ธุรกิจที่พัก รู้ก่อนที่จะทำผิดกฎหมาย

SME Update
22/09/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 36347 คน
ธุรกิจที่พัก รู้ก่อนที่จะทำผิดกฎหมาย
banner

ทำความเข้าใจในเบื้องกันก่อนว่า การทำธุรกิจที่พักแรมนั้นไม่ว่าจะเรียกชื่อตัวเองว่าอย่างไร เช่น เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ โฮมสเตย์ เกสต์เฮ้าส์ รีสอร์ท ฟาร์มสเตย์ ฯลฯ หากเข้าองค์ประกอบของคำนิยามว่า โรงแรม ก็ต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม

โดยคำว่า โรงแรม ตามมาตรา 4 ในพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 บัญญัติไว้ว่า คือ  สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน

ส่วน “ผู้พัก” หมายความว่า คนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดที่ใช้บริการที่พักชั่วคราว ทั้งนี้ไม่รวมถึง

1. สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวซึ่งดําเนินการโดยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือเพื่อการกุศล หรือการศึกษา ทั้งนี้โดยมิใช่ เป็นการหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน

2. สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการที่พักอาศัยโดยคิดค่าบริการเป็นรายเดือนขึ้นไปเท่านั้น

3. สถานที่พักอื่นใดตามที่กําหนดในกฎกระทรวง 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 



กฎกระทรวง ตรงนี้มีประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจ

คำสั่ง คสช. มาตรา 44  เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 คือ อนุญาตให้ผู้ที่เป็นอาคารเก่าเป็นโรงแรม สามารถทำกิจการโรงแรมในพื้นที่ผังเมืองห้ามทำโรงแรมได้ โดยต้องทำให้สำเร็จได้รับใบอนุญาตการเปลี่ยนแปลงการใช้งานอาคารก่อนกฎหมายปี 2559 หมดอายุซึ่งกฎหมายนี้จะหมดอายุภายใน 18 สิงหาคมปี 2564

อย่างไรก็ตามยังคงมีผู้ประกอบการผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2562 จึงได้มีหนังสือด่วนที่สุดฉบับหนึ่ง จากปลัดกระทรวงมหาดไทยถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ  สาระหลักคืออนุญาตให้ผู้ที่ทำโรงแรมผิดกฎหมายสามารถไปแจ้งรายงานตัว กับหน่วยงานท้องถิ่นที่ดูแลเรื่องการก่อสร้าง โดยประโยชน์จากการไปแจ้งคือโรงแรมแห่งนั้นจะได้รับการยกเว้นโทษจับ  ไปจนกระทั่งวันเวลาที่กฎหมายนี้หมดอายุในเดือนสิงหาคม 2564 นี่คือโอกาสสำคัญที่สุดสำหรับคนที่ทำโรงแรมและยังผิดกฎหมายอยู่

กรณีที่เข้าข่ายโรงแรมคือ 1. ทำธุรกิจที่พัก 2. เป็นที่พักแบบชั่วคราว (น้อยกว่า 30 วัน) และ 3. ได้รับค่าตอบแทนจากผู้มาพักกฎหมายโรงแรมถือว่าท่านทำธุรกิจโรงแรม

ดังนั้นตามมาตรา 15 บังคับว่าท่านต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม (ร.ร. 2) หากไม่มีก็มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่

ด้วยเหตุนี้ จะอ้างว่าไม่รู้หรือตีความกฎหมายแบบเลี่ยงบาลี อย่างไรก็ตามแต่หากมีการขอตรวจสอบใบอนุญาตและไม่มี ตามมาตรา 44 ของกฎหมายควบคุมอาคารก็อนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งระงับการใช้อาคาร หากมีการฝ่าฝืนอีกก็มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าปฏิบัติให้ถูกต้อง

ทั้งนี้ นอกจากผิดกฎหมายโรงแรมแล้ว ยังเข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 33 ซึ่งห้ามไม่ให้ใช้อาคารผิดประเภทที่ขอใบอนุญาตก่อสร้างไว้ คือ ไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้างโรงแรมก็นำอาคารมาทำโรงแรมไม่ได้ แน่นอนว่าอาจโดนสองเด้ง 

หลายคนอาจมีคำถาม ฟาร์มสเตย์ โฮสเตย์ เกตส์เฮ้าส์ ที่อยู่อาศัยที่เปิดให้เช่า ที่มีกันกลาดเกลื่อนในปัจจุบัน กำลังทำผิดกฎหมายอยู่หรือไม่ ...โดนมั้ย

สำหรับสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งกำหนดว่าถ้ามีห้องพักรวมกันไม่เกิน 4 ห้อง ในอาคารหลังเดียวหรือหลายหลัง และมีผู้เข้าพักไม่เกิน 20 คน ไม่ถือว่าเป็นโรงแรม แต่จะเรียกว่าเป็นสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม หรือต้องเป็นกิจการที่เป็นรายได้เสริม เช่น รายได้หลักมาจากอาชีพการเกษตร กรณีฟาร์มสเตย์อาจเข้าข่ายนี้ได้ แต่ก็ต้องไปจดทะเบียนกับกรมการปกครองและส่งข้อมูลผู้มาพักให้กับตรวจคนเข้าเมืองเช่นกัน



อาคารชุดละ เข้าข่ายหรือไม่ ?

แน่นอนว่าเข้าเต็มๆ เพราะผู้ที่ต้องการซื้ออาคารชุดที่ผู้สร้างอาคารชุดขาย บางรายประชาสัมพันธ์ว่าลงทุนเฉพาะเงินดาวน์ ส่วนที่เหลือจะมีผู้นำห้องไปให้เช่ารายวันหลังจากหักเงินที่ต้องผ่อนส่งรายเดือนแล้วยังมีส่วนเกินได้อีก ทำให้ผู้เข้าใจผิดไปซื้ออาคารชุดเหล่านี้ ซึ่งจริงๆ มันผิด

เนื่องจากพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา17/1 วรรคสอง คือ ห้ามผู้ใดประกอบการค้าในอาคารชุด มีโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ แถมยังต้องผิดตามกฎหมายควบคุมอาคารว่าด้วยการใช้อาคารผิดประเภทอีกด้วย

ให้ต่างชาติเช่ายิ่งผิดสองเด้งเพราะ...

ผู้ที่ประกอบธุรกิจให้เช่าที่พักชั่วคราวที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมจะผิดตามกฎหมายต่าง ๆ ข้างต้นแล้วยังต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 อีกด้วย กล่าวคือ “เจ้าบ้าน เจ้าของหรือผู้ครอบครองเคหสถาน หรือผู้จัดการโรงแรม ซึ่งรับคนต่างด้าว ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเข้าพักอาศัยจะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง ซึ่งมีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

ทั้งหมดนี้คือข้อสรุปสำหรับคนที่จะทำหรือกำลังทำธุรกิจที่พักต้องรู้ เพื่อที่คุณจะไม่ทำผิดกฎหมาย 

คนไทยใช้เวลาวางแผนท่องเที่ยวกว่า 10 ชั่วโมงต่อทริป 

อายุก็แค่ตัวเลข ...ใครว่าคนสูงวัยเริ่มก่อตั้งธุรกิจไม่ได้





Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1221 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1582 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1869 | 25/01/2024
ธุรกิจที่พัก รู้ก่อนที่จะทำผิดกฎหมาย