ปั้นเศรษฐกิจด้วย ‘สตรีทฟู้ด’ให้เป็นมากกว่า ‘ห้องครัวชุมชน’

Edutainment
01/02/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 3850 คน
ปั้นเศรษฐกิจด้วย ‘สตรีทฟู้ด’ให้เป็นมากกว่า ‘ห้องครัวชุมชน’
banner

ถนนสายอาหาร "สตรีทฟู้ด"(Street Food) หรือ "ร้านอาหารข้างทาง" หนึ่งในวัฒนธรรมอาหารการกินที่พบเจอได้ในหลายๆประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศแถบเอเชีย ใครเคยไปญี่ปุ่น จะเห็น “ร้านกินดื่ม” หรือที่เรียกว่า อิซากายะ จะมีคนทำงานออฟฟิศ นั่งจิบเบียร์คุยกัน พร้อมกับแกล้มปิ้งย่าง และถ้าไปเกาหลีใต้ จะเห็นหนุ่มสาว นั่งดื่มโซจู และแกล้มอาหารเกาหลีดั้งเดิมในร้านเต้นท์แดง ข้างทาง


ในสิงคโปร์ รัฐบาลถึงขั้นจะยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก “ห้องครัวของชุมชน” เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติกันเลยทีเดียว


ขณะที่ประเทศไทยที่ขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนของ “สตรีทฟู้ด”ที่มีมนต์เสน่ห์กระชากใจนักท่องเที่ยวต่างชาติ ให้มาเยือนใครที่ได้มาลิ้มลองต่างกล่าวตรงกันว่า สตรีทฟู้ดไทยมีดีตรงที่รสชาติอร่อย มีอาหารให้เลือกมากมายหลากหลาย มีขายทุกตรอกซอกซอย หากินได้เกือบๆตลอด24 ชั่วโมง


ยิ่งกว่านั้นสนนราคาไม่แพง อาหารที่ขึ้นชื่อคือ ผัดไทย หอยทอด ส้มตำ ก๋วยจั๊บ  ก๋วยเตี๋ยว ราดหน้า ข้าวมันไก่ ข้าวเหนียวมะม่วง  รวมถึงอาหารอีสานรสแซ่บอย่าง ลาบ น้ำตก ข้าวเหนียว ส้มตำ เป็นต้น


สตรีทฟู้ดไทยจึงเป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือน ยิ่งในเมืองหลวงอย่าง กรุงเทพมหานคร ได้ชื่อว่าเป็น สวรรค์ของนักชิมและได้รับการยอมรับว่าเป็นอันดับต้นๆ จาก 23 ประเทศทั่วโลกเลยทีเดียวซึ่งก็มีรางวัลระดับโลกต่างๆการันตีมากมาย


ย่านที่ขึ้นชื่อว่า มีอาหารข้างทางที่มีรสชาติดีที่สุด คือ ‘ย่านเยาวราช’ หรือ ไชน่าทาวน์ เจริญกรุง บางรัก รองลงมาก็เป็น ‘ย่านถนนข้าวสาร’ บางลำพู ซึ่งเป็นแหล่งรวมของนักท่องเที่ยวจากทุกชาติ ‘ย่านสีลม สามย่าน นางเลิ้ง ท่าพระจันทร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ’ ซึ่งแหล่งรวมสตรีทฟู้ดใจกลางกรุง แต่ถ้านอกเมืองมาหน่อยต้องยกให้ ‘ย่านตลาดโต้รุ่งโชคชัยสี่’  เป็นอีกหนึ่งย่านที่มีอาหารข้างทางให้เลือกชิมหลากหลาย


[caption id="attachment_28377" align="alignnone" width="800"] บรรยากาศร้านอาหารริมทาง บนถนนเยาวราช[/caption]


สตรีทฟู้ดไทยไร้ระเบียบ แต่ดูรวมๆแล้วมีเสน่ห์


นอกจากมีมนต์เสน่ห์แล้ว สตรีทฟู้ดไทยยังเป็นเครื่องจักรเล็กๆที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตรายได้ยังกระจายลงสู่ชุมชน สู่คนระดับล่างเป็นเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง จากการสำรวจของ Euromonitor International บริษัทผู้วิจัยตลาดอาหารโลก เปิดเผยว่า ในปี 2560 ภาพรวมตลาดอาหารข้างทางในประเทศไทย หรือ สตรีทฟู้ด มีมูลค่า 276,000 ล้านบาท คาดว่าในปี 2564 จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 340,000 ล้านบาท นับว่าเติบโตอย่างต่อเนื่องเลยทีเดียว


ด้วยเหตุนี้ สตรีทฟู้ดไทย จึงไม่เพียงแต่เป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว และทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองที่มีสีสันและมีชีวิตชีวายิ่งขึ้นเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างรายได้ไม่น้อยให้แก่ประเทศไทยอีกด้วยปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจร้านอาหารข้างทางในไทยเติบโตอีก 4 ปีข้างหน้า มาจาก เมนูอาหารไทยได้รับการจัดอันดับโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากบ้านเรามี ตลาดสดซึ่งเป็นที่ขายวัตถุดิบในการทำอาหาร ได้รับการจัดอันดับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับต้น ๆ ของโลกเช่นกัน ประกอบกับมีแนวโน้มชัดเจนที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มการใช้จ่ายซื้อหาอาหารไทยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาไทย ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


