โอกาส-อุปสรรค ธุรกิจสตาร์ทอัพท่องเที่ยว "TravelTech"

SME Update
03/06/2018
รับชมแล้วทั้งหมด 2001 คน
โอกาส-อุปสรรค ธุรกิจสตาร์ทอัพท่องเที่ยว "TravelTech"
banner
ไฮไลท์ :
     
  • ธุรกิจท่องเที่ยวถือเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตไม่น้อยกว่าปีละ 8-10% ทำเงินให้ประเทศมากกว่า 2 ล้านล้านบาทในช่วง 4-5 ปี ที่ผ่านมาส่งผลให้สตาร์ทอัพท่องเที่ยว หรือ ทราเวลเทค (TravelTech) ขยายตัวตามไปด้วย คาดว่าจะมีการสร้างรายได้ท่องเที่ยวจากสตาร์ทอัพ มูลค่าประมาณ 6 หมื่นล้านบาทต่อปี
  •  
  • ปี 2559 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คัดเลือกสตาร์ทอัพด้านการท่องเที่ยว เพื่อผลักดันการท่องเที่ยวของประเทศ เหลือประมาณ 30 กว่ารายจาก 100 ราย ที่มีศักยภาพน่าจะเป็นสตาร์ทอัพ ช่วยผลักดันการท่องเที่ยวของประเทศให้โตได้จาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 หรือโตแบบก้าวกระโดด
  •  
  • อุปสรรคสตาร์ทอัพด้านการท่องเที่ยว คือ ผู้กำกับดูแลกฎระเบียบ หน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนกฎระเบียบที่ตามไม่ทัน
  •  

    ช่วง 4-5 ปีมานี้ ธุรกิจท่องเที่ยวถือเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตไม่น้อยกว่าปีละ 8-10% ทำเงินให้ประเทศมากกว่า 2 ล้านล้านบาทในปี 2559 และปีนี้คาดว่าจะสร้างรายได้ให้ประเทศมากกว่า 2.76 ล้านล้านบาท โลกหมุนเร็วขึ้นธุรกิจท่องเที่ยวต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ท่ามกลางการแข่งขันที่สูง ดังนั้น ทุกธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ต้องหาตัวช่วยเพื่อการก้าวกระโดดขึ้นสู่การเป็นผู้นำ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยน่าจะเป็นเครื่องมือที่จะเหมาะกับโลกสมัยใหม่ที่กำลังเปลี่ยนแปลง เครื่องมือที่จะทำให้ธุรกิจหรือฝันเป็นจริง และเอาชนะคนอื่นได้ ที่ทุกคนพยายามที่จะเป็น และค้นหาวิธีเพื่อไปสู่การเป็นผู้นำคือ การเป็น‘Startup – สตาร์ทอัพ’

     

    เมื่อ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ประกาศเดินหน้าปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน หรือ Amazing Thailand Year 2018  ตั้งเป้าปี 2561 ท่องเที่ยวจะสร้างรายได้ทั้งจากนักท่องเที่ยวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงขึ้นจากปี 2560 อีก 10 %  หรือสร้างรายได้ประมาณ 3.03 ล้านล้านบาท

     

    ดังนั้น เพื่อขอแบ่งเค้กการท่องเที่ยว แชร์เม็ดเงินมหาศาล สตาร์ทอัพท่องเที่ยวต้องคิดได้ก่อน เพื่อรวบรวมข้อมูลป้อนกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะกลุ่มท่องเที่ยวด้วยตนเองที่กำลังมีมากขึ้น สตาร์ทอัพด้านการท่องเที่ยว ต้องสามารถรองรับความต้องการเฉพาะ ความไม่แน่นอน ความยืดหยุ่นของตารางเวลา ความไม่มีเวลา หรือความที่ไม่มีข้อมูลในใจว่าอยากไปที่ไหน ตัวอย่างเช่น สำหรับบางคนที่ต้องรับประทานอาหารประเภทเฉพาะ หรือ กลุ่มครอบครัวใหญ่  อยากทำกิจกรรมเฉพาะอย่าง ทั้งหมดต้องตอบโจทย์ได้

