1 ตุลาคม สรรพสามิตปรับขึ้นภาษีความหวาน

SME Update
11/09/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4585 คน
1 ตุลาคม สรรพสามิตปรับขึ้นภาษีความหวาน
banner

ภาษีความหวาน ผู้ประกอบการหลายท่านคงทราบแล้ว 1 ตุลาคม นี้ สรรพสามิตจัดเก็บภาษีความหวานภายใต้พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต รอบใหม่ซึ่งมีการปรับ 2 ปีครั้งเริ่มครั้งแรกในปี 2560 ที่ผ่านมาและ รอบที่กำลังจะถึง คือ 1 ตุลาคม - 30 กันยายน 2564

โดยกรมสรรพสามิตได้เสนอแนวทางการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่ม โดยเพิ่มการจัดเก็บภาษีตามปริมาณน้ำตาลโดยเสนอปรับอัตราภาษีเป็นขั้นบันไดในทุก ๆ 2 ปี สูงสุดถึง 5 บาทต่อลิตร ทำให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มเกิดการปรับตัว ส่งผลให้มีการปรับพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน ซึ่งโดยส่วนใหญ่บริโภคน้ำตาลในปริมาณที่สูงเกินกว่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกถึง 2-3 เท่า ต่อการใช้พลังงานของร่างกายในแต่ละวัน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) อาทิเช่น  โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เป็นต้น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีความหวานภายใต้พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนให้ดีขึ้นและรองรับกับสังคมผู้สูงอายุ โดยการใช้มาตรการภาษีดังกล่าวสนับสนุนให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมลดปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่ม ปรับสูตรการผลิตเพื่อส่งเสริมเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลน้อยและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด ส่งผลให้ประชาชนมีทางเลือกในการบริโภคเครื่องดื่มมากขึ้น สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามนโยบายในการลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีความหวานมากเกินความจำเป็นของร่างกายได้เป็นอย่างดี 

ภาษีได้เพิ่มขึ้นเป็น 4,500 ล้านบาท

นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี ในฐานะรองโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่าจากการสำรวจความเห็นภาคประชาชน ผู้เชี่ยวชาญ และอุตสาหกรรมเครื่องดื่มน้ำตาลส่วนผสม พบว่าอุตสาหกรรมเครื่องดื่มปรับลดปริมาณการใส่น้ำตาลลงพร้อมติดโลโก้แสดงสัญลักษณ์เพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว  ผู้ที่ให้ความสนใจในเรื่องสุขภาพมีอายุอยู่ในช่วง 30 ปีลงมา และ 60 ปีขึ้นไป ส่วนอายุในช่วงระหว่าง 30 ถึง 60 ปีไม่ค่อยความสนใจมากนัก

โดยผู้ตอบแบบสำรวจเกี่ยวกับมาตรการภาษีความหวานและการตระหนักถึงอันตรายจากการบริโภคน้ำตาลมากเกินความจำเป็นของร่างกาย มีไม่ถึง 50% สะท้อนให้เห็นถึงการประชาสัมพันธ์ที่ไม่เพียงพอตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นต้องเพิ่มช่องทางการสื่อสารที่ได้รับความนิยมสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งควรเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์สินค้าที่เป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพให้ประชาชนเข้าถึงเพิ่มมากขึ้น และได้หารือกับคณะทำงาน และผู้ประกอบการเพื่อปรับเปลี่ยนโลโก้ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมทั้งแสดงสัญลักษณ์ที่ชัดเจนมากขึ้น


สำหรับแนวทางเพิ่มการจัดเก็บภาษีตามปริมาณน้ำตาลโดยเสนอปรับอัตราภาษีแบบขั้นบันไดในทุก  2 ปี ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2560 ทำให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มได้ปรับตัว ส่งต่อพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน และการจัดจัดเก็บภาษีปีที่ผ่านมารายได้ 2,000- 3,000 ล้านบาท และคาดว่าในปีงบประมาณ 2563 เก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นเป็น 4,500 ล้านบาท

“Functional Foods” ตลาดนี้ โตได้อีกถ้ารู้ ‘เทรนด์’

สินค้าเกษตรไทย ยังอนาคตสดใสในต่างประเทศ



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1280 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1650 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1914 | 25/01/2024
1 ตุลาคม สรรพสามิตปรับขึ้นภาษีความหวาน