เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เป็นการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ตั้งแต่ภาคผลิตจนถึงภาคการขาย พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการทำงาน เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมและปฏิรูปกระบวนการทำงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันและคุณภาพชีวิตของคนไทย มาดูกันว่าเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจดิจิทัลไทยมีอะไรบ้าง
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
1. อินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (Internet of Things)
ช่วยยกระดับการใช้งานหรือใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ
รวมถึงการสร้างรูปแบบและบริการทางธุรกิจใหม่ๆ โดยไม่กี่ปีข้างหน้าคาดว่า จะมีการใช้งานจำนวนอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพิ่มขึ้นหลายพันล้านเครื่องทั่วโลก
ส่งผลให้ตลาด IoT ทั่วโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว
สำหรับในประเทศไทยมูลค่าตลาด IoT คาดว่าจะสูงถึง
1.88
แสนล้านบาทภายในปี 2033 โดยเพิ่มขึ้นจากมูลค่า
3.6 พันล้านบาทในปี
2018
2. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI)
เทคโนโลยีที่ส่งกระทบต่อเศรษฐกิจแม้ว่าจะมีงานจำนวนมากที่ถูกดำเนินไปโดยอัตโนมัติ
แต่ AI จะช่วยสร้างงานอีกจำนวนมากเช่นกันเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนการใช้งานอย่างกว้างขวางในอนาคตอันใกล้นี้ และที่สำคัญประชากรสูงอายุจะทำให้หุ่นยนต์มีความจำเป็นมากขึ้น
เนื่องจากตลาดต้องเผชิญกับการขาดแคลนของแรงงาน บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องเพิ่มระบบอัตโนมัติและใช้หุ่นยนต์เพื่อรักษาประสิทธิภาพการทำงาน
การนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้อาจเพิ่มขึ้นถึง 50% ในประเทศไทยภายในปี 2030 จาก 17% ในปี
2019
3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)
เป็นกระบวนการในการตรวจสอบและจัดหมวดหมู่ข้อมูล เพื่อทำการวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงลึก
ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ธุรกิจเคลื่อนตัวไปได้อย่างเร็วและชาญฉลาดมากขึ้น โดยไทยมีจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า
57 ล้านคน คิดเป็นกว่า 82% ของประชากรทั้งประเทศ ขณะที่ชั่วโมงเฉลี่ยในการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อวันคือ
9 ชั่วโมง 38 นาที ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่สูงมาก
สิ่งที่ตามมาจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตคือกิจกรรมออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้น และการสร้างข้อมูลออกมามหาศาล
โดยข้อมูลเหล่านี้ล้วนต้องการการตีความ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในความหมายที่ถูกซ่อนอยู่
และหาความสัมพันธ์ในข้อมูลแต่ละชุดเพื่อระบุถึงข้อมูลเชิงลึก
4. โทรคมนาคมยุคใหม่ (Next Generation Telecom)
5G มิใช่เพียงการพัฒนาต่อยอดจาก
4G เท่านั้น แต่ยังสนับสนุนการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ
ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น IoT
และรถยนต์ไร้คนขับ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีจะไม่หยุดอยู่ที่ 5G แต่จะพัฒนาไปจนถึง 6G-7G ซึ่งจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาด้านต้นทุนของเทคโนโลยีรุ่นก่อนหน้า เพื่อผลประโยชน์ของผู้ใช้งาน
