เทียบกลยุทธ์ 2 แพลตฟอร์มรายใหญ่ ‘Lazada’ VS ‘Shopee’ ท่ามกลาง e-Commerce โตแรง

SME Update
29/10/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 7910 คน
เทียบกลยุทธ์ 2 แพลตฟอร์มรายใหญ่ ‘Lazada’ VS ‘Shopee’ ท่ามกลาง e-Commerce โตแรง
banner
อัตราการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซโดยเฉพาะ B2C ที่พุ่งสูงขึ้น ย่อมนำมาสู่แรงกดดันของผู้เล่นในตลาดอีมาร์เก็ตเพลส และการแข่งขันของการทำการตลาดออนไลน์โดยเฉพาะสถานการณ์โควิด 19 ก่อนหน้านี้ ที่ส่งผลให้เกิดแนวโน้มสำคัญสะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซอย่างมีนัยสำคัญ

ข้อมูลโดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Transactions Development Agency (ETDA) (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระบุว่า มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2564 หรือ Value of e-Commerce Survey in Thailand 2021 พบว่า ในปี 2563 ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีมูลค่าเท่ากับ 3.78 ล้านล้านบาท

โดยมีสัดส่วนของมูลค่าอีคอมเมิร์ซในรูปแบบ B2C มากที่สุด คิดเป็นมูลค่ากว่า 2.17 ล้านล้านบาท B2B มีมูลค่ากว่า 0.84 ล้านล้านบาท และ B2G มีมูลค่า 0.77 ล้านล้านบาท ขณะที่คาดการณ์ว่ามูลค่าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยในปี 2564 เติบโตอยู่ที่ 4.01 ล้านล้านบาท



ซึ่งพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ชีวิตติดกับดิจิทัลมากขึ้นและเน้นความสะดวกสบายและรวดเร็วเป็นหลัก ในการจับจ่ายสินค้า อีกทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์ ซื้อขายสินค้าและบริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ รวมถึงการใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขายสินค้าและบริการของแพลตฟอร์มอีมาร์เก็ตเพลส (e-Marketplace) ทั้งแคมเปญโปรโมชัน ส่วนลด จัดส่งฟรี หนุนให้ตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยเหล่านี้นำมาสู่การวางปรับรูปเกมแข่งขันของ 2  แบรนด์อีมาร์เก็ตเพลสรายใหญ่ที่ครองส่วนแบ่งในตลาดเมืองไทยแบบขับเคี่ยวกันมาตลอด อย่าง ‘ลาซาด้า’ (Lazada) และ ‘ช้อปปี้’ (Shopee) 



‘ลาซาด้า’  ยกระดับสู่ Shoppertainment สร้างความบันเทิงระหว่างช้อปฯ

ลาซาด้า ที่มีอาลีบาบากรุ๊ปโฮลดิง จำกัด บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลายประเภทรวมกันทั้งอีคอมเมิร์ซ ค้าปลีก อินเทอร์เน็ต เอไอและเทคโนโลยีข้ามชาติของจีนเป็นเจ้าของ ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา สำหรับ เห็นได้ชัดถึงการปรับแนวคิดด้านกลยุทธ์ โดยใช้การตีโจทย์จาก Customer Journey ซึ่งได้แก่เส้นทางในการช้อปปิ้งออนไลน์ของกลุ่มลูกค้า ซึ่งพบว่า นักช้อปฯ จะใช้เวลาอยู่บนแพลตฟอร์มเพียงไม่นาน โดยส่วนใหญ่มักเข้ามาค้นหาสินค้าที่ต้องการ หลังเปรียบเทียบราคาจนได้ข้อมูลพอใจแล้ว จากนั้นจะคลิก สั่งซื้อ และชำระค่าสินค้า

ซึ่งลาซาด้าเห็นว่าขั้นตอนการตัดสินใจซื้อ ยังขาดเรื่องของอารมณ์ (Emotional) หรือการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง “ผู้ขาย” กับ “ผู้ซื้อ” โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกที่มีพื้นที่ขาย (Physical Store) จะให้เรื่องประสบการณ์ที่มาจากการสัมผัส หยิบจับและทดลอง รวมทั้งสอบถามจากผู้ขายได้ (Functional) ซึ่งส่งผลดีต่อการสร้างโอกาสในการขาย

