คนไทยสูงวัยขึ้น ดันตลาดแรงงานลาวเข้าประเทศ

AEC Connect
12/01/2024
รับชมแล้วทั้งหมด 4926 คน
คนไทยสูงวัยขึ้น ดันตลาดแรงงานลาวเข้าประเทศ
banner

ประชากรไทยที่สูงวัยมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้โอกาสด้านการทำงานต่างๆ ก็ขยายตัวไปสู่แรงงานต่างชาติมากขึ้น โดยเฉพาะแรงงานที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน


นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ รองปลัดกระทรวงแรงงานกล่าวในที่ประชุม ซึ่งจัดโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 66 ที่ผ่านมาว่า ไทยกำลังขาดแคลนแรงงาน ซึ่งหนทางเดียวที่จะเติมเต็มช่องว่างดังกล่าวก็คือการนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน


และเพื่อตอบสนองความต้องการจ้างแรงงานข้ามชาติจากบริษัทต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น ไทยจึงช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าประเทศของแรงงานเหล่านั้น โดยเมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลไทยได้ขยายเวลาการขออยู่ต่อของแรงงานข้ามชาติจากเมียนมา สปป. ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ไปจนถึงวันที่ 20 มกราคม 2567 สำหรับแรงงานที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการขอเอกสารอนุญาตทำงาน และสำหรับแรงงานที่อยู่ภายใต้การทำ MoU ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาล สปป. ลาว เมียนมา และกัมพูชา จะสามารถขออยู่ต่อได้ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 เลื่อนออกจากเดิมคือวันที่ 31 ธ.ค. 2566


การเคลื่อนไหวในครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญของ สปป. ลาว ที่กำลังต่อสู้กับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อสูง และการอ่อนค่าของเงินกีบในช่วงปีที่ผ่านมา โดยจากภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทายนี้ทำให้โอกาสในการทำงานในไทยของแรงงานข้ามชาติจาก สปป. ลาว มีมากขึ้น


นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้แรงงานข้ามชาติจาก สปป. ลาว มีมากขึ้นคือค่าจ้างแรงงานในประเทศต่ำ ที่ถึงแม้จะมีการปรับอัตราค่าจ้างเพิ่มขึ้นแล้ว แต่ก็ยังต้องต่อสู้กับเงินกีบที่อ่อนค่าลง ด้วยเหตุนี้แรงงานชาวลาวจึงแสวงหาโอกาสในการทำงานในประเทศอื่น ทำให้อุปสงค์ของแรงงานข้ามชาติในไทยก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน


โดยแรงงานชาวลาวคนหนึ่งที่ทำงานในจังหวัดอุดรธานีกล่าวกับสำนักข่าว Laotian Times ว่า ค่าจ้างแรงงานใน สปป.ลาว อยู่ในระดับต่ำ ทำให้หลายคนหันมาเป็นแรงงานในไทยมากขึ้น ซึ่งแรงงานคนดังกล่าวได้ค่าจ้างที่ประมาณ 500 บาทต่อวัน ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำใน สปป. ลาว อยู่ที่ 1,600,000 กีบ หรือประมาณ 2,700 บาทต่อเดือน


นอกจากนี้ รัฐบาล สปป. ลาว ยังอำนวยความสะดวกให้แก่แรงงานสำหรับการจ้างงานแบบชั่วคราวในต่างประเทศอย่างเกาหลีใต้ ไทย และญี่ปุ่น ผ่านโครงการและช่องทางต่างๆ ที่ถูกกฎหมาย ซึ่งมักเป็นโครงการที่มีการจ้างงานระยะสั้น เพื่อให้แรงงานได้ไปฝึกทักษะและนำกลับมาใช้ในประเทศ


อย่างไรก็ดี จากอัตราการเกิดในไทยที่ชะลอตัวลงตั้งแต่ช่วงปี 2503 ประกอบกับการถดถอยทางเศรษฐกิจของ สปป. ลาว ทำให้ตลาดแรงงาน สปป. ลาว มีตัวเลือกจำกัด และการเคลื่อนย้ายแรงงานที่เกิดขึ้นก็ไม่เพียงแต่สะท้อนถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจ แต่ยังสะท้อนถึงการแสวงหาการพัฒนาทักษะของแรงงานที่ตั้งเป้าหมายจะนำความพัฒนากลับไปสู่ สปป. ลาว ด้วยเช่นกัน


ที่มา: Thailand’s aging population drives Laos labour market across the border, The Star

ผู้เรียบเรียง: ณภัสสร มีไผ่แก้ว



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘มาเลเซีย’ เล็งขยายท่าเรือเทียบชั้นสิงคโปร์

‘มาเลเซีย’ เล็งขยายท่าเรือเทียบชั้นสิงคโปร์

ท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของมาเลเซียวางแผนขยายขีดความสามารถในการรองรับสินค้าของท่าเรือเพิ่มเป็น 2 เท่าในทศวรรษข้างหน้าที่จะถึงนี้ โดยตั้งเป้าที่จะไล่ตามศูนย์กลางภูมิภาคอย่างสิงคโปร์…
pin
448 | 26/04/2024
ธุรกิจไหนดึงดูด FDI สู่ ‘เวียดนาม’

ธุรกิจไหนดึงดูด FDI สู่ ‘เวียดนาม’

สำนักงานการค้าต่างประเทศของเวียดนามระบุว่ามีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) เข้ามาในเวียดนามเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์…
pin
363 | 12/04/2024
ก้าวทัน ‘ภาษีเวียดนาม’ 2567

ก้าวทัน ‘ภาษีเวียดนาม’ 2567

ในปี 2567 มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องภาษีหลายประเภทในเวียดนาม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและปรับตัวให้สอดคล้องกับภาษีระหว่างประเทศ โดยภาษีหลัก ๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนที่บริษัทต่างชาติควรรู้มีดังนี้…
pin
273 | 29/03/2024
คนไทยสูงวัยขึ้น ดันตลาดแรงงานลาวเข้าประเทศ