‘หนังท้องตึง หนังตาก็เริ่มหย่อน’ อาการที่เกิดขึ้นเป็นประจำภายหลังจากการรับประทานอาหารมือกลางวัน ช่วงพักเที่ยงแล้วมีอาการอยากจะหลับซักตื่น ซึ่งทำให้หลายๆ คนสงสัยว่าอาการเหล่านี้จะเป็นสาเหตุจากโรคภัย หรือแค่อาการขี้เกียจหลังจากเต็มอิ่มในมื้ออาหารและอยากพักกันแน่นะ ล้อมวงเข้ามาเพราะในที่นี้เรามีคำอธิบายวิทยาศาสตร์ โดยข้อมูลจากโรงพยาบาลรามคำแห่งมาไขความสงสัยให้คุณ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
โดยอาการที่กินอาหารมาอิ่มๆ
แล้วดูง่วง ดูเซื่องซึมไม่อยากเคลื่อนตัวประหนึ่งงูเหลือมแบบนี้ เราเรียกว่าอาการ “Food Coma” มักเกิดขึ้นหลังกินอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต
โปรตีน และไขมันเป็นหลัก เพราะหลังจากที่อาหารเหล่านี้ผ่านกระบวนการย่อยแล้ว
จะได้กรดอะมิโนตัวหนึ่งที่เรียกว่า ทริปโตเฟน (Tryptophan) เมื่อทริปโตเฟนเข้าสู่ระบบประสาท
จะมีผลให้สมองผ่อนคลายความเครียด เมื่อร่างกายเข้าสู่ระยะผ่อนคลายจึงเกิดอาการง่วงนอนนี่แหละ
ไม่ได้เป็นพิษจากข้าวเหนียวหรือข้าวเที่ยงแต่อย่างใดนะ
นอกจากนี้การพักผ่อนไม่เพียงพอ
หรือทำงานใช้สมองหนักเกินไปในช่วงเช้า ก็อาจทำให้เกิดอาการ Food Coma ตอนกลางวันได้เช่นกัน
ซึ่งอาการจะมากหรือน้อย เป็นบ่อยหรือนานๆ เป็นที อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนไป
แต่ไม่ต้องตกใจไปเพราะ… อาการ Food Coma ไม่ใช่โรคร้ายแรงแค่เป็นภาวะทางสรีรวิทยาที่พบได้ในคนทั่วไป อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เช่น เผลอหลับตอนทำงานหรือตอนเข้าประชุมอะไรแบบนี้ แต่ถ้าคุณดันเป็น Food Coma ตอนขับรถไปด้วย อันนี้เข้าข่ายอันตรายแล้ว เพราะอาจพาให้หลับในลงข้างทางเอาได้ง่ายๆ
ดังนั้น
ถ้าเราไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นหลังกินข้าวจุกๆ ควรปฏิบัติตามนี้นะ
1. หลังอาหารมื้อกลางวัน
ควรขยับเขยื้อนร่างกายบ้าง อาจไปเดินย่อยซัก 10-15 นาที ก็จะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงร่างกายได้ดีขึ้น
2. กินอาหารแต่ละมื้อให้พอดีอย่ากินอิ่มจนเกินไป
โดยเฉพาะมื้อกลางวัน ให้เลี่ยงอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน
และเคี้ยวอาหารให้ละเอียด จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
3. ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน เพื่อให้สมองและร่างกายสดชื่น
4. จัดการงานกองโตบนโต๊ะทำงานของคุณในช่วงเช้า
เพราะเป็นช่วงที่สมองกำลังตื่นตัว หากสะสมมาทำตอนบ่ายหรือหลังทานมื้อกลางวัน
อาจทำให้คุณรู้สึกเบื่อ เหนื่อย เพิ่มความล้าและกระตุ้นการง่วงนอนได้
5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยที่สุดคือ 6 ชั่วโมง ถ้าร่างกายพักผ่อนเต็มที่
โอกาสที่จะง่วงระหว่างวันก็จะน้อยลง
6. และสุดท้ายควรหาโอกาสงีบหลับในช่วงพักสักประมาณ
15-20 นาที
ก็จะช่วยให้กระปรี้กระเปร่าขึ้นได้
แหล่งอ้างอิง
:
โรงพยาบาลรามคำแหง