โจทย์ใหม่ ! “ไกด์ไลน์ แฟรนไชส์”

SME Update
31/08/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4196 คน
โจทย์ใหม่ ! “ไกด์ไลน์ แฟรนไชส์”
banner

ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์มีมูลค่าตลาดปีละกว่า 2 แสนล้านบาท อัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% ข้อมูลในปี 2560 แฟรนไชซอร์ (Franchisor) จำนวน 572 ราย เพิ่มขึ้น 8.3% ประเภทแฟรนไชส์ยอดนิยมจะเป็นกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร เครื่องดื่ม และธุรกิจการศึกษา ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก สำหรับการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ค้าขายรายใหม่ ๆ ที่ต้องการประกอบธุรกิจภายใต้แฟรนไชส์ วงเงินลงทุนเริ่มต้นมีตั้งแต่ไม่ถึง 10,000 บาท จนถึงหลักกว่า 1,000,000 บาท

อย่างไรก็ตาม จากที่ธุรกิจนี้ขยายตัวต่อเนื่องทุกปี และเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ ผู้ค้ารายย่อยจำนวนมาก ทำให้ที่ผ่านมามีปัญหาการร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมในลักษณะเอารัดเอาเปรียบ หรือการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นจำนวนมากตามไปด้วย สาเหตุหลักมาจากยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแลธุรกิจแฟรนไชส์โดยตรง

ล่าสุด คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เตรียมออกไกด์ไลน์ธุรกิจแฟรนไชส์ กำหนดสิ่งที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องทำ และพฤติกรรมต้องห้าม ป้องกันผู้ซื้อแฟรนไชส์ (franchisee) โดนเอารัดเอาเปรียบที่คาดว่าจะบังคับใช้เร็วๆ นี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ โฆษกคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เปิดเผยว่า ได้ยกร่างประกาศ กขค. เรื่อง แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ พ.ศ. ... หรือไกด์ไลน์ธุรกิจแฟรนไชส์เสร็จแล้ว เพื่อให้ธุรกิจแฟรนไชส์มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม และไม่มีพฤติกรรมที่ขัดกับพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้าพ.ศ.2560 โดยได้เปิดรับฟังความเห็นจากแฟรนไชส์ซอร์ (เจ้าของแฟรนไชส์ ที่ให้สิทธิประกอบธุรกิจแฟรนไชส์กับผู้อื่น) ไปแล้วเมื่อวันที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมา และในวันที่ 6 ก.ย.2562 จะรับฟังความเห็นจากแฟรนไชส์ซี (ผู้ซื้อแฟรนไชส์) และจะฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องผ่านเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการฯ จนถึงวันที่ 20 ก.ย.2562 จากนั้น คณะอนุกรรมการพิจารณาไกด์ไลน์แฟรนไชส์ จะทบทวนเป็นครั้งสุดท้ายก่อนเสนอให้ กขค. ให้ความเห็นชอบ และออกประกาศให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

 

กฎเหล็ก – ต้องไม่หมกเม็ดข้อมูล

สำหรับไกด์ไลน์แฟรนไชส์ดังกล่าว กำหนดให้แฟรนไชส์ซอร์ ต้องเปิดเผยข้อมูลการประกอบธุรกิจให้แก่แฟรนไชส์ซี ตั้งแต่ค่าใช้จ่ายก่อนดำเนินการ และระหว่างดำเนินการ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ในการประกอบธุรกิจ รายละเอียดเกี่ยวกับการเงินและเงื่อนไขในการคืนเงิน และต้องเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการดำเนินธุรกิจ เช่น การให้ความช่วยเหลือในการบริหารจัดการ จำนวนและสถานที่ตั้งของแฟรนไชส์ในพื้นที่ใกล้เคียงในปัจจุบัน และอนาคต รายละเอียดการส่งเสริมการขาย รวมถึงสาระเกี่ยวกับสิทธิในเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้อง ช่วงเวลาที่มีผลบังคับใช้ ขอบเขตการอนุญาตและเงื่อนไขข้อจำกัด, การต่อสัญญา แก้ไข ยกเลิก เพิกถอนสัญญา เป็นต้น

 

กำหนด 7 พฤติกรรมต้องห้าม

ทั้งนี้ ยังได้กำหนดพฤติกรรมต้องห้ามของแฟรนไชส์ซอร์ ที่อาจส่งผลให้พ.ศ.เกิดความเสียหายแก่แฟรนไชส์ซี ตามมาตรา 57 พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า2560 ได้แก่

1. กำหนดเงื่อนไขที่เป็นการจำกัดสิทธิของแฟรนไชส์ซี โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เช่น กำหนดให้ซื้อสินค้า หรือบริการอื่นที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์ หรือซื้อจากซัปพลายเออร์ (ผู้ผลิตสินค้า) ที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนดเท่านั้น ,

2. ห้ามพฤติกรรมกำหนดโควตาให้แฟรนไชส์ซีต้องซื้อสินค้า หรือวัตถุดิบในปริมาณมากกว่าความต้องการ แ

3. ห้ามคืนสินค้าหรือวัตถุดิบส่วนเกิน

4. กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้แฟรนไชส์ซีต้องปฏิบัติตามหลังลงนามสัญญา

5. ห้ามแฟรนไชส์ซีซื้อสินค้าหรือบริการกับซัปพลายเออร์รายอื่น แต่ต้องซื้อจากแฟรนไชส์ซอร์ หรือซัปพลายเออร์ที่กำหนดโดยไม่มีเหตุผลอันควร

6. ห้ามแฟรนไชส์ซีขายลดราคาสินค้าที่เน่าเสียง่าย หรือใกล้หมดอายุโดยไม่มีเหตุผลอันควร

7. กำหนดเงื่อนไขที่แตกต่างกันระหว่างแฟรนไชส์ซีโดยไม่มีเหตุผลอันควร และนำไปสู่การเลือกปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม


ฝ่าฝืนปรับ 10% ของรายได้

ทั้งนี้ หากไกด์ไลน์แฟรนไชส์มีผลบังคับใช้ แฟรนไชส์ซอร์มีพฤติกรรมต้องห้ามดังกล่าว จะมีความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 57 ซึ่งถือเป็นการลงโทษทางการปกครอง ตาม พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า กฎหมายกำหนดให้ลงโทษปรับในอัตราไม่เกินร้อยละ 10 ของรายได้ในปีที่ได้กระทำความผิด แต่หากเป็นกรณีที่ผู้ฝ่าฝืนกระทำความผิดในปีแรกของการประกอบธุรกิจ กฎหมายกำหนดให้ชำระค่าปรับทางการปกครองในอัตราไม่เกิน 1,000,000  บาท 

แฟรนไชส์กาแฟไทย บุกตลาดกัมพูชา

5 กลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ดาวรุ่งไทยโกอินเตอร์


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1051 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1393 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1674 | 25/01/2024
โจทย์ใหม่ ! “ไกด์ไลน์ แฟรนไชส์”