วิกฤตแรงงานไทย ขาดทักษะที่เท่าทันกับยุคสมัยใหม่

SME Update
01/12/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 5568 คน
วิกฤตแรงงานไทย ขาดทักษะที่เท่าทันกับยุคสมัยใหม่
banner

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้นักเรียนและเยาวชนมากกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลกต้องหยุดเรียนกลางคัน และมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการศึกษา (ED-TECH) ในรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันสถาบันการศึกษาทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทั่วโลก กำลังทำงานอย่างหนักในการปรับและออกแบบหลักสูตร เพื่อให้เหมาะกับการเรียนการสอนระยะไกลและการเรียนจากที่บ้าน

กระนั้นในช่วงแรกบรรดาสถานการศึกษาทั่วโลก อาจจะเกิดความท้าทายอยู่บ้างในแง่ของเทคโนโลยีนำมาประยุกต์ใช้ในสื่อการเรียนการสอน เนื่องจากวิกฤตครั้งนี้เป็นตัวเร่งให้เกิดความปกติแบบใหม่ซึ่งไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ขณะเดียวกันนับว่าเป็นการเปิดประตูสู่โอกาสการเรียนรู้รูปแบบใหม่เช่นกัน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในรายละเอียดในทุกแง่มุมนั้นจะเห็นว่าในหลายๆ อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ อาชีพที่เป็นที่ต้องการในตลาดตอนนี้มักจะไม่เป็นที่รู้จักมากนักในช่วง 5 หรือ 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากโลกหมุนไปอย่างรวดเร็วตามกระแสของโลกาภิวัตน์

ดังนั้นในอนาคตจะมีเยาวชนมากกว่า 65% ที่ประกอบอาชีพมั่นคงแม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีในตลาดรองรับ ณ ตอนนี้ ทำให้ต้องเร่งบ่มเพาะทักษะให้สอดคล้องกับโลกยุคใหม่ โดยมีความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา รวมไปถึงแนวทางในการเรียนการสอน เพื่อให้ก้าวทันกับความต้องการของตลาดในอนาคตข้างหน้า

ทั้งจากข้อมูลของ World Economic Forum แสดงให้เห็นว่าในระยะเวลาเพียง 5 ปีนับจากนี้ ทักษะ 35% ที่จำเป็นในการจ้างงานในปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไป นับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับหลายประเทศที่จะต้องมุ่งเน้นการสร้างบุคลากรที่มีทักษะที่เหมาะสม อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับสถานศึกษาที่ต้องบ่มเพาะแรงงานที่มีทักษะสำหรับอนาคตตามพลวัตแห่งการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากอิทธิพลของเทคโนโลยีดิจิทัล

สอดคล้องกับความคิดเห็นของ ศ.ดร.ธนารักษ์ ธีระมั่นคง นายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย (AI) และราชบัณฑิต ในฐานะอาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร SIIT สะท้อนมุมมองว่าสาเหตุที่บัณฑิตจบใหม่ตกงานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขาดทักษะโลกยุคใหม่ สาขาที่จบมาไม่ต้องกับสายงานที่บริษัทต้องการบุคลาการ ดังนั้นต้องปรับกระบวนทัศน์การศึกษาใหม่ทั้งระบบ

 

เน้นเรียน ‘เทคโนโลยี–ความรู้เฉพาะ’ ตอบโจทย์อนาคต

การจัดการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยในโลกยุคใหม่ ศ.ดร.ธนารักษ์ แนะนำว่าสถาบันการศึกษาไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ทั้งในแง่ของการเรียน เนื้อหา เพื่อให้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต สังคม การดำเนินธุรกิจ และอุตสาหกรรม โดยตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา แวดวงการศึกษามีการพูดถึงวิกฤติการตกงานของบัณฑิตไทยที่อาจจะมีมากถึง 72% เพราะขาดทักษะที่เท่าทันกับยุคสมัยใหม่

ขณะเดียวกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้กระบวนการความเปลี่ยนแปลงถูกเร่งให้รวดเร็วขึ้น เห็นได้จากบริษัทขนาดใหญ่ อาทิ อูเบอร์, Airbnb ฯลฯ มีการปรับลดคนและนำกระบวนการใหม่ๆ เข้ามาใช้ในบริษัทมากขึ้น ดังนั้นคนที่มีทักษะแบบเก่าอาจไม่เป็นประโยชน์กับองค์กรอีกต่อไป คำถามในเมื่อเทคโนโลยีถูกนำเข้ามาใช้ในทุกๆ ด้านแล้ว อะไรคือทักษะที่โลกอนาคตต้องการ และสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย รวมถึงนักศึกษาจะปรับตัวอย่างไร

