5 ความท้าทายใหม่ SME ด้านอาหาร เส้นชัยสู่ความยั่งยืน

SME Update
29/10/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 3476 คน
5 ความท้าทายใหม่ SME ด้านอาหาร เส้นชัยสู่ความยั่งยืน
banner

จะเห็นว่าภายใต้การระบาดของโควิด 19 ทุกอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ แต่ก็จะเห็นว่าช่วงที่ผ่านมามีบางอุตสาหกรรมที่มีการเติบโต และยังมีแนวโน้มที่สดใส เพราะเป็นหนึ่งในปัจจัยการดำรงชีวิต นั่นคือ อุตสาหกรรมอาหาร นับเป็น SME โดยภาพรวมที่มีอัตราการเติบโตแม้ในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ

 

แต่กระนั้น ภายใต้กติกาและค่านิยมของโลกที่ปรับเปลี่ยนไป อุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะในภาคของ การผลิต ซึ่งจะเป็นกลุ่มต้นน้ำ และกลางน้ำ อาทิ เกษตรกร เครือข่ายเกษตร วิสาหกิจชุมชน หรือ SME ขั้นกลางน้ำที่มีการแปรรูปที่ไม่ได้มีกระบวนการซับซ้อนมากนัก อาจจะต้องเริ่มปรับตัวและเข้าใจบริบทใหม่ของการผลิตอาหารที่ต้องปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืน

 

โดยบทความนี้ เราจะพาคุณไปเจาะลึกกันว่า การทำธุรกิจด้านอาหารนั้นจะต้องเน้นย้ำในด้านใด เพื่อให้ธุรกิจ SME ที่อยู่ในมือของคุณนั้นเติบโตได้อย่างมั่นคง ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันของตลาดโลก  


ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

 

 

1. การตรวจสอบย้อนกลับ : การนำระบบ “การตรวจสอบย้อนกลับ” มาใช้ในกระบวนการผลิตอาหารนั้น จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและยังสร้างแบรนด์ได้ในตัวเอง กล่าวคือ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและจำหน่ายออกไปจะต้องมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับได้ในทุกขั้นตอน มีซีเรียลนัมเบอร์ หรือคิวอาร์โค้ดของสินค้า ให้สามารถสแกนหรือคีย์ข้อมูลเพื่อตรวจอบสอบที่มาของสินค้าได้ ซึ่งมาตรการทางการค้าในตลาดต่างประเทศจะให้ความสำคัญอย่างมาก ดังนั้นผู้ผลิตอาหารเองจะละเลยเรื่องนี้ไม่ได้อีกต่อไป

 

2. การจัดการซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน : หลายๆ คน คงจะกำลังสงสัยว่า “การจัดการซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน” คืออะไร ? อธิบายแบบทุกคนเข้าใจได้ คือ สินค้า วัตถุดิบ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ห่วงโซ่ที่เชื่อมโยงนี้เรียกว่า ซัพพลายเชน ซึ่งทุกกระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมาต้องทำงานสอดคล้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิต การขนส่ง การจัดเก็บ และที่สำคัญคือการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า ดังนั้นผู้ผลิตอาหารจะต้องมีระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ อันจะนำมาซึ่งความยั่งยืนนั่นเอง

 

3. ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง : จะเห็นว่าเทรนด์การบริโภคเปลี่ยนไป ผู้บริโภคในตลาดไม่ได้ต้องการของถูกเสมอไป แต่อยากได้ของดีมีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม ดังนั้นผู้ผลิตอาหารที่มุ่งเน้นการผลิตเชิงปริมาณ โดยไม่ใส่ใจคุณภาพผลผลิต โอกาสที่ธุรกิจจะโดนกดดันทั้งจากราคาตลาด และการแข่งขันที่สูง ดังนั้นการมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาคุณภาพผลผลิตคุณภาพสูง จะเป็นทางออกหนึ่งที่จะทำให้ปลีกตัวออกจากตลาดที่มีการแข่งขันสูง มาอยู่ในตลาดที่เฉพาะกลุ่มและสามารถขายผลิตผลในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด

 

