ศาสตร์ ‘ไคเซ็น’ หลักคิดพัฒนาต่อเนื่อง คืออะไร? ทำไมธุรกิจครอบครัวญี่ปุ่น ใช้แล้วประสบความสำเร็จ (GURU)

Family Business
19/12/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 7654 คน
ศาสตร์ ‘ไคเซ็น’ หลักคิดพัฒนาต่อเนื่อง คืออะไร? ทำไมธุรกิจครอบครัวญี่ปุ่น ใช้แล้วประสบความสำเร็จ (GURU)
banner

ความยั่งยืนในการทำธุรกิจครอบครัว ประกอบด้วยหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสมดุลในบริบทเฉพาะของครอบครัว การมีธรรมนูญครอบครัวเป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจ ประสบการณ์ที่สั่งสมพร้อมรับมือความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านยุคสมัย ปรับตัวให้ก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลง รวมถึงการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG (Environment, Social, Governance) และการกำกับดูแลกิจการที่ดีและโปร่งใส เป็นต้น


นอกจากที่กล่าวมา ยังมีอีกหนึ่งวิธีในการสร้างความยั่งยืนให้เกิด The True Power of Family Business หรือ “พลังธุรกิจครอบครัวที่แท้จริง” โดยอาศัยจุดแข็งจากธุรกิจครอบครัว ที่ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นอย่างต่อเนื่อง ด้วยกลยุทธ์ One Family, One Wisdom พัฒนาตนเองด้วยหลัก “ไคเซ็น” (Kaizen) ทั้ง Reskill – Upskill โดยเฉพาะความรู้ทางด้านธุรกิจ และศาสตร์เฉพาะของธุรกิจครอบครัว ซึ่งต่างจากธุรกิจทั่วไป เพื่อการสืบทอดกิจการอย่างยั่งยืน



เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงให้ธุรกิจครอบครัว สามารถอยู่รอดและเติบโตต่อไปได้ในทุกสถานการณ์ บทความนี้ ขอพาไปทำความรู้จักกับหลัก ไคเซ็น (KAIZEN) กับการนำมาปรับใช้ในธุรกิจครอบครัวเพื่อให้เกิดความยั่งยืนยิ่งขึ้นไป ดังนี้


บทบาทหลักไคเซ็น (Kaizen) ในธุรกิจครอบครัว


ไคเซ็น (KAIZEN) แปลตามศัพท์ภาษาญี่ปุ่นว่า "การปรับปรุง" (Improvement) หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำ ๆ นี้อยู่เป็นประจำ แต่อาจจะยังไม่เข้าใจชัดเจน ไคเซ็นนี้ เป็นแนวคิดที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิผล โดยเน้นที่การมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคน ในการหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้น โดยมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ไม่มีที่สิ้นสุด


การวางแผนการทำงานที่จะช่วยบริหารเวลาได้อย่างลงตัว และทำให้สามารถทำงานได้เสร็จทันเวลา และการทำไคเซ็นงานประจำวัน (Routine Work) จะช่วยลดหรือเลิกขั้นตอนที่ไม่จำเป็นในการทำงานออก ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่าย รวมไปถึงสามารถรับมือกับงานแทรกที่อาจส่งผลให้การทำงานเสร็จไม่ทันเวลาอีกด้วย (หนังสือไคเซ็นในสำนักงาน : ผู้เขียน ฟุจิอิ, มิโฮโยะ. Publication, กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น))




สรุปความหมายหลักของไคเซ็น ก็คือ การปรับปรุงธุรกิจอย่างต่อเนื่องในการทำงาน โดยมุ่งยกระดับประสิทธิภาพของบุคคล ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพในองค์กรอย่างเป็นระบบ เน้นการแก้ปัญหาที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน ทำให้เกิดการปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ในองค์กร