เหนือสิ่งอื่นใด สตรีทฟู้ดไทย ยังเป็นตัวแทนสะท้อนวัฒนธรรมการกินแบบไทยๆ ตั้งแต่ความสะดวกสบายในการเสาะหาแหล่งอาหารการกิน มีเมนูหลากหลายเป็นร้อยเป็นพันเมนู แสดงให้เห็นถึงแหล่งวัตถุดิบอาหารของไทย อุดมสมบูรณ์ จึงสามารถรังสรรค์เมนูสตรีทฟู้ดออกมาได้อย่างมีสีสัน ครบเครื่อง ไม่แพ้ชาติใดในโลก


ที่สำคัญปัจจัยที่ทำให้สตรีทฟู้ดเมืองไทย ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับนักชิม นักท่องเที่ยวทั่วโลกอาจเป็นเพราะ “เสน่ห์ปลายจวัก” ของคนไทยทำให้ ทั้งรสชาติ คุณภาพ และการปรุงใหม่แบบจานต่อจานบนกระทะร้อนๆออกมาค่อนข้างดีได้มาตรฐาน บวกกับกระแสร้านอาหารข้างทางในประเทศไทยไม่เคยตกยุค โดยเฉพาะกรุงเทพได้รับการยอมรับให้เป็นเมืองที่มีอาหารข้างทางดีที่สุดในโลก


[caption id="attachment_28379" align="alignnone" width="800"]สตรีทฟู้ด บรรยากาศร้านอาหารข้างทาง[/caption]


ถึงเวลาจัดระเบียบ ไม่ตึงเกินไป และหย่อนจนเกินงาม


อีกปัจจัยหนึ่งที่หนึ่งที่ทำให้อาหารข้างทางบ้านเรามีเสน่ห์คือความไม่เรียบร้อยซึ่งคนไทยอาจจะดูเกะกะตา แต่ในสายตาคนต่างชาติที่ไม่เคยมาเขาจะดูเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งถ้าการจัดระเบียบกันแบบเข้มงวดตามที่ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองกำลังทำอยู่ในขณะนี้ก็จะทำให้เสน่ห์การกินอาหารข้างทางสูญหายไปก็เป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่ง


อาจจะมีการจัดระเบียบบ้าง เช่น คุณภาพอาหาร ความสะอาด ความเป็นระเบียบ แต่ต้องไม่ไปทำลายบรรยากาศของร้านอาหารข้างทางที่เรียกว่า สตรีทฟู้ด  คงเป็น เรื่องที่น่าเสียดายหากกรุงเทพฯจะไม่มี อาหารข้างทางอีกต่อไป


อย่างไรก็ตาม ในอีกมุมมองสตรีทฟู้ดจึงไม่ใช่แค่เรื่องการซื้อขายเพียงอาหารริมถนน ที่ใครใคร่ค้าขายได้ตามใจชอบ แต่มันยังเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ การทำมาหากินของแรงงานชั้นฐานราก แรงงานนอกระบบ ตลอดจนถึง สะท้อนความหละหลวมของกติกาสังคมวัฒนธรรมในเขตเมืองอีกด้วย


ดังนั้น รัฐควรส่งเสริมให้สตรีทฟู้ดไทย ให้เป็นเอกลักษณ์หนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและควรสนับสนุนภายใต้มาตรการที่เหมาะสม ขณะเดียวกันให้อยู่ในกรอบของความพอดี ไม่ตึงไม่หย่อนจนเกินไป

สถานที่ท่องเที่ยวตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ที่ไม่ควรพลาด

เที่ยวชม Street Art ศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมย่านเก่ากลางกรุง

Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตรุษจีนยุคใหม่ไร้ Foodwaste เคลียร์ของไหว้เป็นเมนูเด็ด แถมลดโลดร้อน

ตรุษจีนยุคใหม่ไร้ Foodwaste เคลียร์ของไหว้เป็นเมนูเด็ด แถมลดโลดร้อน

ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นประเด็นที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะยิ่งนับวัน การคืบคลานเข้ามาของสภาวะโลกร้อนที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหลายภาคส่วน…
pin
777 | 07/02/2024
‘เวียดนาม’ โตไวในธุรกิจรักษ์โลก ไทยอยู่อันดับเท่าไหร่ในตลาดอาเซียน

‘เวียดนาม’ โตไวในธุรกิจรักษ์โลก ไทยอยู่อันดับเท่าไหร่ในตลาดอาเซียน

จากข้อมูลโดย ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (sdgmove)  ระบุว่า เดือนเมษายน ปี 2565 ที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามเผยแพร่ยุทธศาสตร์ชาติ…
pin
11077 | 26/10/2023
#กินเจ2566 เช็ค 8 สถานที่ใกล้ตัว งาน‘เทศกาลกินเจ 2566’ อิ่มท้อง อิ่มใจ ได้บุญ

#กินเจ2566 เช็ค 8 สถานที่ใกล้ตัว งาน‘เทศกาลกินเจ 2566’ อิ่มท้อง อิ่มใจ ได้บุญ

ช่วงเวลาของสายบุญ ที่จะเวียนมาปีละครั้ง สำหรับเทศกาลกินเจ หรือ ประเพณีถือศีลกินผัก ตามประเพณีแบบลัทธิเต๋า รวม 9 วัน โดยกำหนดวันตามจันทรคติ…
pin
13533 | 03/10/2023
ปั้นเศรษฐกิจด้วย ‘สตรีทฟู้ด’ให้เป็นมากกว่า ‘ห้องครัวชุมชน’