5 แนวคิดสร้าง ‘แบรนด์ชุมชน’ พิชิตใจผู้บริโภคยุคดิจิทัล

SME Update
09/12/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 2110 คน
5 แนวคิดสร้าง ‘แบรนด์ชุมชน’ พิชิตใจผู้บริโภคยุคดิจิทัล
banner

ปัจจุบันชุมชนสามารถสร้างงานและมีรายได้เพิ่มจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งค้าขายและ ท่องเที่ยว เนื่องจากชุมชนมีจุดแข็งของศักยภาพด้านปัจจัยการผลิต มีแหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์และเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น รวมทั้งคนในชุมชนมีความเข้มแข็งช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

 

อย่างไรก็ตาม ชุมชนยังขาดการสนับสนุนในการสร้างจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักได้ เนื่องจากปัญหาที่สำคัญคือ ชุมชนไม่มีสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ (Branding) และส่วนใหญ่ยังขาดความสร้างสรรค์ - รสนิยมเข้าไป ทำให้ไม่เกิดจุดเด่นและเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ซื้อและนักท่องเที่ยว รวมถึงการได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้า


นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ชุมชนยังขาดความต่อเนื่องในการพัฒนาเติบโตและขยายผล ตลอดจนขาดทักษะความรู้ ความสามารถในการประกอบการขาดการวางแผนการดำเนินงานที่ดีขาดการสนับสนุน ด้านการตลาดเพื่อการแข่งขัน รวมไปถึงขาดงบประมาณสนับสนุน

 

ดังนั้นการนำจุดอ่อนที่สามารถแก้ไขได้ มาเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ประสบ ความสำเร็จ ต้องเข้าใจในผลิตภัณฑ์จึงจะสามารถสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ขึ้นมาได้ ซึ่งการสร้างแบรนด์ถือเป็นหัวใจหลักการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีตัวตน โดยจะต้องทำการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาและถ่ายทอดเรื่องราวที่เป็นเอกลักษณ์ - อัตลักษณ์ต่างๆ เพื่อสร้างภาพจำให้แก่ผู้พบเห็น - ให้เกิดความประทับใจ โดยอาศัยหลักการและแนวคิด 5 ข้อ ดังต่อไปนี้


1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ (Leadership)

 

ชุมชนมีปัจจัยการผลิต ทรัพยากร แรงงาน ที่มีความพร้อมอยู่แล้ว หากมีผู้นำชุมชนที่มีวิสัยทัศน์ ความคิดก้าวหน้า เห็นทรัพยากรในท้องถิ่นที่มีอยู่นำมาปรับเปลี่ยนแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ค้นหาความโดดเด่นในด้านเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อเพิ่มมูลค่า ก็จะมีส่วนสำคัญทำให้ชุมชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มอีกทางหนึ่ง

 

2. กระบวนการคิดการออกแบบ (Concept Design)

 

เป็นเรื่องใหญ่และสำคัญต้องเน้นการสื่อสารการออกแบบ (Design) ของผลิตภัณฑ์ให้มีสไตล์ - รสนิยม เพิ่มเสน่ห์ของชุมชน ใส่ความสร้างสรรค์เพื่อดึงดูดผู้บริโภคหรือนักท่องเที่ยวให้มาสัมผัสกับผลิตภัณฑ์และมาท่องเที่ยวในชุมชน

 

3. การสร้างแบรนด์ (Branding) ของชุมชน

 

มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสินค้าให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งชุมชนที่ต้องการขายผลิตภัณฑ์จะต้องนึกถึงการสร้างแบรนด์มาเป็นอันดับแรก เพื่อให้เป็นภาพจำที่เกิดประทับใจให้แก่ผู้พบเห็น ทั้งนี้จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ให้มีความสร้างสรรค์ ใส่รสนิยม สื่อสารภาพที่อยู่ในแบรนด์อย่างตรงไปตรงมา และนำแนวคิดเกี่ยวกับความยั่งยืนที่สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal: SDGs) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ

 

4. บรรจุภัณฑ์สินค้า (Packaging)

 

จะต้องมีความแข็งแรง ทนทาน รูปทรงสวยงาม รวมไปถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์จะต้องมีรูปภาพที่โดดเด่นสมดุลกับหีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์ มีสีสันสวยงามใช้คู่สี (Pantone) ซึ่งการออกแบบต้องคำนึงถึงความสะดวกในการใช้งาน (User Friendly) และมีความเป็นมาตรฐานสากลด้วย

 

5. การสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จต้องคำนึงถึงธีมคอนเซปต์ (Theme)

 

เพื่อร้อยเรียงให้เป็นเรื่องเดียวกันเริ่มจากชุมชนหมู่บ้าน ผลิตภัณฑ์ชุมชน และกิจกรรมที่สร้างสรรค์ DIY (Do it yourself) เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตสินค้า ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวได้เห็นถึงคุณค่าของสินค้า ส่งผลให้ชุมชนเป็นที่รู้จัก และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน

 


 

การสร้างแบรนด์ เป็นหัวใจหลักสำคัญในการสร้างภาพจำให้แก่ผู้บริโภค คือการสื่อสารแบบตรงไปตรงมา แล้วเพิ่ม Lifestyle ใส่รสนิยมลงไป จากนั้นร้อยเรียงเป็นเรื่องเล่า (Storytelling) ด้วยเสน่ห์ของชุมชนท้องถิ่น เพื่อทำให้ผู้บริโภคเห็นรูปภาพบนผลิตภัณฑ์แล้วเกิดความเข้าใจได้ง่าย

 

ชุมชน ที่ต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีความต่อเนื่องควรดำเนินการสร้างแบรนด์ (Branding) ของชุมชน ทั้งในส่วนของสินค้า - บริการ และการท่องเที่ยว ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้วิสาหกิจชุมชนชน - ผู้ประกอบการในจังหวัดประสบความสำเร็จ จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ - ที่ปรึกษา ที่เป็นมืออาชีพทำงาน เพื่อปรับรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ ได้รับมาตรฐาน คำนึงถึงความมั่นคงทางด้านอาหาร และนำแนวคิดเกี่ยวกับความยั่งยืนที่สอดคล้อง ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal: SDGs) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ เพื่อการเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

แหล่งอ้างอิง : กลุ่มพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1307 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1679 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1927 | 25/01/2024
5 แนวคิดสร้าง ‘แบรนด์ชุมชน’ พิชิตใจผู้บริโภคยุคดิจิทัล