ผมคิดว่าคณิตศาสตร์ยังเป็นทักษะสำคัญที่จะเป็นพื้นฐานของอีกหลายเรื่อง ควบคู่ไปกับองค์ประกอบของการสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะประยุกต์ให้เกิดเป็นไอเดียที่ผสมผสาน สอดรับกับเทคโนโลยีที่จะเข้ามาป่วนในโลกของการศึกษา ทั้งเทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์ (Robotics) หรือวัสดุศาสตร์ (Materials Science)

นอกจากทักษะทางด้านเทคโนโลยีสิ่งที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในยุคถัดไป ยังรวมไปถึงซอฟต์สกิล (Soft Skills) เช่น การเห็นอกเห็นใจ การเข้าใจความรู้สึก การวิเคราะห์ข้อมูล การคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน รวมถึงทักษะเรื่องคน ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งบทบาทของการเรียนการสอนเหล่านี้ ครอบครัวและชุมชนก็จะมีส่วนช่วยในการส่งเสริม ขณะที่สถานศึกษาก็จะต้องมีการออกแบบห้องเรียนในยุคใหม่ ออกแบบการเรียนรู้เฉพาะบุคคลตามความต้องการและจุดแข็งของผู้เรียน

ในปัจจุบันโลกของการศึกษาได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาผนวกรวมกับการเรียนการสอนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำ AI เข้ามาใช้บริหารจัดการการเรียนการสอน การนำเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) Virtual Reality (VR) ระบบจำลอง (Simulation) เข้ามาประกอบสื่อการเรียน การจัดระบบห้องเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในส่วนของ SIIT หรือ มธ. เองก็มีหลักสูตรอย่าง GenNext Academy หรือ TUXSA หลักสูตรออนไลน์ปริญญาโท เป็นต้น

 

ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องนานาชาติ

การจัดการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาไทยในมุมมองของ รศ.ดร.สุธาทิพย์ สวนมะลิ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการจัดการ SIIT บอกว่า การศึกษายุคใหม่ไม่ได้มีเพียงด้านวิศวกรรมเท่านั้น แต่ยังมีสาขาการจัดการที่รวมเอาศาสตร์และความรู้จากหลายสาขาที่เกี่ยวข้อง ให้บัณฑิตมีทักษะในการคิดวิเคราะห์ ขณะเดียวกันยังเป็นบรรยากาศการเรียนรู้ในสังคมนานาชาติ ที่มีนักศึกษาแลกเปลี่ยนหลายร้อยคนจากต่างประเทศมาร่วมเรียน เกิดเป็นความหลากหลายของสังคมแห่งการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน

แต่ละสถาบันจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเปิดโอกาสให้นักศึกษาปีสุดท้าย สามารถเลือกเส้นทางตามความต้องการในอนาคตได้ เช่น จะใช้เวลาในปีสุดท้ายในการทำโครงการวิจัยให้เกิดเป็นรูปธรรม หรือการฝึกงานระยะยาว 4-6 เดือนแบบทำงานจริง หรือแม้แต่การหาประสบการณ์ในการศึกษาต่อที่ต่างประเทศ

สถาบันการศึกษาไม่ได้เป็นแค่สถาบันการเรียน แต่ยังเป็นสถาบันวิจัยที่เป็นพื้นฐานให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ บัณฑิตจบไปมีความรู้ที่ทันสมัย เข้ากับสถานการณ์ ซึ่งจากการสำรวจพบว่านักศึกษาที่จบไปจากที่นี่ มีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่อื่น และมีอัตราการหางานได้ถึง 95% และผลตอบรับจากนายจ้างถึงความพึงพอใจจากตัวบัณฑิต

ด้วยปัจจัยที่กล่าวมาแสดงให้เห็นได้ว่า การสร้างบุคลากรที่พร้อมด้วยทักษะที่จำเป็น ตั้งแต่อยู่ในช่วงการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยเพื่อป้อนตลาดนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และบัณฑิตจบใหม่จะเป็นพลังขับเคลื่อนและทำให้ภาคเศรษฐกิจสามารถคงอยู่ได้


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


แนวโน้ม ‘เงินเดือน’ ในไทยจะเพิ่มสูงขึ้น (เล็กน้อย)

ถกแนวคิดเรื่อง ‘ภาษีหุ่นยนต์’ เรื่องใกล้ หรือยังไกลตัว


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1052 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1393 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1674 | 25/01/2024
วิกฤตแรงงานไทย ขาดทักษะที่เท่าทันกับยุคสมัยใหม่