ธุรกิจ SME กับภาษีที่ต้องจ่าย?

SME Update
20/03/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 8021 คน
ธุรกิจ SME กับภาษีที่ต้องจ่าย?
banner

การจะเป็นผู้ประกอบธุรกิจ SME ที่ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ใช่เพียงแค่เก่งด้านการตลาด การบริหาร หรือมีลูกค้าอยู่ในมือ มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายและตรงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รู้เรื่องกระบวนการผลิตเป็นอย่างดีเท่านั้น แต่ยังต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องของการเงิน บัญชี และกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายภาษีอากร ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากๆ ที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ปราศจากปัญหา ความเสี่ยง ความเดือดร้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในภายหลัง มาดูกันดีกว่าว่ามีภาษีอะไรบ้าง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. ภาษีเงินได้

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ประกอบกิจการด้วยการให้บริการ การผลิต ค้าปลีก ค้าส่ง ต้องนำรายได้มาคำนวณเพื่อหักภาษีตามเกณฑ์การประเมิน ซึ่งสามารถหักแบบเหมาจ่าย หรือขอหักตามความจำเป็นตามสมควรได้ รวมทั้งสามารถหักค่าลดหย่อนต่างๆ ได้ด้วย

การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมินที่ยังไม่หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน ไม่ว่าในปีนั้นๆ จะมีผลกำไรหรือขาดทุน

ภาษีนิติบุคคล เป็นภาษีสำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคล ในรูปแบบบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยกรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บเพื่อนำส่งรายได้ให้ภาครัฐ เก็บในอัตราสูงสุดไม่เกิน 30% ของกำไรสุทธิ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการแบบไหน ต้องยื่นภาษี 2 ครั้งต่อปี ดังนี้

บุคคลธรรมดา : แบบภาษีบุคคลธรรมดาครึ่งปีใช้ ภ.ง.ด.94 และภาษีเงินได้ประจำปีใช้ ภ.ง.ด.90

นิติบุคคล : แบบภาษีเงินได้ครึ่งปีใช้ ภ.ง.ด.51 และภาษีเงินได้ประจำปีใช้ ภ.ง.ด.50

 

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

คือภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าสินค้าหรือบริการที่มีการซื้อขาย โดยผู้มีหน้าที่ต้องจดทะเบียน VAT ก็คือผู้ประกอบการมียอดขายมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าถ้าธุรกิจจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทันที ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เสมอไป เพราะถ้าเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ตามที่มียอดขายน้อยกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ไม่ต้องไปจดทะเบียน VAT ก็ได้ แต่กิจการที่เป็นธุรกิจบุคคลธรรมดาหรือจดทะเบียนพาณิชย์ ถ้ามีรายได้จากการขายหรือบริการมากกว่า 1.8 ล้านบาท ต้องไปจดทะเบียน VAT ปัจจุบันอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มคือร้อยละ 7 จากยอดมูลค่าสินค้าและบริการ มาทำความรู้จักกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประกอบไปด้วยภาษีขายและภาษีซื้อ

ภาษีขาย คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้จดทะเบียน VAT เรียกเก็บจากผู้ซื้อในการขายสินค้าหรือบริการ เป็นภาษีที่ต้องนำส่งกรณีขายมากกว่าซื้อ

ภาษีซื้อ คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการต้องชำระให้ผู้ขายในการซื้อสินค้า เป็นภาษีที่ขอคืนได้ถ้าน้อยกว่าภาษีขายในรอบนั้น

นอกจากธุรกิจที่มียอดขายไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีไม่ต้องจดทะเบียน VAT แล้ว ยังมีธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มอีก โดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียน VAT จำเป็นต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มโดยใช้แบบ ภพ.30 และต้องยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป รวมทั้งต้องจัดทำเอกสารดังนี้มีใบกำกับภาษี, รายงานภาษีขาย, รายงานภาษีซื้อ, รายงานสินค้าและวัตถุดิบ

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่งเพิ่ม = ภาษีขาย - ภาษีซื้อ (กรณีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ)

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขอเครดิตคืน = ภาษีซื้อ - ภาษีขาย (กรณีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย)

 

3. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

เป็นภาษีที่กฎหมายกำหนดให้ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินตามมาตรา 40 ต้องมีหน้าที่หัก ณ ที่จ่ายตามอัตราที่กฎหมายกำหนดเพื่อนำส่งให้รัฐ หากไม่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ต้องมีโทษปรับและต้องร่วมรับผิดชอบกับผู้มีเงินได้ด้วย กรณีกิจการจดเป็นนิติบุคคลและจ่ายเงินเดือนให้กับลูกจ้างไปหรือจ่ายให้กับผู้รับจ้างทำของไป นิติบุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ และเหลือเท่าไหร่ก็จ่ายเป็นเงินไปพร้อมใบภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับผู้รับเงิน


 

4. ภาษีบำรุงท้องที่

ถ้าเป็นเจ้าของที่ดิน ก็จะถูกเก็บภาษีเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โดยต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ในเดือนเมษายนของทุกปี

 

5. ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง

สำหรับบุคคลที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับหอพัก ห้องเช่า อพาร์ทเมนท์ ต้องเสียภาษี 12.5% ต่อปีของรายได้จากค่าเช่า และต้องชำระภาษีส่วนนี้ที่สำนักงานเขตหรืออำเภอ ที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

 

6. ภาษีป้าย

ถ้าไม่ใช่ป้ายในลักษณะที่ได้รับการยกเว้นต้องเสียภาษีประเภทนี้ในทุกๆ ป้าย ไม่ว่าจะเป็นป้ายติดหน้าร้าน ป้ายโฆษณา โดยภาษีป้ายจะคิดจากขนาดของป้ายเริ่มต้นที่ 200 บาท ต้องยื่นชำระที่สำนักงานเขตหรืออำเภอที่ตั้งของป้าย ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

 

7. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการเงิน หลักทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์


นอกจากภาษีที่กล่าวมาแล้วยังมีภาษีสรรพาสามิต ถ้ากิจการของคุณเป็นกิจการที่ขายน้ำ เครื่องดื่ม และมีภาษีศุลกากร กรณีเป็นกิจการนำเข้าและส่งออก แต่โดยส่วนใหญ่นิติบุคคลทั่วไปจะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับภาษีที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ควรรู้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการถูกปรับได้ภายหลัง

 

แหล่งอ้างอิง :

https://www.rd.go.th/

https://bsc.dip.go.th/

http://www.bangkok.go.th/

  


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1423 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1844 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
2035 | 25/01/2024
ธุรกิจ SME กับภาษีที่ต้องจ่าย?