SME ควรใช้กลยุทธ์ไหน? มัดใจ ‘ตลาดเฉพาะกลุ่ม’

SME Update
29/03/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 4745 คน
SME ควรใช้กลยุทธ์ไหน? มัดใจ ‘ตลาดเฉพาะกลุ่ม’
banner

ตลาดเฉพาะกลุ่ม หรือ Niche Market คือการผลิตและขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ที่มีความต้องการและรสนิยมเจาะจงมากกว่าตลาดทั่วไป (Mass Market) ซึ่งตลาดเฉพาะกลุ่มถือเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้หลายธุรกิจสามารถแข่งขันกับธุรกิจใหญ่ๆ ได้ เนื่องจากมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุดนั่นเอง

Niche Market เป็นตลาดที่เหมาะสมกับกิจการที่มีข้อจำกัดด้านทรัพยากร เช่น เงินทุน บุคลากร อุปกรณ์ และเทคโนโลยี ซึ่งการดำเนินกิจกรรมการตลาดเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้ามวลชนในวงกว้าง มีค่าใช้จ่ายสูงมาก สำหรับตลาดลูกค้าเฉพาะเป็นตลาดขนาดเล็ก ทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ส่วนมากยังไม่ได้ให้ความสนใจมากเท่าที่ควร การแข่งขันมีน้อยกว่าตลาดมวลชน ถือเป็นโอกาสอันดีของ SME ในการเข้าสู่ตลาดนี้ โดยไม่ต้องไปแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งถ้าหาก SME รายใด สามารถค้นหาตลาดเฉพาะพบก่อน เข้าไปทำตลาดได้ก่อน ก็จะมีโอกาสก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดเฉพาะนั้นได้ โดยการเข้าสู่ตลาดเฉพาะมีขั้นตอนดังนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. ค้นหาและคัดเลือกกลุ่มลูกค้าเฉพาะ SME ควรศึกษาวิจัยแยกแยะกลุ่มลูกค้าเฉพาะว่าจะกำหนดกลุ่มลูกค้าแบบเฉพาะเจาะจงได้อย่างไร แบ่งแยกตามอะไร เช่น ตามความชอบ ตามปัญหาที่ลูกค้ามีอยู่ หรือตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ลูกค้าเป็นกลุ่มเพศใด ช่วงอายุเท่าไร และอยู่ที่ใด ดังนั้น SME ควรคัดเลือกกลุ่มลูกค้าเฉพาะที่ตรงกับสินค้าหรือบริการของกิจการจริงๆ

2. ค้นหาความชอบ ความถนัดของตนเอง เพื่อนำมาพัฒนาเป็นสินค้าหรือบริการที่มีความแตกต่าง สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่เราเลือกได้

3. ศึกษาว่าลูกค้าเฉพาะที่เลือกมีความต้องการอย่างไร เพื่อแสดงให้ลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างสินค้าใหม่ ที่กิจการนำเสนอกับสินค้าที่มีอยู่แล้วในตลาด สินค้าสำหรับตลาดลูกค้าเฉพาะจะต้องมีความแตกต่าง โดดเด่น สามารถตอบสนองความต้องการ หรือแก้ไขปัญหาในปัจจุบันของลูกค้าได้มากกว่า ตรงกว่า ดีกว่าสินค้าเดิมที่มีอยู่ในตลาด จึงจะได้รับการยอมรับจากลูกค้า จนเกิดความจงรักภักดีต่อสินค้าและทำให้ลูกค้ากลับมาใช้ซ้ำ

4. ประเมินจำนวนลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เพื่อพิจารณาว่าจะมีมูลค่าตลาดเพียงพอที่จะสร้างรายได้และผลกำไรให้แก่กิจการได้หรือไม่ รวมถึงความยั่งยืนในระยะยาวว่า จะมีโอกาสเติบโต มีโอกาสในการขยายธุรกิจในอนาคตมากเพียงใด ไม่ใช่เป็นความต้องการฉาบฉวยตามกระแสนิยม ที่เกิดง่าย หายเร็ว

5. ประเมินการแข่งขัน ศึกษาดูว่าตลาดที่กำลังจะเข้าไปมีใครเป็นผู้นำตลาดอยู่ก่อนแล้ว เพราะการเข้าสู่ตลาดเป็นคนแรก ย่อมมีโอกาสสร้างการรับรู้และจดจำในสินค้าได้ก่อน

6. วางแผนกลยุทธ์การตลาด ก่อนจะนำสินค้าเข้าสู่ตลาด ควรมีการวางแผนกลยุทธ์การตลาด เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการสื่อสารกับลูกค้า ช่องทางในการสื่อสาร รวมถึงงบประมาณที่จะใช้

 