    [caption id="attachment_17253" align="aligncenter" width="700"] กราฟิก 1 ค่าเฉลี่ยประเภทรายจ่ายจากการท่องเที่ยวต่อหัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2559[/caption]

    [caption id="attachment_17254" align="aligncenter" width="700"] กราฟิก 2 เปรียบเทียบสัดส่วนการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวไทย ย้อนหลัง 3 ปี[/caption]

    ดร.ธีรศานต์ สหัสสพาศน์ คณะทำงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า เนื่องจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นธุรกิจที่หอมหวาน มีอัตราการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง จากการสนับสนุนของภาครัฐในการเพิ่มแหล่งท่องเที่ยวให้มากขึ้น รองรับการเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ดังนั้น สตาร์ทอัพท่องเที่ยว หรือ ทราเวลเทค (TravelTech) คือกลุ่มที่สร้างโอกาส เพิ่มอัตราการเติบโตให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กลุ่มที่ทำให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงการท่องเที่ยวของไทย

     

    'ทราเวลเทค' ในประเทศไทย ถือว่ายังใหม่มาก ยังมีโอกาสหอมหวานไม่ต่างจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น  แต่ ทราเวลเทค หรือ สตาร์ทอัพด้านการท่องเที่ยว สอดคล้องกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ถือ เป็นธุรกิจที่ใหม่ทางกฎระเบียบทางการยังไม่เอื้อต่อการพัฒนา อาจเกิดจากความไม่เข้าใจเทคโนโลยี หรือ รู้ไม่เท่าทันเทคโนโลยี ของหน่วยงานกำกับดูแล จึงน่าจะเป็นอุปสรรคอย่างเดียวที่ทำให้สตาร์ทอัพเมืองไทยไม่เติบโต

     

    ”สตาร์ทอัพท่องเที่ยวเมืองไทย พร้อมนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนา เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจท่องเที่ยว แต่กลุ่มสตาร์ทอัพจะเติบโตได้ ต้องมีฐานข้อมูลทั้งเรื่องของพื้นที่ อาทิ กฎระเบียบ แหล่งท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยว  ซึ่งต้องขอจากภาครัฐ และความจริงของข้อมูลการท่องเที่ยวของไทย ที่ภาครัฐ ไม่อัพเดท เอกชนนำไปใช้งานจริงไม่ได้”    ดร.ธีรศานต์กล่าว

     

    ดร.ธีรศานต์ กล่าวด้วยว่า ปี 2559 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้เชิญสตาร์ทอัพด้านการท่องเที่ยวมาหารือเกี่ยวกับการพัฒนาสตาร์ทอัพ เพื่อผลักดันการท่องเที่ยวของประเทศ จำนวนกว่า 100 ราย แต่เมื่อคัดแล้วเหลือประมาณ 30 กว่ารายเท่านั้นที่คิดว่า น่าจะเป็นสตาร์ทอัพที่ ช่วยผลักดันการท่องเที่ยวของประเทศให้โตได้จาก     1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 หรือโตแบบก้าวกระโดด  ซึ่ง ภาครัฐต้องเข้าใจจริงๆ ว่าสตาร์ทอัพคืออะไร เพราะปัจจุบันในเมืองไทย สตาร์ทอัพยังมีไม่มากนัก แต่มีหลายรายที่ต้องการการสนับสนุนจากทางการในเรื่องของการเอื้อในเรื่องกฎระเบียบ

     

    ด้านนายนพพล อนุกูลวิทยา ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์เทคมี ทัวร์ หรือ TakeMeTour (เทคมี ทัวร์) เว็บไซต์ประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการท่องเที่ยว  กล่าวว่า  เทคมี ทัวร์  สตาร์ทอัพด้านการท่องเที่ยวในการหาไกด์ท้องถิ่นพาเที่ยวในพื้นที่ เป็นธุรกิจที่กำลังได้รับความนิยมในแถบเอเชีย โดยการสร้างแพลตฟอร์มให้คนในพื้นที่จัดทริปนำเที่ยว 1 วัน จากข้อมูลพบว่า 21 ล้านคนคือ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทยแบบไม่ใช้แพกเกจทัวร์ หรือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยตนเอง ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ต้องการศึกษาวิถีชีวิตของคนในพื้นที่นั้นๆ หรือเรียกว่า “โลคัล เอ็กซ์พีเรียน” โดยไกด์ในพื้นที่จะเชื่อมโยงเรื่องราวของตนเองและคนในพื้นที่เข้าไว้กับการท่องเที่ยว

