

    ทั้งนี้ การกระทำใดๆ ของสมาชิก ต้องเป็นไปตามกฎกติกาของสภาครอบครัวเท่านั้น ซึ่ง“สภาครอบครัวจิราธิวัฒน์ และคณะกรรมการ “บอร์ดใหญ่” ยังคงเป็นคนเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้ตั้งเป็นกฎตายตัวว่าต้องเป็นเช่นนี้ตลอดไปแต่อย่างใด แต่สิ่งหนึ่งที่จะไม่เปลี่ยนแปลงไปก็คือ สภาครอบครัวจิราธิวัฒน์จะต้องมีสภาเดียว ถึงแม้ตระกูลจะแตกแขนงออกไปอีกหลายสายครอบครัวแล้วก็ตาม

    สำหรับโครงสร้างบริหารของ “สภาครอบครัว”นั้น ประกอบด้วย
     
  • คณะกรรมการประมาณ 10 คน มีอายุคราวละ 4 ปี
  •  
  • สมาชิก 6-7 คนจะเป็นตัวแทนจากสายใหญ่ๆ ของตระกูล (3 สายครอบครัว)
  •  
  • นอกนั้นจะเป็นผู้อาวุโสของตระกูล

  • คณะกรรมการบอร์ดใหญ่”ดูแลธุรกิจ

    ครอบครัวจิราธิวัฒน์ ใช้ระบบ “คณะกรรมการ” ในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องของครอบครัวและเรื่องธุรกิจ อาจจะกล่าวได้ว่า“คณะกรรมการ”ทำหน้าที่ในการสื่อสารระหว่างสมาชิก การตัดสินใจร่วมกัน และการระงับความขัดแย้งทั้งหลายในครอบครัว ในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องของครอบครัวและเรื่องธุรกิจของตระกูล

    อย่างไรก็ตามหัวใจสำคัญของการตั้งคณะกรรมการก็คือ “ที่มาของคณะกรรมการ” จะต้องโปร่งใส และเป็นที่ยอมรับของครอบครัว ซึ่งในระบบคณะกรรมการ พ่อ-แม่ หรือพี่ใหญ่ ยังคงกุมอำนาจตัดสินใจสูงสุด เพราะถือเป็นการให้เกียรติผู้อาวุโสที่ก่อตั้งธุรกิจมาช้านานโดยมีโครงสร้างดังนี้
     
  • คณะกรรมการจะประกอบไปด้วยบุคคลจำนวน 9-12 คน
  •  
  • กรรมการเป็นตัวแทนจากสายครอบครัวทั้ง 3 สาย
  •  
  • สามารถแบ่งแยกที่มาของกรรมการออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
    1.  
    2. ผู้อาวุโสของตระกูล (Founders) คิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของกรรมการทั้งหมด (ประมาณ 3 คน)
    3.  
    4. ตัวแทนผู้ถือหุ้น (ขึ้นกับอัตราส่วนหุ้นของธุรกิจครอบครัวที่สมาชิกถือ – หนึ่งหุ้น หนึ่งโหวต) จำนวน 50 เปอร์เซ็นต์ของกรรมการ (ประมาณ 6 คน)
    5.  
    6. ผู้มีความสามารถนอกตระกูล ซึ่งผู้อาวุโสของครอบครัวแต่งตั้งเข้ามาจำนวน 25 เปอร์เซ็นต์ (ประมาณ 1-3 คน)
    7. ทั้งนี้คณะกรรมการจะไม่ใช่เสือกระดาษ มีอำนาจให้คุณให้โทษกับสมาชิกได้และยังมีที่ปรึกษาหลากหลายด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน การค้าต่างประเทศ เพื่อเข้ามาให้ความคิดเห็นประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ด้วย

      อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัวของตระกูลจิราธิวัฒน์ ยังมีรายละเอียด และมีสาระสำคัญอีกหลายประการไม่ว่าจะเป็นกติกาในการสืบทอดอำนาจ การปลูกฝังค่านิยมในการให้เกียรติผู้ใหญ่ ความกตัญญู การให้ลูกหลานเรียนรู้งานตั้งแต่ยังเด็กและ ปล่อยให้ได้แสดงฝีมือ รวมถึงการจัดการ “กงสี”ที่ทำได้อย่างดี

      ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นต้นทางของการสร้างกิจการครอบครัวตระกูลจิราธิวัฒน์ให้ประสบความสำเร็จ โดยยังรักษาความเป็นครอบครัวที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไว้ได้

      credit ภาพ the bangkok insight


      Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
      สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


      Related Article

      จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

      จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

      Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
      pin
      216 | 17/04/2024
      ‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

      ‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

      ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
      pin
      404 | 10/04/2024
      ‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

      ‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

      ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
      pin
      1360 | 01/04/2024
      ถอดรหัสความสำเร็จธุรกิจครอบครัวจิราธิวัฒน์ (business model)