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G จะมีแนวโน้มขยายตัวและส่งผลกระทบต่อประชากรไทยในสัดส่วนมากถึง 75-80% ภายในปี 2030 โดยเป็นที่คาดหมายว่า
5G จะครอบคลุมประชากรโลกมากกว่า 40% ภายในปี 2024 คิดเป็นจำนวนผู้ใช้งาน 1.5 พันล้านคน (ข้อมูลจาก Ericsson)
5. Distributed Ledger Technology (DLT)
เป็นการบันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล ซึ่งแตกต่างจากระบบ Centralized โดยจะเก็บข้อมูลแบบทั่วไป
2 แบบคือ
1. คือการจัดเก็บข้อมูล โดย DLT จะเก็บข้อมูลไว้ในเครือข่ายที่การเปลี่ยนแปลงของแต่ละข้อมูลจะปรากฏพร้อมกันในบัญชีแยกประเภทในเครือข่ายทั้งหมด
2. ข้อมูลจะได้รับการรับรองความถูกต้องโดยลายเซ็นเข้ารหัส
ดังนั้น DLT จึงให้ประโยชน์ในการบันทึกธุรกรรมโปร่งใสและตรวจสอบได้
เนื่องจากข้อมูลทั้งหมดถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัยและถูกต้องผ่านการเข้ารหัส ซึ่งตัวอย่างการใช้งานของระบบ DLT ที่เป็นที่รู้จักก็คือ
Blockchain
การเติบโตของ DLT จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า หลายองค์กรกำลังให้ความสนใจในการนำเทคโนโลยีมาใช้
เพื่อสร้างความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือในองค์กร ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า DLT จะถูกใช้เหมือนอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ซึ่งการประเมินผลกระทบต่อประชากรของ
DLT จะสูงถึง 80% ในไทย
6. ระบบอัตโนมัติ (Automation)
เป็นเทคโนโลยีที่มีการดำเนินกระบวนการหรือขั้นตอน
โดยอาศัยความช่วยเหลือจากมนุษย์น้อยที่สุดและรูปแบบการใช้งานมีจุดประสงค์ในการการควบคุม
ตรวจสอบการผลิต การขนส่งสินค้าและบริการต่างๆ ทำงานทั่วไปแทนมนุษย์ในหลากหลายอุตสาหกรรม
มูลค่าตลาดหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในไทยคาดว่าจะสูงถึง 2
แสนล้านบาทในปีที่แล้ว ขณะที่เทคโนโลยี Robotics
Process Automation (RPA) เติบโตมากกว่า 200% โดยในปี 2025 จะมีมูลค่าตลาดประมาณ
4.38 แสนล้านบาท และตลาดจะเติบโตเกิน 1 ล้านล้านบาท ในปี 2035
‘เทคโนโลยี’ เกี่ยวข้องอย่างไรกับ
SME ไทย?
โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากการถือกำเนิดของเทคโนโลยีมากมายอย่างต่อเนื่อง
จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องตั้งคำถามว่าเทคโนโลยีนั้นจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
ธุรกิจ และผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด ธุรกิจต่างๆ ต้องรู้วิธีการใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เทคโนโลยีนำมาให้
รวมไปถึงงบประมาณที่ต้องลงทุน
ขณะที่ผู้บริโภคต้องการทราบถึงโอกาสในการเพิ่มจำนวนงานและการจ้างงาน
การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ จะช่วยให้เห็นภาพศักยภาพทางเศรษฐกิจที่เทคโนโลยีเหล่านี้จะสร้างมูลค่าต่อเศรษฐกิจได้ชัดเจนมากขึ้น
เพิ่มโอกาสและความเป็นไปได้ในการค้นหาพัฒนาการพึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น และเพิ่มทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
ในทุกอุตสาหกรรมและเกือบทุกบริษัท ผลกระทบของเทคโนโลยีส่งผลต่อรายได้
ดังนั้นการเพิ่มอัตราการใช้เทคโนโลยีจึงมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรหรือเศรษฐกิจ
ซึ่งการพิจารณา คาดการณ์อนาคต ประเมินศักยภาพการเติบโต และผลกระทบของเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
เพราะจะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถลงทุนแบบทันทีทันใดตามสภาพตลาด รวมถึงสร้างความแตกต่างสำหรับองค์กรและเศรษฐกิจในภาพรวมได้
แหล่งอ้างอิง :