ความสำเร็จแบบธุรกิจครอบครัวญี่ปุ่น


ธุรกิจที่เก่าแก่ในโลกนี้ เกือบทั้งหมดล้วนเริ่มต้นจากครอบครัว ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นจนกลายเป็นธุรกิจครอบครัว และหนึ่งในประเทศที่ผ่านการทดสอบของกาลเวลามาได้คือ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งครอบครัวสามารถ ผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นจนประสบความสำเร็จในการสร้างสินค้าที่มีคุณภาพซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของญี่ปุ่น สามารถดึงดูดลูกค้าจากต่างประเทศได้มากขึ้น


Hokuriku Awazu Onsen Hoshi ก่อตั้งโดยพระ Taicho Daishi เมื่อปี ค.ศ. 718 ตั้งอยู่ในเมือง Komatsu จังหวัด Ishikawa ซึ่งตามตำนานเล่าว่า Daishi สร้างออนเซนตรงตำแหน่งปัจจุบันนี้ด้วยอำนาจของเทพเจ้าแห่ง Hakusan (1 ใน 3 ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของญี่ปุ่น) โดยยังคงเป็นหนึ่งในโรงแรมแบบดั้งเดิมหรือ “เรียวกังญี่ปุ่น” ที่ให้บริการแขกด้วยที่พักพร้อมอาหารเช้า



เครดิตภาพ จาก : https://www.ho-shi.co.jp/en/


ความสำเร็จของกิจการส่วนหนึ่ง มาจากความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมธุรกิจด้านการบริการในญี่ปุ่น โดยลูกค้าจะได้สัมผัสกับ “Omotenashi” ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ขับเคลื่อนแนวคิดในการบริการที่แสดงให้เห็นถึงความปรารถนาที่จะดูแลแขกอย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้จากระดับความใส่ใจและการดูแลลูกค้ามานานหลายศตวรรษ ภายใต้การนำของทายาท 46 รุ่น อย่างต่อเนื่องมาจนถึง Zengoro Hoshi ผู้นำคนปัจจุบันยังคงรักษาประเพณีของเรียวกังต่อไป ในขณะเดียวกันก็จัดบริการตามรสนิยมสมัยใหม่ของลูกค้าด้วย โดยธุรกิจเน้นถึงความปรารถนาที่จะให้บริการที่มีคุณภาพสูงสุดราวกับว่าอาจเป็นครั้งสุดท้ายที่จะได้พบกัน


อีกหนึ่งตัวอย่าง ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง คือ เส้นทางสู่ความเป็นหนึ่งของ TOYOTA (โตโยต้า)

โดย โตโยต้า มอเตอร์ คอร์เปอร์เรชั่น เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1933 เมื่อตระกูลโตโยตะ (แปลว่าทุ่งข้าวขนาดใหญ่) ที่มีอาชีพทำนา ได้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องปั่นด้ายที่ใช้หลักกลไกพลังงานน้ำหมุนและคิดประดิษฐ์เครื่อทอผ้าขึ้นมา ต่อมาจึงได้พัฒนาเป็นการผลิตรถยนต์และก่อตั้งบริษัท TOYOTA ในปี ค.ศ. 1934



เครดิตภาพจาก : FB Page Set Thailand


สิ่งที่นำพา TOYOTA ให้ก้าวขึ้นผงาดบนยอดสูงสุดของธุรกิจประเภทรถยนต์ ได้แก่ วิถีของ TOYOTA แบ่งออกเป็น 2 เสาหลัก 1 “การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง” (Continuous Improvement) และ 2 “การเคารพนับถือในคน” (Respect for People)