     

    เทคมี ทัวร์  เปิดทำธุรกิจมาประมาณ 2 ปี ขณะนี้มีทริปครอบคลุม 50 จังหวัดทั่วประเทศไทย  ทริปทัวร์ 600 ทัวร์เดือน มีคนพาเที่ยวจำนวน 1,500 คน มีอัตราการเติบโตมากกว่า 10 เท่า/ปี สตาร์ทอัพท่องเที่ยวของไทยไม่ได้แข่งขันกับสตาร์ทอัพคนไทย แต่แข่งขันกับสตาร์ทอัพจากทั่วโลกที่พาเหรดเข้ามาแบ่งเค้กอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในเมืองไทย ต้องอธิบายตามตรงในไทยสตาร์ทอัพด้านการท่องเที่ยวมีน้อยมาก ตลาดนี้จึงยังมีโอกาสมากสำหรับคนไทย สตาร์ทอัพสัญชาติไทย เพราะตลาดสตาร์ทอัพท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นสตาร์ทอัพต่างชาติ ที่มองเห็นการเติบโตของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในเมืองไทยเป็นโอกาส ตลาดท่องเที่ยวของประเทศไทยใหญ่มาก การใช้จ่ายต่อหัวสูงมาก สูงอันดับต้นๆของภูมิภาค ทำให้การเป้าหมายของสตาร์ทอัพต่างชาติ

     

    หากให้ประเมินเบื้องต้นอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวที่เติบโตผ่านสตาร์ทอัพ น่าจะมีมูลค่าประมาณ 6 หมื่นล้านบาท และโอกาสเติบโตยังมีต่อเนื่องตามสัดส่วนนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวเอง เริ่มโตสวนทางกรุ๊ปทัวร์

     

    สำหรับอุปสรรคสตาร์ทอัพด้านการท่องเที่ยว คงหนีไม่พ้นเรื่องของผู้กำกับดูแลกฎระเบียบ คือหน่วยงานภาครัฐ ไม่ต่างอะไรกับในต่างประเทศในช่วงที่สตาร์ทอัพเกิดใหม่ๆ กฎระเบียบก็ตามไม่ทัน สตาร์ทอัพเป็นเทรนด์ใหม่ของทุกอุตสาหกรรม เมื่อเทคโนโลยีพาสตาร์ทอัพเติบโตได้เร็ว ทำให้กฎระเบียบ การกำกับดูแลเติบโตไม่ทัน ดังนั้นภาครัฐผู้คุมระเบียบปฏิบัติต้องปรับตัวเช่นกัน  เพื่อไม่ให้กฎระเบียบที่มันตามไม่ทันธุรกิจ มาทำให้ธุรกิจที่กำลังจะเติบโต สะดุดลง

     
    ประเทศไทยจะฝากความหวังไว้กับ สตาร์ทอัพ ภาครัฐคงต้องทำความเข้าใจ เพิ่มความยืดหยุ่น พร้อมในการทบทวนกฎระเบียบต่างๆ เพราะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทำให้กฎเกณฑ์บางอย่างไม่จำเป็น ถ้าไม่มีการทบทวน อาจทำให้สตาร์ทอัพท่องเที่ยว ไม่สามารถขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้
     

    Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก หรือสายด่วน 1333

    Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
    สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


    Related Article

    ‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

    ‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

    TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
    pin
    1232 | 14/02/2024
    ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

    ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

    ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
    pin
    1591 | 26/01/2024
    จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

    จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

    ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
    pin
    1877 | 25/01/2024
    โอกาส-อุปสรรค ธุรกิจสตาร์ทอัพท่องเที่ยว "TravelTech"