4. มาตรฐานสินค้าอาหารปลอดภัยและเป็นมิตรต่อโลก : นอกเหนือจากเรื่องคุณภาพ อีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารของคุณได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้บริโภคก็คือ การมีมาตรฐานรับรองสินค้าอาหารว่าปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศให้ความสำคัญมาก ขณะที่ตลาดในประเทศไทยก็มีการตื่นตัวในด้านนี้ ดังนั้นมาตรฐานอาหารปลอดภัยยังต้องมีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม และการจัดการที่เป็นมิตรต่อโลก ซึ่งบางขณะการได้มาซึ่งมาตรฐานการรับรองอาจจะเป็นเรื่องของต้นทุน ดังนั้นอาจจะต้องค่อยเป็นค่อยไปหากจะขอมาตรฐานการรับรองที่จะเป็นใบเบิกทางไปในตลาดต่างประเทศ อาทิ มาตรฐานด้านเกษตรอินทรีย์ ซึ่งในแต่ละประเทศอาจจะมีมาตรฐานการรับรองที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องดูตลาดที่ต้องการจะไป

 

5. กฎระเบียบการค้าโลกที่เปลี่ยนไป : เราเคยกล่าวถึง มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี มาหลายครั้ง แต่ดูเหมือนว่าแนวโน้มทั่วโลกในขณะนี้จะออกสารพัดมาตรการในการจำกัดการนำเข้าอาหารของบางประเทศ โดยใช้มาตรการที่นอกเหนือจากระบบกีดกันแบบเดิมๆ คือการออกกฎที่ยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้น และหนึ่งในนั้นคือมาตรการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการเรื่องคาร์บอนเครดิต การจัดการในเรื่องการการใช้เชื้อเพลิงในการขนส่งที่เป็นตัวการในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้น SME จะต้องติดตามข่าวคราวของตลาดส่งออกในต่างประเทศ ตลอดจนข้อบังคับและระเบียบการต่างๆ อาทิ ในตลาดยุโรป สินค้าเกษตรและอาหารจากไทยมีแนวโน้มว่าอาจจะเผชิญปัญหาเรื่องต้นทุนคาร์บอนของสินค้า เป็นต้น

 

 

จากทั้ง 5 ความท้าทายใหม่ที่เราหยิบยกมาบอกกล่าวในที่นี้ ซึ่งบางข้อก็อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่นัก แต่จะเห็นว่ามีผู้บริโภคให้ความสำคัญมากขึ้น และเพื่อเป็นแนวทางและข้อมูลให้ผู้ประกอบการ SME และผู้ผลิตอาหารได้ตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวให้มากขึ้น เพราะภายใต้กติกาการค้าของโลกที่มุ่งเน้นการจัดการเพื่อความยั่งยืน ผู้ผลิตอาหารก็ควรเข้าใจเทรนด์นี้ และปรับธุรกิจให้สอดรับและก้าวทันเทรนด์การค้าโลก 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ชมความล้ำ!! ‘นวัตกรรม Low Carbon’ เปลี่ยนประเทศไทย สู่สังคมคาร์บอนต่ำ ได้อย่างไร?

ชมความล้ำ!! ‘นวัตกรรม Low Carbon’ เปลี่ยนประเทศไทย สู่สังคมคาร์บอนต่ำ ได้อย่างไร?

ก้าวไปอีกขั้นกับความล้ำนวัตกรรม Low Carbon ในงาน ESG Symposium 2023 เร่ง เปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ พบกับแนวคิด แรงบันดาลใจจากคนทำจริงระดับโลก…
pin
758 | 29/11/2023
4 ขั้นตอนเตรียมความพร้อมสู่การเป็น ‘ธุรกิจคาร์บอนต่ำ’  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ SME

4 ขั้นตอนเตรียมความพร้อมสู่การเป็น ‘ธุรกิจคาร์บอนต่ำ’ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ SME

ภาคธุรกิจต่างพยายามหาทางลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งกระแสดังกล่าวได้ขยายวงกว้างไปในหลายภาคส่วนหนึ่งในนั้น คือกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากประเทศที่เป็นคู่ค้าหลักอย่าง…
pin
690 | 17/11/2023
7 เช็คลิสต์ ‘สินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า’ (Deforestation-free products) เมื่อ EU ออกกฎแบนการนำเข้า ส่งออกไทย

7 เช็คลิสต์ ‘สินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า’ (Deforestation-free products) เมื่อ EU ออกกฎแบนการนำเข้า ส่งออกไทย

การดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมีความเข้มงวดขึ้นทั่วโลก สหภาพยุโรป (EU) เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง…
pin
559 | 15/11/2023
5 ความท้าทายใหม่ SME ด้านอาหาร เส้นชัยสู่ความยั่งยืน