โดยภายใต้ 2 เสาหลัก มี 1 ใน 5 องค์ประกอบสำคัญเป็น Key to Success คือ ไคเซ็น เป็นขั้นตอนการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานปฏิรูประบบการทำงานเพื่อให้เกิดการลดต้นทุนด้วยระบบการผลิตแบบ Just in Time หมายถึง ทำงานให้พอดีเวลา วางแผนให้ดี เตรียมการให้พอดี โดยในทุก ๆ กระบวนการต้องมีการควบคุมคุณภาพ ไม่ให้เกิดสิ่งที่ไร้ค่า การทำงานที่ไม่ได้ผลตอบแทนหรือขั้นตอนการผลิตที่สูญเปล่า ด้วยปรัชญาการผลิตเพื่อไม่ให้เกิดของเหลือหรือของส่วนเกินนี่เอง ทำให้ TOYOTA สามารถผลิตรถยนต์ได้โดยมีต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าผู้ผลิตรถยนต์รายอื่น


รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดี คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ผู้ก่อตั้งบริษัท แฟมซ์ จำกัด (FAMZ) ที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัวชั้นนำของประเทศไทย กล่าวถึงโอกาสและเทรนด์การเติบโตของธุรกิจครอบครัวของประเทศไทยก่อนถึงโค้งสุดท้ายของปี 2566 และในอนาคตอันใกล้ว่า


“ธุรกิจครอบครัวของประเทศไทย นับเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยคิดเป็นสัดส่วน 80% ของ GDP ในอนาคตอันใกล้ ธุรกิจครอบครัว ยังคงมีรากฐานที่แข็งแกร่ง และ “ไปต่อ” ได้อีกยาวนานอย่างแน่นอน ด้วยการสร้าง The True Power of Family Business หรือ “พลังที่แท้จริงของธุรกิจครอบครัว” ดังนั้น หากภาพรวมของธุรกิจครอบครัวในประเทศไทย สามารถต่อยอดจุดแข็งดังกล่าว ด้วยกลยุทธ์ One Family, One Wisdom หรือ “หนึ่งครอบครัว หนึ่งภูมิปัญญา” โดยการขับเคลื่อนให้แต่ละธุรกิจครอบครัวร่วมแสดงพลังที่แท้จริงของตนเอง เพื่อถ่ายทอด Wisdom ซึ่งเป็นองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ทักษะ และความเชี่ยวชาญเฉพาะภายในธุรกิจของครอบครัว ก็จะเป็นยุทธศาสตร์ที่จะเอื้อให้เศรษฐกิจระดับมหภาคของประเทศไทยก้าวหน้าและเติบโตได้ด้วยเช่นกัน”


รศ.ดร.เอกชัย ได้แนะนำแนวทางเพื่อการเติบโตจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืนของธุรกิจครอบครัวเพิ่มเติมว่า “ในเบื้องต้น เจ้าของธุรกิจครอบครัวในรุ่นปัจจุบันจะต้องเห็นความสำคัญของการดำเนินกลยุทธ์และยุทธศาสตร์อย่างถูกต้อง และเหมาะสม อีกทั้งต้องจัดเตรียมและพร้อมวางแผนการดำเนินงานธุรกิจครอบครัวของตนเองเองอย่างรอบคอบ พร้อมทั้งมุ่งมั่นพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยหลักคิดแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า ไคเซ็น (Kaizen: Continuous Improvement หรือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง) ทั้ง Reskill – Upskill โดยเฉพาะทักษะความรู้ทางด้านธุรกิจ และศาสตร์เฉพาะของธุรกิจครอบครัว ซึ่งต่างจากธุรกิจทั่วไป เพื่อการสืบทอดกิจการอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกัน ก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ตนเองมีองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับยุคสมัย โดยเฉพาะในโลกเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามามีบทบาทเปลี่ยนแปลงธุรกิจ สังคม ตลอดจนทัศนคติและวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม”


