จับตาอสังหาฯ ! กรุงเทพฯ-ปริมณฑล โซนตะวันตก

SME Update
26/02/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 5769 คน
จับตาอสังหาฯ ! กรุงเทพฯ-ปริมณฑล โซนตะวันตก
banner

พื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เขตตลิ่งชัน บางแค ภาษีเจริญ หนองแขม ทวีวัฒนา (กรุงเทพฯ) บางใหญ่ บางบัวทอง (นนทบุรี) พุทธมณฑล ศาลายา นครชัยศรี (นครปฐม) นับจากนี้ไปน่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง เมื่อภาครัฐมีแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่ง ล้วนแล้วแต่เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่จะเข้ามาพลิกโฉมพื้นที่โดยรอบทั้งสิ้น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


เริ่มจากโครงการที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน คือโครงการมอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M 81) ระยะทาง  96.41 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 55,927 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้งานก่อสร้างล่าช้าไปมาก เนื่องจากติดขัดในเรื่องของการจ่ายค่าชดเชยเวนคืนที่ดิน โดยในปี 2558 ประเมินกรอบวงเงินไว้ที่ 5,420 ล้านบาท

แต่ด้วยสภาพเมืองที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้สภาพการใช้ที่ดินเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจึงต้องจ่ายค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มอีก 12,534 ล้านบาท รวมเป็นเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมด 17,954 ล้านบาท

ปัจจุบันการก่อสร้างงานโยธามีความก้าวหน้า 25% ส่วนงานระบบและ O&M รูปแบบ PPP Gross Cost อยู่ระหว่างการเจรจาสัญญาฯ และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณปลายปี 2566 หากเปิดให้บริการแล้วจะช่วยร่นระยะเวลาในการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปกาญจนบุรี เหลือเพียงประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น จากเดิมจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง 

ที่สำคัญยังเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ที่จะกระจายความเจริญไปยังพื้นที่โซนตะวันตก รวมทั้งเชื่อมต่อกับโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายของเมียนมาอีกด้วย


นอกจากนี้ ในอนาคตกำลังจะมีโครงการเมกะโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่เกิดขึ้นตามมาอีกหลายโครงการ ดังนี้

1โครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ สายนครปฐม-ชะอำ (M8) วงเงินลงทุน 79,006 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค และแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนถนนเพชรเกษม ปัจจุบันอยู่ระหว่างกระทรวงการคลังเตรียมเสนอ ครม. เพื่ออนุมัติหลักการโครงการ

2โครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก (M9) วงเงินลุงทุน 78,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงบางขุนเทียนบางบัวทอง อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบเอกชนร่วมลงทุน (PPP) พร้อมการออกแบบกรอบรายละเอียด คาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2563 และช่วงบางบัวทองบางปะอิน สำรวจออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ

3. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านตะวันตก มีระยะทาง 98 กิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (ระยะทาง 254 กม.) ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม โดยด้านตะวันตกเริ่มต้นที่ถนนพระรามที่ 2 เชื่อมกับมอเตอร์เวย์ บางใหญ่-กาญจนบุรี ถึงถนนสายเอเชีย บริเวณ จ.พระนครศรีอยุธยา 

4โครงการถนนต่อเชื่อมถนนนครอินทร์-ทางหลวงชนบท สาย นฐ.3004 (ศาลายา) ระยะทาง 12 กิโลเมตร โดยจะก่อสร้างตามแนวตะวันตก-ตะวันออก พาดผ่านพื้นที่ 2 จังหวัด 3 อำเภอ ได้แก่ อ.บางกรวย อ.บางใหญ่ ของ จ.นนทบุรี และ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม หากก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มเติมโครงข่ายใหม่ และลดปัญหาการจราจรของพื้นที่โซนตะวันตกของกรุงเทพฯ โดยเฉพาะบนถนนกาญจนาภิเษก และถนนบรมราชชนนี

ขณะนี้โครงการได้ดำเนินการศึกษาและออกแบบรายละเอียดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หากได้รับความเห็นชอบและนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการแล้ว คาดว่าจะเปิดประมูลและดำเนินการก่อสร้างได้ประมาณปี 2565

5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 มีจุดเริ่มต้นจากสถานีหลักสองของรถไฟฟ้า MRT ช่วงหัวลำโพง-บางแค แล้วยกระดับไปตามเกาะกลางของถนนเพชรเกษม สิ้นสุดที่รอยต่อระหว่างเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร และเทศบาลนครอ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 

แม้ว่าปัจจุบันสถานะของโครงการจะถูกชะลอการขออนุมัติโครงการออกไป หลังภาครัฐต้องการให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการลงทุนมากขึ้น ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำลังอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบ PPP และรอประเมินจำนวนผู้โดยสารหลังเปิดเดินรถสายสีน้ำเงินครบตลอดสาย โดยหากจำนวนผู้โดยสารเพิ่มเป็น 1 ล้านคนต่อวัน จะเจรจากับบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานสายสีน้ำเงิน เพื่อให้ลงทุนในส่วนดังกล่าวทั้งงานโยธาและระบบการเดินรถต่อไป

6. โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งงานโยธาแล้วเสร็จ 100% รอเปิดให้บริการพร้อมๆ กับสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และสถานีกลางบางซื่อ ประมาณต้นปี 2564 

7โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ระยะทาง 16.4 กิโลเมตรวงเงินลงทุน 142,789 ล้านบาท ล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการแล้ว โดยจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost ระยะเวลา 30 ปี ในส่วนงานโยธาช่วงตะวันตก และลงทุนงานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถ และการเดินรถตลอดสายจากบางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร พื่อเชื่อมโยงการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะของกรุงเทพมหานครระหว่างฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก คาดว่าสามารถปิดบริการได้ประมาณปี 2569 

8. โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่จุดเชื่อมต่อกับโรงจอดรถที่บริเวณบางหว้า (เชื่อมกับสายสีน้ำเงินและบีทีเอส) จากนั้นวิ่งไปทางทิศเหนือตามแนวถนนราชพฤกษ์ (สร้างบนพื้นที่เกาะกลางถนน) สิ้นสุดที่ทางลาดลงของสะพานข้ามรถไฟสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) และรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี) ปัจจุบัน กทมฯ กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม (EIA)

9โครงการศึกษาความเหมาะสมในการจัดตั้งสนามบินนครปฐม เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารและเที่ยวบินจากสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองที่มีแนวโน้มแออัด รวมถึงรองรับเที่ยวบินเช่าเหมาลำ โดยพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการก่อสร้าง คือ อำเภอบางเลน (ต.บางระกำ ต.ลำพญา) และอำเภอนครชัยศรี (ต.บางแก้วฟ้า ต.บางพระ ต.วัดละมุด) ซึ่งอยู่ห่างจากโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ประมาณ 5.3 กิโลเมตร และใช้ระยะเวลาในการเดินทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1 ชั่วโมง 10 นาที

ขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้และจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดลอม (EIA) ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ 2562  โดยผลศึกษาจะเสร็จเดือนก.พ. 2563 จากนั้นจะขออนุมัติจากกระทรวงคมนาคม และเสนอคณะรัฐมนตรีกลางปี 2564 ซึ่งตามแผนงานคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปี 2566  มีกำหนดเปิดให้บริการประมาณปี 2569

 

5 ทำเลแนวรถไฟฟ้า ราคาที่ดินเริ่มขยับ

เมื่อโครงการเมกะโปรเจ็กต์เริ่มมีความคืบหน้า ก็ส่งผลทำให้ราคาที่ดินมีการขยับตัวเพิ่มขึ้น โดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ประจำไตรมาส 4 ปี 2562 พบว่า มีค่าดัชนีเท่ากับ 284.7 จุด ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 256.5 จุด และปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 223.2 จุด

สำหรับราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาที่เพิ่มมาก ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลายสายรถไฟฟ้าที่มีแผนจะเปิดให้บริการในอนาคตอันใกล้  ซึ่งเป็นทำเลที่มีการพัฒนาโครงการบ้านจัดสรร 

ส่วนทำเลเฉพาะที่มีเส้นทางรถไฟฟ้าผ่าน 5 อันดับแรก ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาเพิ่มขึ้นสูงสุด เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) ส่วนใหญ่เป็นทำเลที่มีแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง และที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต ได้แก่


1) สายสีเขียวเหนือ (คูคต-ลำลูกกา) ซึ่งเป็นโครงการที่ยังไม่ก่อสร้าง แต่เป็นส่วนต่อขยายของสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่คูคต) ที่สร้างเสร็จเปิดให้บริการแล้ว 4 สถานี มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.0 ซึ่งบริเวณนี้มีการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินมากที่สุดต่อเนื่องมาหลายไตรมาสแล้ว

2) สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.8 ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยรวมมีความคืบหน้าการก่อสร้างไปแล้ว 48.1%

3) สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) ซึ่งเป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8

4) สายสีเขียว ใต้ (สมุทรปราการ-บางปู) เป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายจากสายสีเขียว(แบริ่ง-สมุทรปราการ) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เช่นเดียวกับ สายสีเขียวใต้(แบริ่งสมุทรปราการ) ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการไปแล้วประมาณ 1 ปีที่มีอัตราการเปลี่ยนของราคาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.7

5) สายสีเทา (วัชรพล-พระราม 9 -ท่าพระ) ซึ่งเป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


เศรษฐกิจไทยในวันที่ Covid-19 ระบาดหนัก

30 สินค้าแนวโน้มส่งออกขยายตัวปี 63


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1323 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1692 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1933 | 25/01/2024
จับตาอสังหาฯ ! กรุงเทพฯ-ปริมณฑล โซนตะวันตก