ไขข้อข้องใจ รัฐคุมเข้มกฎหมาย IUU

SME Update
16/06/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 3856 คน
ไขข้อข้องใจ รัฐคุมเข้มกฎหมาย IUU
banner

สืบเนื่องจากกรณีที่สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยกล่าวถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมายประมง (IUU) ที่ทำให้ชาวประมงไทยได้รับผลกระทบจากขั้นตอนการติดต่อขอใบอนุญาตที่มีขั้นตอนยุ่งยาก รวมถึงการเรียกร้องให้ จำกัดจำนวนโควตาสินค้าอาหารทะเล ที่เข้ามาจำหน่ายในไทย อีกทั้ง ยังมีการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำจากประเทศเพื่อนบ้านที่ยังติดใบเหลืองใบแดงจากปัญหาการทำประมง IUU ทำให้เกิดการแย่งส่วนแบ่งการตลาดภายในประเทศ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


โดยก่อนหน้านี้ทางกรมการค้าต่างประเทศ ได้ชี้แจงแก่ผู้ประกอบการประมงใน 2 ประเด็น คือ

- เรื่องนี้ กรมประมงเป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายประมง (ด้าน IUU Fishing)

- เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้ผูกพันสินค้าประมงภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) จึงไม่สามารถจำกัดปริมาณการนำเข้าได้

อย่างไรก็ตาม การห้ามหรือกำหนดมาตรการนำเข้าของกระทรวงพาณิชย์ตาม พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 จะต้องมีเหตุผลความจำเป็น เช่น เพื่อความมั่นคงของประเทศ เพื่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อการสาธารณสุขและต้องพิจารณาผลกระทบต่างๆ อย่างรอบคอบรอบด้าน ซึ่งหากประเทศไทยห้ามนำเข้าสินค้าประมงเฉพาะจากบางประเทศ เช่น ประเทศเพื่อนบ้านจะถือเป็นการเลือกปฏิบัติได้

ทางด้านกรมประมง โดยนายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ชี้แจงถึงกรณีนี้ว่า การออกพระราชกำหนด การประมง พ.ศ. 2558 และแก้ไข ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปฏิรูปการประมงเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับภาคการประมงของไทย โดยทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องต้องมีความโปร่งใส และเป็นธรรม สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดสายการผลิต ซึ่งในบางเรื่องเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น  การที่ชาวประมงและผู้ประกอบการต้องมีการจัดทำเอกสารเพื่อให้ผู้ซื้อสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าตั้งแต่จับสัตว์น้ำจนถึงส่งออก เพื่อให้ผู้ซื้อปลายทางมั่นใจได้ว่าสินค้าเหล่านั้นมีแหล่งที่มาที่ถูกต้อง

ง่ายๆ แค่ระบุเลขหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ

ที่ผ่านมากรมประมงได้มีการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกการส่งออกสินค้าประมง (FSW) ซึ่งผู้ส่งออกเพียงแค่ระบุเฉพาะเลขที่หนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (Marines Catch Purchasing Document : MCPD) หรือใบรับรองการจับสัตว์น้ำของวัตถุดิบที่มีการซื้อและนำมาผลิต

โดยหมายเลขดังกล่าวจะทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่าสินค้ารุ่นนี้ผลิตมาจากวัตถุดิบที่ได้มาจากการจับของเรือประมงลำไหน จับที่ไหน /เมื่อไหร่ /มีแรงงานกี่คน /ชื่ออะไร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคปลายทางว่าสินค้าสัตว์น้ำนั้นไม่มาจากการทำประมงที่ผิดกฎหมายหรือเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ภายใต้นโยบายที่มุ่งไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นจุดแข็งของสินค้าประมงไทยที่ผู้ซื้อปลายทางมั่นใจและยังคงซื้อสินค้าไทย

นำเข้าสัตว์น้ำ 9 พันตันต่อปี

ทั้งนี้ ในประเด็นปริมาณสินค้าสัตว์น้ำเพื่อการบริโภคในประเทศที่ได้จากการทำการประมงทะเลจากประเทศเพื่อนบ้านที่ยังติดปัญหา IUU อยู่นั้น จากข้อมูลการนำเข้าของด่านตรวจสัตว์น้ำกรมประมง พบว่ามีปริมาณการนำเข้าเพียง 9,000 ตัน/ปี เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตภายในประเทศถือได้ว่าเป็นปริมาณที่น้อยมาก เพียงร้อยละ0.6 แต่

โดยผู้นำเข้าจะต้องแสดงเอกสารที่รัฐบาลประเทศที่นำสินค้าเข้าออกให้เพื่อแสดงว่าสัตว์น้ำที่นำเข้ามานั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำประมงที่ผิดกฎหมาย โดยต้องแสดงรายชื่อของเรือประมงที่ทำการจับสัตว์น้ำ เลขที่ใบอนุญาต วันที่ทำการประมง ตลอดจนน้ำหนักสัตว์น้ำที่จับได้ของสินค้าที่นำเข้าทั้งหมด

รวมทั้งการกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัย โดยดำเนินการเฝ้าระวังสุ่มตรวจตัวอย่างสัตว์น้ำที่นำเข้า ณ ด่านตรวจสัตว์น้ำ เพื่อตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง


จะเห็นว่าทั้งหน่วยงานรัฐและผู้ประกอบการมองกันต่างมุม ผู้ประกอบการมองว่ากฎใหม่ของ IUU ยิ่งเพิ่มความยุ่งยากของผู้ประกอบการประมง และให้จำกัดโควตานำเข้าสัตว์น้ำประมงต่างชาติ ขณะที่ฝั่งรัฐ นอกจากทำไม่ได้แล้วยังถือเป็นการเลือกปฏิบัติ แถมทำไม่ได้ด้วย เพราะประมงไม่ได้ผูกพันสินค้าประมงภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) และกฎใหม่ดำเนินการด้วยความโปร่งใส น่าติดตามว่าเรื่องนี้จะมีข้อสรุปอย่างไร 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1303 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1672 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1922 | 25/01/2024
ไขข้อข้องใจ รัฐคุมเข้มกฎหมาย IUU