อย่างไรก็ตาม ในการส่งผ่าน “ขุมพลังความแข็งแกร่ง” ที่เรียกว่า Wisdom มีแนวทางเพื่อการเติบโตจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืนของธุรกิจครอบครัว ในเบื้องต้น เจ้าของธุรกิจครอบครัวในรุ่นปัจจุบันจะต้องเห็นความสำคัญของการดำเนินกลยุทธ์และยุทธศาสตร์อย่างถูกต้อง และเหมาะสม อีกทั้งต้องจัดเตรียมและพร้อมวางแผนการดำเนินงานธุรกิจครอบครัวของตนเองเองอย่างรอบคอบ พร้อมทั้งมุ่งมั่นพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ด้วยหลักคิดแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า ไคเซ็น (Kaizen: Continuous Improvement หรือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง) ทั้ง Reskill – Upskill โดยเฉพาะทักษะความรู้ทางด้านธุรกิจ และศาสตร์เฉพาะของธุรกิจครอบครัว ซึ่งต่างจากธุรกิจทั่วไป




ขณะเดียวกัน ก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ตนเองมีองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับยุคสมัย โดยเฉพาะในโลกเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามามีบทบาทเปลี่ยนแปลงธุรกิจ สังคม ตลอดจนทัศนคติและวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม”


ดังนั้น ธุรกิจครอบครัวจึงต้องเปิดใจตนเอง เพื่อที่จะ Unlearn – Relearn เพื่อสร้างการเรียนรู้ตลอดเวลาให้กับชุมชนของธุรกิจครอบครัวที่มีทั้งผู้นำ และสมาชิกธุรกิจครอบครัว ตลอดจนพนักงานและคู่ค้าต่าง ๆ ขณะเดียวกัน ก็เปิดกว้างสำหรับโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และเปิดพื้นที่ใหม่ ๆ ให้สมาชิกครอบครัว หรือแม้แต่ทายาทธุรกิจ ได้มีโอกาสบริหารจัดการ หรือมีส่วนขับเคลื่อนก็จะเป็นการดี


โดยในระยะแรก ๆ อาจจำกัดขอบเขตความเสี่ยงเพื่อมิให้กระทบกับธุรกิจในภาพรวมก่อนก็ได้หากมีกรณีความผิดพลาดเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การเปิดพื้นที่เช่นนี้หากมีความผิดพลาด หรือ “ล้มเหลว” ก็ต้องเรียนรู้ที่จะ “ลุกให้เร็ว” ด้วย



ขอบคุณข้อมูลโดย GURU รับเชิญ : รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดี คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ผู้ก่อตั้งบริษัท แฟมซ์ จำกัด (FAMZ)

ข้อมูลเพิ่มเติม :

www.famz.co.th

Clemens, Devin. 2019. Japan’s Four Oldest Family Businesses. Available:

บนเส้นทางสู่ความเป็นหนึ่งของ TOYOTA FB Page : Set Thailand



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

นับตั้งแต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการบริหารธุรกิจครอบครัว (Family Business) จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจครอบครัวที่มีรูปแบบการดำเนินงานแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป…
pin
4402 | 09/04/2024
อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

ธุรกิจครอบครัวยุคดิจิทัล ต้องเผชิญความท้าทายจาก Disruption อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เทรนด์ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคจากสถานการณ์รอบตัว…
pin
4156 | 30/03/2024
ศึกษาแนวคิด 3 พลังหญิง นำทัพ ‘ธุรกิจครอบครัว’ Transition ธุรกิจทางรอดอย่างยั่งยืนในยุค Disruption

ศึกษาแนวคิด 3 พลังหญิง นำทัพ ‘ธุรกิจครอบครัว’ Transition ธุรกิจทางรอดอย่างยั่งยืนในยุค Disruption

ธุรกิจครอบครัวที่บริหารด้วยค่านิยมแบบดั้งเดิม มักจะมีมุมมองว่าลูกผู้ชาย เหมาะสมที่จะก้าวขึ้นมารับช่วงกิจการในตำแหน่งหัวหน้า ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการหารายได้…
pin
5310 | 08/03/2024
ศาสตร์ ‘ไคเซ็น’ หลักคิดพัฒนาต่อเนื่อง คืออะไร? ทำไมธุรกิจครอบครัวญี่ปุ่น ใช้แล้วประสบความสำเร็จ (GURU)