SME สามารถมัดใจลูกค้าได้ด้วย 5 กลยุทธ์

1. กลยุทธ์มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า กิจการต้องให้ความสำคัญความต้องการของลูกค้าพร้อมตอบสนองความต้องการลูกค้าให้ได้ เช่น คุณภาพของสินค้าหรือบริการ ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ และความเป็นมืออาชีพ ดังนั้นสินค้าหรือบริการต้องมีคุณภาพได้มาตรฐาน รวมถึงมีความรู้ความเชี่ยวชาญในสินค้าหรือบริการของเราเอง สามารถให้คำแนะนำได้ สร้างความพึงพอใจทำให้รู้สึกว่ากิจการเอาใจใส่ ให้ความสำคัญกับลูกค้า

2. กลยุทธ์ความเป็นหนึ่ง ความเป็นหนึ่งมีความหมายได้หลายแบบ เช่น ในตลาดนี้มีเราเพียงเจ้าเดียว เราจึงเป็นที่หนึ่งในตลาด เมื่อพูดถึงสินค้าชนิดนี้ต้องนึกถึงเรา หรือการเป็นที่หนึ่งจากคุณภาพสินค้าหรือบริการ มีความรวดเร็วเป็นหนึ่ง เป็นต้น นอกจากนี้รวมถึงการเสนอสินค้าและบริการที่ช่วยให้ลูกค้ามีชีวิตที่ง่ายขึ้น และสามารถให้บริการได้ตลอดเวลาด้วย

3. กลยุทธ์สร้างสรรค์เนื้อหาคอนเทนต์ กิจการควรสื่อสารเนื้อหาสาระที่ตรงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ผ่านช่องทางสื่อสารออนไลน์ต่างๆ เช่น เขียนบล็อก Website, Facebook, Instagram หรือ Twitter โดยเนื้อหา ภาษาและอารมณ์ที่สื่อสารออกไปต้องตรงกับลูกค้า เป็นสิ่งที่เขาอยากรู้ ใช้ภาษาเดียวกัน และมีความรู้สึกเป็นเพื่อนเป็นคนกันเองมาคุยให้ฟัง ซึ่งกลยุทธ์นี้เจ้าของกิจการควรเริ่มต้นด้วยการบอกเล่าเรื่องราวที่มาที่ไปในการก้าวเข้ามาในธุรกิจ เรื่องราวที่มาของแบรนด์และสินค้า เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ร่วมมีโอกาสได้สัมผัสตัวตนที่แท้จริงของสินค้าและบริการอย่างเข้าถึงมากขึ้น ก่อนขยายเรื่องราวไปยังสิ่งต่างๆ รอบตัวลูกค้า ทำให้ลูกค้ามีความผูกพันกับกิจการและแบรนด์ของกิจการ

4. กลยุทธ์พลังแห่ง Social Media ในยุคปัจจุบันที่ Social Media มีความสำคัญเป็นอย่างมาก การสื่อสารผ่าน Facebook, Twitter, Instagram และ @Line เป็นการสื่อสารแบบสองทาง ทำให้ลูกค้าสามารถพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นสร้างพื้นที่ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับกิจการได้ เมื่อเริ่มแรกในการสื่อสารผ่านช่องทางสังคมออนไลน์ในช่วงแรก อาจจะจำกัดอยู่ในลูกค้าเฉพาะกลุ่มเล็กๆ แต่เมื่อทำแล้วต้องพยายามโปรโมตช่องทางเหล่านี้ ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าเฉพาะกว้างขวางขึ้นเพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ

5. กลยุทธ์การบอกต่อ Niche Market เป็นกลุ่มที่มีสังคมเฉพาะ ซึ่งการบอกต่อถึงประสบการณ์การใช้สินค้าหรือบริการในกลุ่มนี้ ลูกค้าจะเชื่อถือการบอกต่อด้วยกันเองมากกว่า เช่น สังคมคนขี่จักรยาน หากมีการบอกต่อว่าใช้ชุดขี่จักรยานหรือถุงมือ แบรนด์ใดใช้แล้วดีหรือไม่ดี ผู้บริโภคคนอื่นจะมีแนวโน้มเชื่อการบอกต่อนี้มากกว่าลูกค้ากลุ่มอื่น

ตลาดเฉพาะกลุ่ม มีความน่าสนใจอย่างยิ่งในปัจจุบัน แต่การที่จะสร้างธุรกิจขึ้นมาเพื่อตอบสนองคนกลุ่มนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากสามารถค้นหาความชอบ ความสนใจของคนกลุ่มนี้ได้ ก็นับเป็นประโยชน์ในการสร้างธุรกิจมากเลยทีเดียว แล้วหลังจากนั้น SME จึงค่อยๆ พัฒนาเพื่อขยายสู่วงกว้างต่อไป

           

แหล่งอ้างอิง : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1384 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1787 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1986 | 25/01/2024
SME ควรใช้กลยุทธ์ไหน? มัดใจ ‘ตลาดเฉพาะกลุ่ม’