การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี นำมาซึ่งการเกิดบรรทัดฐานใหม่ๆ สร้างจุดเปลี่ยนสำคัญทั้งในชีวิตประจำวัน รวมทั้งในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นในมิติที่ทำให้ได้รับความสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งความเสี่ยงจากการถูกทดแทนด้วยขีดความสามารถและความฉลาดที่มากขึ้นของ AI โดยเฉพาะในฐานะฟันเฟืองสำคัญในตลาดแรงงานที่อาจจะถูก AI เข้ามาทดแทน แต่อย่างไรก็ตามสำหรับ ‘นักการตลาด’ แล้ว ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ AI ทดแทนไม่ได้ ซึ่งสาเหตุก็เป็นเพราะหุ่นยนต์ไม่สามารถเข้าใจ 8 สกิลดังต่อไปนี้
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
1. เข้าใจพื้นฐานของ Machine
Learning
Machine Learning เป็นส่วนการเรียนรู้ของเครื่องที่ถูกใช้งานเสมือนเป็นสมองของ
AI สามารถเรียนรู้แบบแผนได้หลากหลาย
ดังนั้นเราจึงควรมีความเข้าใจหลักการทำงานของ Machine Learning เช่น การค้นหา แยกแยะ การคาดคะเนจากฐานข้อมูล การวิเคราะห์ผลทางสถิติ
เป็นต้น เพื่อที่จะได้ประมวลผลข้อมูลได้อย่างถูกต้อง
2. เข้าใจความต้องการของลูกค้า
แม้ว่า AI จะสามารถรับข้อมูลได้มากกว่าคน
และมีความสามารถในการทำงานที่แม่นยำ แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลดิบที่ได้จาก AI ยังขาดความคิดสร้างสรรค์ในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
และนั่นคือคุณค่าของนักการตลาดที่จะต้องนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการออกแบบกลยุทธ์
ดังนั้นทักษะที่นักการตลาดจะต้องพัฒนา คือการทำความเข้าใจลูกค้า
ความต้องการของลูกค้าคืออะไร รู้สึกอย่างไร ต้องการความช่วยเหลือด้านไหน เป็นต้น
3. การสร้างทีมและมอบหมายงาน
อย่างที่รู้กัน ‘ทีมเวิร์ค’
คือปัจจัยสำคัญให้งานประสบความสำเร็จ
การจะสร้างทีมและมอบหมายงานจะอาศัยข้อมูลและผลงานอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ
นายจ้างหรือหัวหน้างานอาจจะต้องศึกษานิสัยใจคอ ทัศนคติ ความรับผิดชอบต่องาน
การเข้าสังคม หรือแม้แต่การวางตัวของคนเหล่านั้น เพื่อการจัดสรรทีมที่ดี
มีความสามัคคี แต่ละคนได้รับงานที่ตรงตามความสามารถที่แท้จริง
ซึ่งความสามารถที่แท้จริงของแต่ละคนคงไม่มีระบุใน Resume อย่างแน่นอน
เรื่องนี้คนที่ทำงานด้วยกันเท่านั้นจะเข้าใจ ทั้งการประมวลผลของ AI ในปัจจุบันนี้คงไม่แตกฉานถึงขั้นนี้ เพราะสิ่งเหล่านี้จะสั่งสมจากประสบการณ์
การผ่านคน ผ่านโลก และตกผลึกได้
4. คิดแบบ Growth Mindset
AI ไม่มีความรู้สึกนึกคิดเหมือนมนุษย์ที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ในทันทีทันใด
ดังนั้นการคิดแบบ Growth Mindset จะทำให้นักการตลาดตัดความกังวลที่
AI จะมาแทนที่ หรือเลิกกังวลว่าเราจะไม่สามารถทำหน้าที่ได้ดีเท่า AI เพราะการคิดแบบ Growth Mindset คือความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง
ไม่กลัวที่จะล้มเหลว ไม่กลัวที่จะเริ่มต้นใหม่ เพราะคนที่มี Growth Mindset เหล่านี้ จะรู้จักพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
5. ความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์เป็นทักษะพื้นฐานของนักการตลาด โดยเฉพาะในยุคดิจิทัล
การสื่อสารผ่านออนไลน์ยิ่งจะต้องสื่อสารให้ผู้อ่านหรือผู้ชม
สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารไปในทิศทางเดียวกันกับที่องค์กรต้องการจะสื่อความหมาย
ดังนั้นการผลิตคอนเทนต์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ในการผลิต
เพื่อให้ดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งการใช้ AI ช่วยในการผลิตคอนเทนต์มีประโยชน์อย่างมหาศาล เพราะการประมวลผลของ AI จากการเก็บคำ หรือข้อความต่างๆ บนออนไลน์
จะทำให้เรารู้ว่าลูกค้าชอบคอนเทนต์แบบไหน และคอนเทนต์แบบไหนทำให้ลูกค้าคลิกเข้ามาดู
ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนนักการตลาดในการที่จะผลิตคอนเทนต์ให้โดนใจลูกค้า
6. การคิดเชิงวิพากษ์
และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
แม้ว่า AI จะสามารถคำนวณเรื่องต่างๆ ได้แม่นยำมากขึ้น
เก็บข้อมูลได้มากมาย แต่ในหลายๆ
เรื่องก็ยังต้องใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ในการตัดสินบางเรื่องอยู่ เช่น
ทนายอาจใช้ AI เก็บข้อมูลหลักฐานต่างๆ
เพื่อประกอบการพิจารณาคดี แต่สุดท้ายอัยการหรือผู้ที่อำนาจในการตัดสินก็ยังคงเป็นมนุษย์นั่นเอง
7. ทักษะการโน้มน้าวใจ
นับว่าเป็นหัวใจสำคัญในการปิดข้อตกลงทางธุรกิจในทุกๆ ครั้ง
โดยทักษะซอฟต์สกิลเหล่านี้
ล้วนเป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับมนุษย์อย่างมาก
เพราะตราบใดที่เรายังต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น แม้เพียงแค่ 1 คนเราก็ยังจำเป็นต้องใช้ทักษะเหล่านี้ไม่มากก็น้อย
8. นักวางแผน-วางกลยุทธ์
ในการทำธุรกิจถือว่ามีความสำคัญมาก
เพราะเป็นกระบวนการกำหนดกลยุทธ์หรือทิศทางของบริษัท
รวมถึงการตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรทั้งในส่วนของเงินทุนและบุคลากร
ประเด็นสำคัญอยู่ที่การวางเป้าหมายในอนาคตสำหรับบริษัท อาจเป็นในกรอบ 3-5 ปีหรือมากกว่านี้
โดยมีแผนการธุรกิจที่เขียนแจกแจงไว้อย่างดีกำกับไว้ด้วย
สิ่งเหล่านี้จะต้องประกอบด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เข้าใจธุรกิจ และ ‘กล้าเสี่ยง’
ซึ่งข้อนี้สำคัญ เราคงไม่เคยได้ยินมาก่อนใช่ไหมว่า AI มีการตัดสินใจโดยปราศจากข้อมูล
ขณะที่นักวางแผน นักวางกลยุทธ์ ไม่เพียงใช้ข้อมูล แต่ยังมีสกิลที่เรียกว่า
‘โยนหัวก้อย’ คือไม่รู้หรอกว่าการตัดสินใจแบบนี้จะดีหรือตรงกันข้าม
แต่มีความเชื่อมั่นและกล้าทำโดยสัญชาตญาณซึ่งสิ่งนี้เราจะหาไม่ได้ในหุ่นยนต์