ด้วยเหตุผลนี้ ลาซาด้า จึงต้องการสร้างปฏิสัมพันธ์ผ่านความบันเทิงให้กับลูกค้าในระหว่างการช้อป ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ คือการพัฒนา ECO-System บนแพลตฟอร์ม ผ่าน “ไลฟ์ สตรีมมิ่ง” ด้วย Laz Live เพื่อมุ่งสู่กลยุทธ์ Shoppertainment (shopping + entertainment)” ให้ผู้ซื้อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ขายและใช้เวลาบนแพลตฟอร์มมากขึ้น ด้วยภาพและเสียงที่คมชัด สามารถจัดการข้อความที่ส่งเข้ามาขณะไลฟ์ ลูกค้าสามารถสอบถามและตอบโต้ได้ จบทุกขั้นตอนในแอปพลิเคชัน ช่วยให้การซื้อสินค้าในแพลตฟอร์มลาซาด้าง่ายขึ้น

นอกจากนี้ ลาซาด้ายังให้ความสำคัญกับการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก หรือการส่งอีเมลแจ้งข่าวสาร เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์อยู่เสมอ โดยตั้งเป้าจะเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสำหรับทุกคน ที่ครอบคลุมทั้งสินค้าและบริการมากที่สุด ครบทุกความต้องการของผู้บริโภค เพื่อมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ดีที่สุด ด้วยการสร้างนิยามใหม่ของ “การช้อปที่แสนสะดวก”



‘ช้อปปี้’ ยกระดับประสบการณ์การซื้อ-ขายบนโลกอีคอมเมิร์ซ

ช้อปปี้ (Shopee) แอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อระหว่าง ผู้บริโภค แบรนด์ และผู้ขาย ให้ทุกคนสามารถซื้อ-ขายได้อย่างสะดวกสบายทุกที่ ทุกเวลา โดยเป็นหนึ่งในบริษัทลูกของ Sea Group ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ และมีธุรกิจหลักครอบคลุมทั้งในส่วนดิจิทัล เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ภายใต้ชื่อ การีนา และ บริการด้านการเงินแบบดิจิทัลภายใต้ชื่อ ซีมันนี่

สำหรับเป้าหมายของ ช้อปปี้  คือต้องการยกระดับประสบการณ์การซื้อ-ขายบนโลกอีคอมเมิร์ซในทุกมิติ ผ่านแนวคิดการนำความบันเทิงมาเป็นส่วนผสมหนึ่งของการตลาดเช่นเดียวกัน ด้วยการเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์การช้อปปิ้งที่สนุกนานและสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านแพลตฟอร์ม



ช้อปปี้ ขึ้นแท่นเบอร์หนึ่งสำหรับแอปพลิเคชัน E-Commerce ช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เติบโตถึง 110% เนื่องจากเป็นแอปฯ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนไทยที่มีพฤติกรรมชอบการสื่อสาร พูดคุุยกับผู้ขายก่อนตัดสินใจซื้อ นำมาสู่การพัฒนาฟีเจอร์เพื่อให้ผู้ซื้อได้คุยกับผู้ขายแบบทันทีผ่านการแชท ซึ่งนอกจากจะดันยอดขายให้เพิ่มขึ้น ยังสามารถเพิ่มบทสนทนาและเพิ่มปฏิสัมพันธ์ (Engagement) ได้ดี  รวมถึงเปิดตัว Shopee Live ฟีเจอร์ไลฟ์สตรีมมิ่ง ที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์โดยตรงได้แบบเรียลไทม์


 
ร้านค้า – SME จะ ‘ไลฟ์’ แบบไหนให้โดนใจนักช้อปฯ ออนไลน์

เมื่อ 2 แพลตฟอร์มยอดนิยมอย่าง ลาซาด้า และ ช้อปปี้ ต่างก็มีเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ให้ผู้ค้าออนไลน์ได้สร้างยอดขายแบบเข้าถึงลูกค้าอย่างใกล้ชิดมากขึ้น อย่างการไลฟ์สดที่แทบจะไม่ต่างจากการมาช้อปที่หน้าร้านได้จริง ๆ ผู้ประกอบการ, ร้านค้า, หรือเจ้าของแบรนด์ที่เปิดร้านและมีสินค้าที่ต้องการขายอยู่แล้ว หรือ กำลังสนใจจะเข้าเพิ่มช่องทางการขาย จะใช้กลยุทธ์หรือเทคนิคการไลฟ์อย่างไรให้สร้างยอดขายเพิ่มขึ้น เรามีคำแนะนำดี ๆ มาฝากกัน 

