ช่วงสถานการณ์โควิด 19 ตอนนี้ถือว่าเป็นช่วงที่น่าเป็นห่วงมากเลย บวกกับประเทศไทยเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว แถมมีฝุ่นพิษ PM2.5 เต็มเมือง ที่ส่งผลต่อสุขภาพคนไทย อาจทำให้หลายคนเป็นไข้ ไม่สบาย หรืออาจทำให้เป็นไข้หวัดใหญ่อันเป็นโรคประจำฤดูกาลได้ แล้วเกิดความวิตกกังวลเกิดขึ้น และอาจทำให้เกิดข้อสงสัยว่าจะติดเชื้อโควิด 19 หรือไม่
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
เรื่องนี้ พญ.พิมฑิราภ์
สุจริตวงศานนท์ ศูนย์ทางการแพทย์ อายุรกรรม โรคทางเดินหายใจ โรงพยาบาลพญาไท
นวมินทร์ ระบุว่า สำหรับความแตกต่างของโควิด 19 กับไข้หวัดใหญ่ มีความใกล้เคียงกัน คือคนไข้จะมีอาการ มีไข้ ไอ คัดจมูก
เจ็บคอ คล้ายๆ กัน
แต่ถ้ามีอาการจมูกไม่ได้กลิ่น
ลิ้นไม่รับรส อันนี้น่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงโควิด 19 ถ้าเกิดมีไข้สูงตั้งแต่วันแรกเลย หรือว่าปวดเนื้อ ปวดตัว อาจจะมีแนวโน้มไปทางไข้หวัดใหญ่
ระยะฟักตัวของไข้หวัดใหญ่จะสั้นกว่าโควิด 19 ตั้งแต่เรารับเชื้อเข้ามาจนถึงแสดงอาการ
ถ้าเป็นไข้หวัดใหญ่ 2-3 วันรู้แล้ว แต่ถ้าเป็นโควิด 19 ใช้ระยะ 5-6 วันถึงจะแสดงอาการ
อาการของกลุ่มคนไข้หนักในโรคไข้หวัดใหญ่ จะมีปัญหาที่ระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นเชื้อโควิด
19 จะส่งผลในหลายระบบ
เพราะว่าเชื้อนี้ถ้ามีอาการรุนแรงจะทำลายเส้นเลือดของเราให้เกิดการอักเสบ
และเกิดลิ้มเลือดในหลอดเลือดได้ เพราะฉะนั้นคนไข้บางคนอาจจะมีอาการหัวใจขาดเลือด
หัวใจวาย หรือเส้นเลือดในสมองตีบก็เป็นได้
โดยโรคโควิด 19 ประมาณ 80%
ของคนติดเชื้อจะแสดงอาการน้อย หรือว่าไม่มีอาการเลยก็ได้ โรคนี้กว่าจะแสดงอาการคือเชื้อจะอยู่ในตัวเราแล้ว 5-6 วัน นับตั้งแต่วันที่เราได้รับเชื้อ จนกระทั้ง 1 อาทิตย์แรก ผู้ป่วยรับเชื้ออาจจะรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองเป็นหวัดเล็กๆ
น้อยๆ แต่จริงๆ แล้ว หลังจากรับเชื้อประมาณ 5-7 วัน
เชื้อจะลงปอดด้วยความรวดเร็ว นำพามาสู่ปัญหาปอดติดเชื้อ ในหลายเคสอาจจะอาการยังดี
แต่อาจแย่ลงอย่างรวดเร็ว เรียกว่า 3 วันอันตราย
ถ้าคนไข้อยู่ในความดูแลของหมอ หมอจะดูในวันที่ 5,6,7
ว่ามีอาการปอดติดเชื้อหรือเปล่า
คนที่ติดเชื้อแต่หายไปเองมีหรือไม่นั้น ทางการแพทย์ระบุว่า มีความเป็นไปได้ เพราะอย่างที่บอกไปข้างต้นว่า 80% ของผู้ติดเชื้อมีอาการน้อยหรือไม่แสดงอาการ
ถ้าผู้ติดเชื้อไม่ได้ตระหนักว่าตัวเองมีความเสี่ยงก็อาจจะไม่ได้ไปตรวจ
แต่จะเป็นผู้แพร่เชื้อ (Super spreader) ให้แก่คนอื่นได้
สำหรับการติดโควิด 19 รักษาหายปอดจะกลับมาเหมือนเดิมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความหนักเบา ถ้ามีอาการปอดติดเชื้อเล็กน้อยไม่มีอะไร
ตรงนี้สามารถกลับมาเป็นปกติได้ แต่อาจจะใช้ระยะเวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน
แล้วแต่ความหนักเบา แต่ถ้าถึงขั้นการหายใจล้มเหลว สภาพปอดถูกทำลายไปเยอะแล้ว ก็อาจจะไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้
โดยกลุ่มเสี่ยงที่น่าเป็นห่วงที่สุดของการติดเชื้อโควิด 19 อันดับแรกเลยคือผู้สูงอายุ เราจะนับที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มที่มีโรคประจำตัวโดยเฉพาะเบาหวาน
เพราะคนไข้ที่มีโรคโควิดและเบาหวานร่วมด้วย จะมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าโรคอื่นๆ
โรคประจำตัวอื่นๆ ที่น่าเป็นห่วงก็จะพวกโรคเรื้อรัง โรคปอด โรคหัวใจ ไต ตับ
ภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงภาวะอ้วนด้วย
แหล่งอ้างอิง : เครือโรงพยาบาลพญาไท