โลจิสติกส์สู้ดิสรัปชั่น ปรับสู่อี-โลจิสติกส์

SME Update
18/04/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 1843 คน
โลจิสติกส์สู้ดิสรัปชั่น ปรับสู่อี-โลจิสติกส์
banner
พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการหันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น นำมาซึ่งการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และเกิดความต้องการส่งสินค้าไปให้ลูกค้า ส่งผลให้ธุรกิจโลจิสติกส์หรือธุรกิจขนส่งสินค้าเติบโตตามไปด้วย เห็นได้จากการเข้ามาแข่งขันใน ธุรกิจโลจิสติกส์ มากมายทั้งจากผู้ประกอบการในประเทศไปจนถึงผู้ประกอบการข้ามชาติ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


แน่นอนว่าเมื่อมีผู้ประกอบการจำนวนมากเข้ามาร่วมวงชิงตลาดโลจิสติกส์ ย่อมส่งผลให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรงและนำมาซึ่งการปรับตัวเพื่อให้เหนือกว่าคู่แข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีต่างๆ มีการพัฒนาก้าวหน้าต่อเนื่อง ซึ่งเป็นทั้งผลดีของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ที่สามารถปรับตัวนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาบริการ ในทางกลับกันก็ถือว่าเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาดิสรัปชั่นธุรกิจโลจิสติกส์ให้เกิดความท้าทายและต้องเร่งปรับตัวรับเช่นกัน

นอสตร้า โลจิสติกส์ โดย บริษัท จีไอเอส จำกัด ในกลุ่มบริษัทซีดีจี ได้เผยถึงความท้าทายของธุรกิจโลจิสติกส์ในยุคที่ภูมิทัศน์ของการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยชี้ให้เห็นว่า เผยธุรกิจโลจิสติกส์เริ่มมีการปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้นกว่า 30% และธุรกิจเอสเอ็มอี เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการดิสรัปของเทคโนโลยีโดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขั้นพื้นฐาน สำหรับความท้าทายของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในยุคดิสรัปชั่น ประกอบด้วย

1.ต้นทุนการขนส่ง : เนื่องจากธุรกิจนี้ต้องแข่งขันกันที่ต้นทุนและบริการเป็นหัวใจสำคัญ ดังนั้นหากสามารถบริการจัดการต้นทุนได้ดีกว่าย่อมสร้างความได้เปรียบ ซึ่งเทคโนโลยีและข้อมูลจะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ด้วยการใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และวางแผนการจัดส่งสินค้า รวมถึงบริหารบุคลากรเพื่อลดค่าใช้จ่าย เช่น วางแผนการใช้รถ การเลือกเส้นทางขนส่งที่ประหยัดเวลา การขับรถในระดับความเร็วที่เหมาะสมเพื่อประหยัดน้ำมัน

2.การบริหารจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล : ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถจัดการข้อมูลได้เหนือกว่าจีพีเอส เช่น เทคโนโลยีเทเลเมติกส์ (Telematics) ที่ใช้สื่อสารระหว่างรถขนส่งสินค้าและผู้ควบคุมงานจัดส่ง สามารถรับและส่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ตำแหน่งรถ ความเร็วในการขับรถ การหยุดนิ่ง-จอด การเบรก การแซง ปริมาณน้ำมันที่เหลือ อุณหภูมิห้องเก็บความเย็น ฯลฯ นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีอื่นร่วมด้วย เช่น ไอโอที, คลาวด์เซอร์วิส และ บิ๊กดาต้าอนาไลติกส์ เพื่อรับ-ส่งข้อมูล การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลในแบบเรียลไทม์ โดยนำบิ๊กดาต้ามาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการใช้รถและประเมินพฤติกรรมการขับรถเพื่อการปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด อีกทั้งช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงได้จากการติดตามและวางแผนการใช้รถที่เหมาะสม

3.การพัฒนาบริการตามความต้องการเฉพาะของลูกค้า :  ซึ่งถือเป็นเทรนด์สำคัญในการสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งและครองใจลูกค้าได้อย่างตรงความต้องการของลูกค้าแต่ละราย เช่น การพัฒนาโซลูชั่นสำหรับองค์กรที่มีรถรับ-ส่งพนักงานที่เรียกว่า Bus on Mobile Service (BOMs) ที่มีฟังก์ชันการทำงานครอบคลุมตั้งแต่วางแผนเส้นทางเดินรถจนถึงการออกรายงาน  โดยผู้บริหารรถรับส่งสามารถทำงานบนเว็บแอปพลิเคชันตั้งแต่การสร้างเส้นทางและจุดรับส่งของรถแต่ละคัน การติดตามและตรวจสอบตำแหน่งรถ ณ ปัจจุบัน ระบบการจองรถด้วยตัวเองสำหรับผู้ใช้รถตลอดจนรายงานสรุปต่างๆ

4.การบริหารบุคลากร : เทคโนโลยีจะมาช่วยบริหารจัดการเวลาทำงานของบุคลากร เช่น พนักงานขับรถต้องขับต่อเนื่องไม่เกิน 4 ชั่วโมง ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในการทำงานของรถรับส่งพนักงานคือ องค์กรมีเครื่องมือที่ใช้สื่อสารเพื่อการจัดบริการรถพนักงาน สามารถติดตามรถได้ตลอดเวลาแบบเรียลไทม์ ทั้งยังสามารถวัดผลจากเกณฑ์ที่กำหนดหรือ KPI สำหรับพนักงานขับรถหรือผู้รับจ้างให้บริการรถด้วยข้อมูลที่ได้จากการบันทึกเวลาและพฤติกรรมการขับรถของพนักงานขับรถที่จัดเก็บไว้ในระบบได้อีกด้วย

5.การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังต่างๆ: โดยตั้งแต่ปี 2559 ที่ภาครัฐมีโครงการมั่นใจทั่วไทย สนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถโดยสารและรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ติดตั้งระบบ GPS Tracking เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่และการใช้ความเร็วของรถได้แบบ Real-time ทำให้ผู้ประกอบการการขนส่งต้องตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาการให้บริการของตนเองทัดเทียมกับผู้ให้บริการรายอื่นในตลาด

ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ให้บริการโลจิสติกส์ขั้นพื้นฐาน ก็จำเป็นต้องเลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าช่วยจัดการงานขนส่ง เพื่อช่วยบริหารด้านต้นทุนขนส่งให้ต่ำลง และลดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองให้มากที่สุด เพื่อรองรับตลาดโลจิสติกส์ที่กำลังเติบโตในยุคดิจิทัล

ธุรกิจโลจิสติกส์

ทั้งหมดนี้เห็นได้ชัดเจนว่า ในยุคดิสรัปชั่นที่สร้างทั้งโอกาสและความท้าทายในทุกภาคส่วน ธุรกิจโลจิสติกส์ที่ถือว่าอยู่ในช่วงขาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายเล็กหรือใหญ่ ล้วนต้องเร่งปรับตัวในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ธุรกิจขนส่ง ไม่ว่าจะเป็น ระบบจัดการงานขนส่งและคลังสินค้าด้วย Connected GPS, เทเลมาติกส์ , ไอโอที, บิ๊กดาต้าอนาไลติกส์ และ คลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อให้การบริหารจัดการธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้นทั้งเวลา ความเร็ว ความถูกต้อง และมีต้นทุนที่ต่ำลง

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1051 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1391 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1669 | 25/01/2024
โลจิสติกส์สู้ดิสรัปชั่น ปรับสู่อี-โลจิสติกส์