FIoT ต้นแบบงานวิจัยเพื่อเอสเอ็มอี

SME Update
06/10/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4090 คน
FIoT ต้นแบบงานวิจัยเพื่อเอสเอ็มอี
banner

อุตสาหกรรมอาหาร เป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ โดยมีมูลค่าการส่งออกปีละเกือบ 1 ล้านล้านบาท แต่ปัจจุบันผู้ประกอบการซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีที่ต้องการการพัฒนาและต่อยอดธุรกิจโดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมายกระดับการดำเนินธุรกิจให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น

 

เมื่อเร็วๆ นี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดกิจกรรม “ตลาดต่อยอดงานวิจัยสู่อุตสาหกรรม” เพื่อเป็นการต่อยอดไอเดียสู่โมเดลธุรกิจ และส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จริงทางเทคโนโลยี งานวิจัย และนวัตกรรมระหว่างผู้พัฒนาและผู้ประกอบการ พร้อมที่จะต่อยอดไปสู่เชิงพานิชย์ โดยมีงานวิจัย Food Factory Internet of Things Platfrom (FIoT) เกี่ยวกับการพัฒนาระบบดูแลอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องที่มีผลต่อกระบวนการผลิตอาหารในโรงงานอุตสาหกรรม

 

ที่ผ่านมาประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ ขนาดย่อม รวมถึงวิสาหกิจชุมชนเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่อุตสาหกรรมอาหารยังขาดผู้ที่มีความถนัดเฉพาะด้านอิเล็กทรอนิกส์และความสามารถด้านซอฟต์แวร์ ส่งผลให้ไม่สามารถวินิจฉัยหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตได้ รวมทั้งไม่สามารถลดงานเอกสารเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) ปัญหาดังกล่าวจึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการทำวิจัยชิ้นนี้

 

FIoT จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาในขบวนการควบคุมต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อระบบการผลิตอาหารในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบเซนเซอร์จะมีการติดตามตลอดเวลาและรายงานผลแบบออนไลน์ตลอด 24 ชม. ส่งผลให้กระบวนการผลิตสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดการสูญเสียค่าใช้จ่าย ลดความเสียหายของผลิตภัณฑ์ หรือสินค้า และยังสามารถลดการใช้แรงงานคนจัดการคลังสินค้า

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 



สำหรับตัวเซนเซอร์ที่ทีมวิจัยได้ศึกษานั้นเรียกว่าระบบ Monitoring Automatic หรือระบบการตรวจวัดแบบอัตโนมัติ  ซึ่งตัวเซ็นเซอร์สามารถตรวจวัดสถานะหรือปัญหาที่มีผบกระทบต่อกระบวนการผลิตได้ทั้งหมด 9 กระขบวนการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารได้แก่

1. กระบวนการควบคุมความร้อม

2. กระบวนการควบคุมแรงดัน

3. กระบวนการทำให้แห้ง

4. กระขวนการควบคุมความชื้น

5. กระบวนการควบคุมส่วนผสม

6. กระบวนการฆ่าเชื้อ

7. กระบวนการควบคุมคุณภาพ

8. การนับ Stock และ

9. การวัด Cycle Time  โดยการตรวจวัดจะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประกอบว่าต้องการจะให้ระบบตรวจวัดในกระบวนการใดบ้าง ขึ้นอยู่กับว่าอุตสาหกรรมนั้นๆ ผลิตหรือมีปัญหาอะไรตามความเหมาะสม

 

แพลตฟอร์ม FIoT ประกอบด้วย

1. ระบบการเชื่อมต่อเซ็นเซอร์ทุกรูปแบบ ที่ได้ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหาร เพราะโดยทั่วไประบบฐานข้อมูลของโรงงานจะใช้ระบบ Machine to Machine(M2M)  จะเป็นระบบการรายงานผลข้อมูลด้วยระบบออนไลน์ ดังนั้นตัวเซ็นเซอร์ FIot ที่นำไปติดสามารถเข้าไปทำงานร่วมกับระบบดังกล่าวได้โดยไม่ติดขัด ช่วยลดการรบกวนการทำงานของระบบโรงงานอุตสาหกรรมลง ทำให้ข้อมูลที่ตรวจวัดมีความแม่นยำมากขึ้น

2. การยกระดับระบบควบคุมอัจฉริยะทั้งรูปแบบไมโครคอนโทรลเลอร์ และ programmable logic controller (PLC) ซึ่งทั้ง 2 ระบบเป็นระบบควบคุมเครื่องจักรของไลน์การผลิตในโรงงาน โดยการติดตั้งเซ็นเซอร์จะไม่เข้าไปรบกวนการทำงานและยังสามารถตรวจวัดข้อบกพร่องต่างๆ รวมกับระบบควบคุมเครื่องจักรโดยไม่ทำให้ไลน์การผลิตเสียหาย

3. การติดตั้งที่ง่ายและรวดเร็วโดยการออกแบบลวงหน้าด้วยระบบ building information modeling  โดยทั่วไปแล้วก่อนติดตั้งระบบเซ็นเซอร์จะต้องมีการออกแบบจุดที่จะติดเซ็นเซอร์ก่อนทุกครั้ง แต่ระบบ FIot จะออกแบบโดยการขอแปลนโรงงานและนำมาออกแบบว่าจะติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ตรงจุดใด โดยจะมีวิศวกรที่ทำหน้าที่ออกแบบโมเดล วิธีการดังกล่าวจะช่วยลดระยะเวลา ทำให้เกิดความแม่นยำในการติดตั้งแต่ละจุด

4. รูปแบบการวิเคราะห์ด้วย online web-based ระบบการทำงานของเซ็นเซอร์จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบว่าโรงงานจำเป็นจะต้องเพิ่มหรือลดขบวนการผลิตลง เพื่อให้สอดคล้องกับขีดความสามารถของโรงงาน ณ ขณะนั้น รวมทั้งระบบยังช่วยวิเคราะห์การทำงานของเครื่องจักรว่ามีความคงที่หรือไม่ ซึ่งการส่งข้อมูลจะเปรียบเสมือนการให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาค่าวิกฤติต่างๆ ตามความต้องการของ  ISO22000  

5. การให้บริการ Cloud as a software service เป็นระบบการรองรับข้อมูลที่ได้จากวินิจฉัยผ่านตัวเซนเซอร์ทั้งหมด โดยหากเป็นธุรกิจขนาดเล็กสามารถทำได้ผ่านระบบ Google Sheet ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลง ด้านการแก้ไขข้อมูลสามารถดำเนินการผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ ซึ่งจะลดกระบวนการตรวจสอบและเพิ่มคุณภาพง่ายต่อการนำไปใช้


การนำงานวิจัยมาปรับใช้ในธุรกิจเอสเอ็มอีถือว่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ เพื่อกระตุ้นให้เอสเอ็มอีเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาธุรกิจ โดยการขับเคลื่อนด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมให้มากขึ้น เพราะงานวิจัยถือว่าเป็นเครื่องมือที่จะก้าวนำคู่แข่งและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของคนในปัจจุบันมากขึ้น รวมทั้งงานวิจัยยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ และเพิ่มมูลค่าของธุรกิจ ลดความสูญเสียทั้งด้านแรงงานคน และวัตถุดิบ อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือไลน์ธุรกิจใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการอีกด้วย


สินค้าเกษตรไทย ยังอนาคตสดใสในต่างประเทศ

Food Tech สิ่งใหม่ในอุตสาหกรรมอาหาร


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1228 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1588 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1874 | 25/01/2024
FIoT ต้นแบบงานวิจัยเพื่อเอสเอ็มอี