หวานเป็นลม ขมเป็นยา
ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 เชื้อไวรัสโควิด 19 ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต จนเกิดเป็นรูปแบบการใช้ชีวิตใหม่ที่เราไม่เคยรับมือมาก่อน
ทำให้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับสุขอนามัยของตนเองมากขึ้น สร้างความเติบโตวงการสุขภาพเป็นอย่างมาก ซึ่งเวชภัณฑ์ยาก็เป็นหนึ่งธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์นี้
จากการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้ประมาณการขยายตัวของอุตสาหกรรมพบว่าปี 2563 อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์จะขยายตัวเพิ่มขึ้น 17.5% เมื่อเทียบจากปีก่อน เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมถุงมือยาง คาดว่าปี 2563 จะขยายตัวเพิ่มขึ้น 23.2% เมื่อเทียบจากปีก่อน จากความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
เหตุผลที่ ‘ตลาดร้านขายยาไทย’ ไม่เคยหยุดโต
จากข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาปี 2562 พบว่ามีจำนวนร้านขายยาประเภทต่างๆ
ทั่วประเทศ 20,516 แห่ง ขณะที่ปัจจุบัน ‘ธุรกิจร้านขายยา’ ยังสามารถเป็นตลาดที่โอกาสเติบโตไปได้เรื่อยๆ
เพราะ “ยา” เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพและชีวิตของประชากรในประเทศ จากผลวิจัยพบว่าทางเลือกแรกของคนเจ็บป่วยไม่รุนแรง
คือร้านขายยา 32% ขณะที่คนจะเลือกไปโรงพยาบาลเอกชน 25% และเลือกไปโรงพยาบาลรัฐเป็นตัวเลือกแรก
16% โดยคนไทยเสียค่ายาในร้านขายยาเฉลี่ยครั้งละ 150-200 บาท
และตัวเลขค่าใช้จ่ายตรงนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกปี สะท้อนให้เห็นว่าคนยุคใหม่เลือกเดินเข้าร้านขายยาไปซื้อยาทานเองมากขึ้น
แทนการไปพบแพทย์ในโรงพยาบาล ด้วยเหตุผลว่าสะดวก ไม่เสียเวลาเท่ากับการไปรอคิว
หรือต้องเสียเวลาเดินทางนานๆ นั่นเอง
‘ธุรกิจด้านสุขภาพ สุขอนามัย และการแพทย์’ 1 ใน 4 กลุ่มธุรกิจที่น่าจับตามองปี 2564
กระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดเผยกลุ่มธุรกิจที่น่าจับตามองปี 2564 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการใช้ชีวิตยุค New Normal และ Next Normal พบว่า กลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพ
สุขอนามัย และการแพทย์ เป็นหนึ่งในกลุ่มที่อนาคตสดใส ได้แก่ ธุรกิจบริการทางแพทย์และความงาม
เครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ยาและขายสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์ เนื่องจากเป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลดีจากพฤติกรรมของคนในสังคม
ที่ใส่ใจเรื่องของสุขภาพและการแพทย์ รวมทั้งความระแวดระวังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด
19
ซึ่งสะท้อนจากจำนวนธุรกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องจากการจัดตั้งธุรกิจใหม่ เช่น
ธุรกิจเครื่องมือแพทย์ที่มีการเติบโตของการจัดตั้งธุรกิจใหม่ จากปีละ 68 ราย ในปี
2561 มาเป็นปีละกว่า 114 ราย ในปี 2563 และธุรกิจเวชภัณฑ์ยาและขายสินค้าทางเภสัชภัณฑ์
และทางการแพทย์ มีการเติบโตของการจัดตั้งธุรกิจใหม่ จากปีละ 945 ราย ในปี 2561
มาเป็นปีละกว่า 1,158 ราย ในปี 2563 เป็นต้น ขณะที่ปัจจุบันธุรกิจเวชภัณฑ์ยาและธุรกิจขายส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์
มีผู้ประกอบธุรกิจจำนวน 10,001 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 76,628.46 ล้านบาท
จากการคาดการณ์ในปีนี้
การประกอบกิจการของภาคธุรกิจมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นและเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น
โดยต้องพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 และผลกระทบจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะเกื้อหนุนให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้
สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังจะลงทุน หรือกำลังมองหาธุรกิจที่น่าสนใจ ‘ร้านขายยา’ ก็เป็นหนึ่งในธุรกิจที่น่าจะไปได้สวย
ซึ่งอีกไม่นานเราจะอาจได้เห็น ‘ร้านขายยาไทยในอนาคต’ ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยการผสมผสานเทคโนโลยี
อย่างเช่น การตรวจจับและจดจำใบหน้า ทำให้ลูกค้าสามารถชำระเงินผ่านการสแกนใบหน้า นอกจากนี้ร้านขายยายังสามารถให้บริการปรึกษาสุขภาพทางไกลและจองห้องพักผู้ป่วย
รวมถึงการชำระเงินโดยผูกกับบัตรประกันสังคมออนไลน์ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสิทธิพิเศษต่างๆ
เช่น การเช่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้โดยไม่ต้องมีเงินมัดจำ
อย่างที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศจีน
แหล่งอ้างอิง :