เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เกิดกระแสพูดถึงรถไฟฟ้าไทยมากกว่าปกติ หลังจากมีข่าวลือถูกปล่อยออกมาว่า รถไฟฟ้า BTS จะปรับราคา (จากต้นทาง-ปลายทาง) ขึ้นสูงถึง 158 บาทต่อเที่ยว! นับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากเมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทย แต่ยังดีที่ข่าวนั้นเป็นเพียงแค่ข่าวลือ โดยค่าโดยสารส่วนต่อสูงสุดที่กำหนดไว้จริงๆ แล้วอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 104 บาท (ปัจจุบันเรื่องการขึ้นค่าโดยสารถูกเลื่อนออกไปก่อน เนื่องจากประชาชนได้รับผลกระทบจากโควิด-19) แต่ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจว่า หากในอนาคตรถไฟฟ้าไทยปรับราคาขึ้นไปจนถึง 158 บาทตามข่าวลือหรือมากกว่านั้น จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมอย่างไร
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
กำลังซื้อของคนทั่วไปลดน้อยลง
หรือแนวโน้มคนว่างงานเพิ่มขึ้น
ส่วนของประชาชนรายย่อย
โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงานและวัยเรียน แน่นอนว่าได้รับผลกระทบไปเต็มๆ
เนื่องจากต้องเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นประจำ แม้เดิมจะมีการแบ่งค่าใช้จ่ายในส่วนการเดินทางอยู่แล้ว
แต่ก็ต้องยอมรับว่า การเพิ่มขึ้นของค่าโดยสารอย่างก้าวกระโดดไปจนถึงหลักร้อย
ในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของแต่ละครัวเรือนทั่วประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 26,018.42 บาท (ที่มา : การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ.2562)
ลองคำนวณเล่นๆ
กันดูว่า ถ้ามี 1 คนในครอบครัวต้องเดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS ไป-กลับจากที่ทำงานทุกวันจันทร์ถึงศุกร์เป็นประจำ จะเหลือค่าใช้จ่ายเท่าไหร่หากปรับเป็น
104 บาท จากเดิม 59 บาท
เดือนหนึ่งอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเฉพาะค่ารถไฟฟ้าอย่างเดียวประมาณ 4,700 บาท ขึ้นไป ไม่รวมค่าอุปโภคบริโภคอื่นๆ
ทำให้ประชาชนทั่วไปที่ต้องใช้รถไฟฟ้าในการเดินทางมีกำลังซื้อลดน้อยลง
ในบางครอบครัวที่มีหนี้หรือค่าใช้จ่ายเดิมสูงอยู่แล้ว อาจตัดสินใจลาออกจากงาน
เพราะแบกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมไม่ไหว ทำให้มีแนวโน้มอัตราคนว่างงานเพิ่มสูงขึ้น
และอาจส่งผลถึงการเติบโตของตลาดอุปโภคบริโภค-พฤติกรรมการชำระหนี้สินด้วย
ปัจจัยสำคัญในการเลือกงาน
จากเดิมที่ในช่วงปี
2563 ที่ผ่านมา มีประชาชนจำนวนหนึ่งว่างงานหรือต้องพักงาน
เนื่องจากได้รับพิษเศรษฐกิจของโควิด-19 เทรนด์การเลือกงานเลยเปลี่ยนไป
เช่น 68% เน้นเลือกงานประจำ และ 40% อยากทำงานในบริษัทที่มีความมั่นคงสูง
พนักงานอยู่นาน เสี่ยงลาออกหรือโดนไล่ออกน้อย ฯลฯ หากมีการปรับค่าโดยสารสูงขึ้น
จนกระทบถึงบัญชีค่าใช้จ่ายต่างๆ ผู้คนก็จะเริ่มนำที่ตั้งของที่ทำงานหรือสวัสดิการ (เกี่ยวกับค่าเดินทางหรือที่พักอาศัย) มาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการเลือกงานอีกครั้ง
ยอดขายอสังหาริมทรัพย์ตามแนวรถไฟฟ้าอาจไม่ขยับ
แม้ในปีที่ผ่านมาราคาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวรถไฟฟ้าจะมีแนวโน้มเติบโตขึ้นสูงกว่า
30% แต่ต้องยอมรับว่า
สต็อกคอนโดเก่ายังไม่สามารถจำหน่ายออกได้ตรงตามเป้าเท่าที่ควร
เนื่องจากผลกระทบจากโควิด-19 ที่ได้รับ
ทำให้ขาดเสถียรภาพด้านการเงินต้องควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างหนัก
เพื่อไม่ให้เกิดหนี้สินที่เกินกำลังชำระ หากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นมาอย่างค่าโดยสารรถไฟฟ้า
ฯลฯ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์อาจจะต้องคิดหนัก
เพราะหากคนตัดสินใจเดินทางด้วยรถไฟฟ้าน้อยลง
ยอดขายอสังหาริมทรัพย์ตามแนวรถไฟฟ้าอาจไม่ขยับ รวมถึงอาจมีความเสี่ยงอัตราหนี้เสียและการปฏิเสธสินเชื่อที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตด้วย
ในกรณีที่ภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร
ปัญหารถติดจะยังคงเป็นปัญหาเรื้อรัง
ในขณะที่ยังคงมีการรณรงค์ให้ลดใช้รถยนต์ส่วนตัว
หรือทางเดียวกันไปด้วยกัน เพื่อลดการแออัดบนท้องถนนและฝุ่นละอองจากการจราจร
แต่ถ้าระบบการคมนาคมสาธารณะอย่างรถไฟฟ้ามีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงเกินควร
ก็อาจจะทำให้รถติดยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังที่แก้ไม่หาย
เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่มีความคิดว่า ส่วนตัวไม่ได้ไม่ชอบขึ้นรถสาธารณะ
ถ้าเดินทางด้วยรถสาธารณะแล้วไม่คุ้ม ก็เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวดีกว่า
ผ่อนไปเรื่อยๆ ได้ครอบครองกรรมสิทธิ์ไว้ขายต่อด้วย
ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มได้ประโยชน์คงหนีไม่พ้นจำหน่ายรถยนต์ทั้งมือหนึ่งและมือสอง
คาร์แคร์ และพลังงานเชื้อเพลิงต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเดินทาง
อย่างไรก็ตาม ณ เวลานี้ รถไฟฟ้า BTS ยังคงช่วยยืดเวลาต่อลมหายใจให้แก่ประชาชน โดยเลือกไม่ปรับขึ้นราคาค่าโดยสาร เนื่องจากต้องการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายแก่ประชาชนและภาระของกรุงเทพมหานครให้เกิดความเหมาะสม ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด แต่ตอนนี้คนที่จำเป็นต้องเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสาธารณะคงถึงเวลาต้องเริ่มวางแผนกันต่อไปแล้ว ว่าจะทำอย่างไรต่อไปหากในวันหนึ่งรถไฟฟ้า BTS จำเป็นที่จะต้องปรับราคาค่าโดยสารสูงขึ้น ซึ่งอย่างที่รุบุไว้ก่อนหน้านี้ว่า ผลกระทบจะเป็นลูกโซ่ที่ไม่ใช่เพียงแค่ระดับบุคคล แต่จะเป็นเรื่องที่มีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศด้วยเช่นกัน