1.กำหนดลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย

ก่อนอื่นคุณต้องรู้ว่าสินค้าและบริการที่คุณจะขาย คืออะไร การเลือกกลุ่มลูกค้าที่ใช่ จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่กำหนดว่ากลุ่มเป้าหมายจะอยู่ดูไลฟ์ของเราได้ยาวนานแค่ไหน เช่น หากคุณรีวิวสินค้าประเภทกระเป๋าสำหรับวัยทำงาน ควรมีการพูดคุยเกี่ยวกับข้อดีของสินค้า และบอกรายละเอียดให้ครบ เช่น สี วัสดุทำมาจากอะไร อายุการใช้งาน วิธีการเก็บรักษา โอกาสในการใช้ พร้อมทั้งแทรกความรู้ของสินค้าเป็นระยะ ๆ เพื่อไม่ให้ดูเหมือนการตั้งใจขายสินค้าเพียงอย่างเดียว

2.เตรียมสคริปต์พูด

การพรีเซนท์ขายสินค้า ควรมีการเตรียมสคลิปต์เพื่อจัดลำดับหัวข้อและสินค้าที่จะขาย เพื่อให้สามารถพูดคุยได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดอาการเดดแอร์ หรือข้ามประเด็นสำคัญไป ยิ่งคุณมีลำดับการโชว์สินค้าว่าแบบไหน ชิ้นไหน จะโชว์ ก่อน-หลัง จะยิ่งทำให้การขายมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

3. กิมมิก- จุดเด่น อาวุธดึงดูดใจลูกค้า

ด้วยจำนวนร้านค้ามากมายมหาศาลบนแพลตฟอร์ม เจ้าของร้านค้าควรหาจุดเด่นของตัวเอง เพื่อดึงดูดให้คนสนใจและจดจำร้านของคุณได้ และอยากติดตามการไลฟ์ เพื่อซื้อสินค้าจากร้านของคุณ นอกจากนี้ ควรมีการจัดวางสินค้าอย่างเป็นระเบียบ มีจุดสนใจ เห็นสินค้าที่ต้องการโชว์ได้ชัดเจน ดูสะอาดตา และจะช่วยให้ง่ายต่อการหยิบสินค้าออกมาโชว์

4.อุปกรณ์ครบครัน

การไลฟ์ขายสินค้าออนไลน์ สัญญาณอินเตอร์เน็ตต้องแรงพอ และไม่เป็นอุปสรรคขณะไลฟ์ หากเกิดการสะดุดในระหว่างขายสินค้า คุณอาจจะหลุดโฟกัสและทำให้การขายทำไม่ได้อย่างเต็มที่

การเตรียมความพร้อมมาจากการวางแผนมาอย่างดี ที่สำคัญการไลฟ์สดต้องอาศัยความมั่นใจของผู้ขาย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า เพราะนอกจากสินค้าจะต้องมีคุณภาพที่ดี ผู้นำเสนอสินค้าก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะต้องดูมีความน่าเชื่อถือด้วย หากคุณเตรียมทุกอย่างไว้พร้อม สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือเตรียมรับออเดอร์และยอดขายที่จะเข้ามาอย่างถล่มทลายได้เลย 

อ้างอิง : 
https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-Reveals-the-Value-of-e-Commerce-in-2021.aspx
https://careers.shopee.co.th/about
https://group.lazada.com/en/about/?spm=a2o4m.home.footer_top.8.11252a80c4pVFk

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1199 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1561 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1846 | 25/01/2024
เทียบกลยุทธ์ 2 แพลตฟอร์มรายใหญ่ ‘Lazada’ VS ‘Shopee’ ท่ามกลาง e-Commerce โตแรง